ข้อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (1)


ข้อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (1)

        15 ธ.ค.48   ผมได้รับแฟกซ์จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   แจ้งว่ากระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ สพฐ 676/2548 ลว. 22 พ.ย.48   แต่งตั้งผมเป็นกรรมการอำนวยการ   โดยมี รมต. ศึกษาธิการเป็นประธาน  และบิ๊ก ๆ ในกระทรวงศึกษาฯ เป็นกรรมการ   ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกรรมการได้แก่ ศ. สุมน อมรวิวัฒน์,  ศ. ดร. มนตรี  จุฬาวัฒนทล,  ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์,  รศ. ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่,  ดร. เจือจันทร์  จงสถิตอยู่,  ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร,  ดร. อมรวิชช์  นาครทรรพ,  และผม   โดยคณะกรรมการมีหน้าที่

     1. กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และเสนอแนะกลยุทธ์และมาตรการในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอนและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
     2. ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนแผนงานและกิจกรรมในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน   และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
     3. แสวงหาทรัพยากรและสร้างเครือข่ายในการพัฒนาหลักสูตร  กระบวนการเรียนการสอนและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
     4. กำกับ  ผลักดันการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร  กระบวนการเรียนการสอน   และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

         เขาแจ้งว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการ,  คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ และคณะอนุกรรมการพัฒนาครูฯ  ร่วมกันในวันที่ 26 ธ.ค.48   เวลา 14.00 - 16.30 น.  ซึ่งผมติดนัดประชุมเรื่องสำคัญ   คือเรื่องการใช้ KM ผลักดันงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BRT) ของประเทศ   จึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการนี้ได้   จึงขอให้ความเห็นทางบันทึกนี้แทน

         โดยผมขอเสนอประเด็นเดียวก่อน   คือประเด็นกระบวนทัศน์หรือฐานคิดในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา   ผมต้องขออภัยที่จะต้องเสนอว่าวิธีคิดที่ใช้อยู่เดิมเป็นวิธีคิดที่ผิด   และเป็นบ่อเกิดหรือต้นเหตุของความอ่อนแแอของวงการศึกษาไทย   ทำให้ครูด้อยคุณภาพ (มองภาพรวมนะครับ   ในภาพรายคนมีครูดี  คุณภาพสูงจำนวนมาก)

ปัญหาคือวิธีคิดที่ผิดหรือมิจฉาทิฐิ
   มิจฉาทิฐิของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามี 4 ข้อใหญ่
         1. คิดว่าจะต้องพัฒนาโดยการกำหนด  สั่งการจากส่วนกลางคือ   ใช้กระบวนทัศน์แบบควบคุม  สั่งการ (command & control)
         2. คิดพัฒนาครูโดยจัดการอบรม  ถ่ายทอดความรู้
         3. พัฒนาครูโดยกระบวนการที่พรากครูออกจากศิษย์
         4. ไม่พัฒนาจากฐานความสำเร็จของครูเอง

         ผมรีบลงตอนที่ 1 ก่อน   แล้วจะขยายความในตอนที่ 2 ครับ

วิจารณ์  พานิช
 16 ธ.ค.48

หมายเลขบันทึก: 9864เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2005 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขออนุญาตแสดงความเห็นเล็กน้อย เป็น Strategies ประยุกต์จาก 10 step ของ A. Tiwana ขอ แค่ step แรกก่อนนะครับ เหลืออีก 3000 คำ เล่ม 2 จะจบแล้ว

Step 1 Analysis the existing infrastructure

Leverage ความรู้ที่มีอยู่ - ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำผลงานเลื่อนระดับ อ. 2-3 มาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่มีผลงานกี่ % ครับที่ได้รับการสนับสนุน เผยแผ่ออกไป ตอนนี้ผลงานทางวิชาการเหล่านั้นอยู่ไหน ผลงานเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ หรือไม่? แต่ต้องถือว่าความรู้เหล่านั้นมีคุณค่า จากการผ่านการประเมินทางวิชาการจนได้เป็น อ.3 ไปแล้ว

ครูและบุคลากรทางการศึกษา สร้างสารสนเทศขึ้นมหาศาลแต่ ความรู้เกิดขึ้นน้อยมาก

ไม่หมุนเกลียวความรู้ ไม่มีการนำมาใช้ ไม่มีการจัดเก็บ ไม่ต่อยอดความรู้ ไม่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนที่ รมต. จะไปซื้อ ความรู้จากโรงเรียนกวดวิชา เคยดึงความรู้ในองค์กรซึ่งข้อดีคือความรู้ที่เกิดขึ้นการองค์กรนั้นๆมาใช้หรือยัง เคย Identifies ว่า K อยู่ไหน เราอยู่ตรงไหน เรา ไม่รู้ว่ามันมีอยู่แต่มันมีอยู่ หรือ รู้ว่ามันมีแต่ไม่รู้ว่าอยู่ไหน

ผมเชื่อว่ามีงานผลงานที่ได้รับการประเมินว่าดีเลิศ แต่สรุปว่าตอนนี้กองอยู่ตรงไหนไม่รู้ แล้ว อ. ที่ได้ตำแหน่งแล้วมีการพัฒนาต่อยอดความรู้นั้นอย่างไร ทาง ศธ. เคยหันมามองตนเอง เก็บเกี่ยวความรู้ข้างใน สังคายนา และมีหรือยังครับ สมุดหน้าหลืองผู้มีความสามารถสูง-พิเศษ หรือ กลุ่ม อ. ผู้ที่เป็นตัวอย่างของสาระการเรียนรู้นั้นๆ ของกระทรวง เวลามีปัญหาจะได้หาใข้คนถูก และถูกคน

Identify the Barriers

ถ้าหัวใจของ KM อยู่ที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรารู้หรือยังว่า อะไรขัดขวางกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน ศธ. เรื่องนี้พูดกันได้เยอะแยะ ผมทำแล้วเป็นหัวข้อ Knowledge Management: Strategies for Knowledge Sharing in Secondary Education Teachers in Thailand เราจะขยายเรื่องนี้ได้อีกมาก เอาตารางสรุปไปก่อนนะครับแล้วว่างๆ มาชี้กันเป็นข้อๆ ** สารนิพนธ์อันนี้ ใช้แค่ Document analysis นะครับเราอาจจะหา Barriers ได้เยอะกว่านี้อีกมากๆเลย

Organizational and Educational Process

People and Individual

Technology

Trust

Existing knowledge, resources and network

Communication

KS goals and/or strategies

 

Willingness and expectations for sharing knowledge

 

Knowledge ownership

 

Rewards& Incentive

 

Culture and norm

 

Environment and conditions

Fear of exploitation

High power distance

Internal conflict

Available technology

Size

Risk

Technology Costs

Re-inventing the wheel

Knowledge lost

Skill

Centralized

Time

Accessibility

Unstable leadership

Hoard knowledge

Information systems

Unclear direction

Fear of contamination

            Computer Literacy

Hierarchy organizations

Bottleneck

 

 

Encouragement

 

 

Knowledge is Power

 

 

Rank

 

 

Decision making

 

ขออนุญาตแสดงความเห็นเล็กน้อย เป็น Strategies ประยุกต์จาก 10 step ของ A. Tiwana ขอ แค่ step แรกก่อนนะครับ เหลืออีก 3000 คำ เล่ม 2 จะจบแล้ว

Step 1 Analysis the existing infrastructure

Leverage ความรู้ที่มีอยู่ - ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำผลงานเลื่อนระดับ อ. 2-3 มาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่มีผลงานกี่ % ครับที่ได้รับการสนับสนุน เผยแผ่ออกไป ตอนนี้ผลงานทางวิชาการเหล่านั้นอยู่ไหน ผลงานเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ หรือไม่? แต่ต้องถือว่าความรู้เหล่านั้นมีคุณค่า จากการผ่านการประเมินทางวิชาการจนได้เป็น อ.3 ไปแล้ว

ครูและบุคลากรทางการศึกษา สร้างสารสนเทศขึ้นมหาศาลแต่ ความรู้เกิดขึ้นน้อยมาก

ไม่หมุนเกลียวความรู้ ไม่มีการนำมาใช้ ไม่มีการจัดเก็บ ไม่ต่อยอดความรู้ ไม่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนที่ รมต. จะไปซื้อ ความรู้จากโรงเรียนกวดวิชา เคยดึงความรู้ในองค์กรซึ่งข้อดีคือความรู้ที่เกิดขึ้นการองค์กรนั้นๆมาใช้หรือยัง เคย Identifies ว่า K อยู่ไหน เราอยู่ตรงไหน เรา ไม่รู้ว่ามันมีอยู่แต่มันมีอยู่ หรือ รู้ว่ามันมีแต่ไม่รู้ว่าอยู่ไหน

ผมเชื่อว่ามีงานผลงานที่ได้รับการประเมินว่าดีเลิศ แต่สรุปว่าตอนนี้กองอยู่ตรงไหนไม่รู้ แล้ว อ. ที่ได้ตำแหน่งแล้วมีการพัฒนาต่อยอดความรู้นั้นอย่างไร ทาง ศธ. เคยหันมามองตนเอง เก็บเกี่ยวความรู้ข้างใน สังคายนา และมีหรือยังครับ สมุดหน้าหลืองผู้มีความสามารถสูง-พิเศษ หรือ กลุ่ม อ. ผู้ที่เป็นตัวอย่างของสาระการเรียนรู้นั้นๆ ของกระทรวง เวลามีปัญหาจะได้หาใข้คนถูก และถูกคน

Identify the Barriers

ถ้าหัวใจของ KM อยู่ที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรารู้หรือยังว่า อะไรขัดขวางกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน ศธ. เรื่องนี้พูดกันได้เยอะแยะ ผมทำแล้วเป็นหัวข้อ Knowledge Management: Strategies for Knowledge Sharing in Secondary Education Teachers in Thailand เราจะขยายเรื่องนี้ได้อีกมาก เอาตารางสรุปไปก่อนนะครับแล้วว่างๆ มาชี้กันเป็นข้อๆ ** สารนิพนธ์อันนี้ ใช้แค่ Document analysis นะครับเราอาจจะหา Barriers ได้เยอะกว่านี้อีกมากๆเลย

Organizational and Educational Process

People and Individual

Technology

Trust

Existing knowledge, resources and network

Communication

KS goals and/or strategies

 

Willingness and expectations for sharing knowledge

 

Knowledge ownership

 

Rewards& Incentive

 

Culture and norm

 

Environment and conditions

Fear of exploitation

High power distance

Internal conflict

Available technology

Size

Risk

Technology Costs

Re-inventing the wheel

Knowledge lost

Skill

Centralized

Time

Accessibility

Unstable leadership

Hoard knowledge

Information systems

Unclear direction

Fear of contamination

            Computer Literacy

Hierarchy organizations

Bottleneck

 

 

Encouragement

 

 

Knowledge is Power

 

 

Rank

 

 

Decision making

 

ขอโทษครับมีซ้ำ ทำอย่างไรจะลบที่ซ้ำได้ครับ ผมสังเกตุว่าหลายครั้งเลยที่ผมแสดงความเห็น จะมีซ้ำๆ 2 อันเหมือนกัน

 -เห็นด้วยกับอาจารย์ในเรื่องการพัฒนาครูจากฐานความรู้ในผลงานที่ได้รับการพิจารณาให้ได้ อ.2 - 3

-ศธ.จะต้องจัดการให้มีการเก็บ และเข้าถึง คลังความรู้นี้อย่างเร็ว ง่าย และใหญ่

- พัฒนาครูให้สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัตรปฏิบัติในห้องเรียนของครู  กระบวนการผลิตครู  และการเพิ่มพูนวิทยะฐานะของครู

-ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ ทำงานอย่างมีคุณภาพ ซึ่งต้องทำอย่างเป็นระบบ (System  thinking) คือมีกระบวนการ   วิธีการ  และบันทึกอย่างเป็นมาตรฐาน

น่าถามครูที่สนใจที่จะพัฒนาตัวเองดูนะครับว่าอยากพัฒนาอะไรบ้าง

ไม่อยากออกนามเหมือนกัน
และก้อขอกลับไปถามครูที่ประท้วงทั้งหลายแหล่อยู่ด้วยน่ะ ว่าเข้าใจใน  Analysis the existing infrastructure และสามารถเข้าถึง Identify the Barriers อะป่าว  เรื่องที่จะพัฒนาจึงค่อยมาว่ากัน(...ทีหลัง...) ดีหมั้ย....  ดีหมั้ย..... 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท