เรื่องเล่า : งานตรวจสอบ ประเมินผลและงานประกันคุณภาพ


UKM-10

กลุ่มที่  4  งานตรวจสอบ  ประเมินผล  และงานประกันคุณภาพ

ผู้เล่า     นายกัมปนาท  อาชา  มหาวิทยาลัยมหาสารคามกลุ่ม     งานตรวจสอบ  ประเมินผล  งานประกันคุณภาพ

ชื่อเรื่อง   การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่  2  มมส.  ภายใต้หลักการมีส่วนร่วม  (Participation)

เรื่องเล่า1.  ขั้นเตรียมการ

วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติ  (Action) ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น  (Result)
1.  ศึกษาดูงานการเตรียมการรับประเมินภายนอกของ        1.1  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นำทีมบุคลากรจากหน่วยงานสนับสนุน  โดยเฉพาะกองฯต่างๆในสำนักงานอธิการบดี  เน้นเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงาน    กับส่วนกลาง      1.2  มหาวิทยาลัยบูรพา  นำทีมผู้บริหารของคณะฯ ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ  ไปดูการจำลองสถานการณ์เหมือนวันรับการประเมินภายนอกจริง  1.  บุคลากรทั้งสายวิชาการ  และสายสนับสนุนการเรียนการสอนมีความตระหนัก  กระตือรือร้นและมีแนวทางที่จะทำให้มหาวิทยาลัยพร้อมรับการประเมินภายนอกจาก  สมศ.  รอบที่  22.  เกิดความร่วมมือของคณะที่อยู่ในกลุ่มสาขาเดียวกันมากขึ้น
2.  มีคณะทำงานชุดต่างๆ  ครอบคลุมทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย  อาทิ      2.1  คณะทำงานกลุ่มสาขาวิชา          2.2  คณะทำงานเขียน  SAR  ระดับกลุ่มสาขา      2.3  คณะทำงานเขียน  SAR  ระดับสถาบัน      2.4  คณะทำงานให้ข้อมูลกลาง      2.5  คณะทำงานตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน 1.  ความถูกต้องและเชื่อมโยงของข้อมูลระดับต่างๆ2.  ขจัดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับคำอธิบาย  ความหมายของตัวบ่งชี้
3.  จัดโครงการประเมินแบบสมจริง  โดยเชิญกรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยต่างๆ     ผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย  เป็นกรรมการประเมิน ซึ่งใช้วิธีการ  แนวทางเหมือนกับการประเมินภายนอกของ สมศ.  ทุกประการ 1.  พบข้อบกพร่อง  และสามารถนำมาปรับปรุงก่อนที่จะรับการประเมินจริง2.  ความวิตกกังวลลดลง
4.  ปรับแก้ไขเป็นรายงานการประเมินตนเองฉบับที่จะรับประเมินภายนอกจริง  โดยผ่านที่ประชุมตามลำดับชั้น 1.  มีความมั่นใจ  พร้อมที่จะรับประเมินภายนอก
2.  ขั้นรับการประเมิน
วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติ  (Action) ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น  (Result)
1.  การจัดวางตัวบุคคลการต้อนรับและพิธีการ 1.  เกิดความประทับใจ2.  บรรยากาศกัลยาณมิตร 
2.  การจัดวางตัวบุคคลด้านข้อมูลและหลักฐาน      2.1  ด้านข้อมูลในการสัมภาษณ์  อาทิ  ผู้ว่าราชการจังหวัด,  กรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ,  ประธานหอการค้าจังหวัด,  นายกองค์การบริหารตำบล,  ศิษย์เก่า,  นิสิต,  อาจารย์,  รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ/  ฝ่ายบริหาร/   ฝ่ายแผนฯ      2.2  ด้านหลักฐานจัดวางตัวผู้ที่จะต้องชี้แจงอธิบายเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานประกอบข้อมูล เมื่อคณะกรรมการประเมิน เกิดข้อสงสัยในบางประเด็น  (พร้อม  24น.)  1.  คณะกรรมการประเมินได้ข้อมูลจริง ไม่คลาดเคลื่อนสามารถสะท้อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย   
3.  การจัดวางตัวผู้รับฟังผลการประเมิน  เป็นบุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัยข้อเสนอแนะส่วนตัว  :  การรับฟังร่างผลการประเมินด้วยวาจาจากคณะกรรมการประเมินนั้น  ควรมีนิสิต  ผู้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย 1.  มีการอภิปราย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ข้อโต้แย้งบางประการที่เข้าใจไม่ตรงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับคณะกรรมการประเมิน  ทำให้บางประเด็นมีข้อยุติ2.  บุคลากรรู้สึกเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยมากขึ้น
3.  ขั้นหลังรับการประเมิน
วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติ  (Action) ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น  (Result)
1.  ตั้งคณะทำงาน  อาทิ      1.1  คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพระดับกลุ่มสาขา      1.2  คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพระดับสถาบัน ขั้นตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการเพื่อเสนอแผนพัฒนาคุณภาพนี้ต่อ สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานในการติดตามผลของแผนพัฒนาคุณภาพ    ซึ่งองค์ประกอบหลักนั้นจะเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 
คำสำคัญ (Tags): #เรื่องเล่า
หมายเลขบันทึก: 98644เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เก็บประเด็นได้มากเลย
  • อยากให้เขียนบันทึกอีก
  • เขียนเรื่องการทำงานหรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการทำงานก็ได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท