โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

โรคมือ-เท้า-ปาก


  โรคมือ-เท้า-ปาก (Hand-Foot-And-Mouth Disease; HFMD)

โรค HFMD เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน มักเกิดจากไวรัสกลุ่ม coxsackie A16 และ enterovirus อื่นๆ อีกหลายตัว มักติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายหรืออุจจาระของผู้ป่วย มีระยะฟักตัว 3-6 วัน ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ เจ็บปาก และมีผื่นเป็นลักษณะตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ (papulo-vesicular rash) บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจมีตามลำตัว แขน ขา ได้ แผลในปากจะเป็น ulcer กลมเล็กกระจายที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และเพดาน เด็กจะกินอาหารไม่ค่อยได้ และอาการทั่วไปมักไม่รุนแรง และไข้มักจะหายใน 2-3 วัน และผื่นจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 7-10 วัน

การป้องกันโรคHFMD

                 โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก หรือสัมผัสกับผื่น ตุ่มน้ำใสและอุจจาระของผู้ป่วย เพราะเชื้อนี้พบได้ในลำคอ, ในผื่นตุ่มน้ำใส และอุจจาระของผู้ป่วย และผู้ที่มีเชื้อโดยไม่มีอาการ โดยเฉพาะในอุจจาระอาจพบเชื้ออยู่ได้นานหลายสัปดาห์ทำให้แพร่เชื้อแบบ faecal-oral-route ได้ เชื้อนี้ตายง่ายในที่แห้งและความร้อน แต่หากมีความชื้นหรือมีสารคัดหลั่งปกคลุมจะอยู่ได้นาน เชื้ออาจแพร่โดยผ่านทางมือผู้ที่สัมผัสกับและไปสัมผัสเด็กคนอื่น เช่นการเปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็กเล็ก นอกจากนี้เชื้ออาจอยู่บนพื้นผิวของสิ่งแวดล้อม, ของเล่น ทำให้เกิดการสัมผัสทางอ้อมได้                วิธีการป้องกันโรคนี้ที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยและรักษาสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรคมักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่รวมกันในโรงเรียน หรือสถานเลี้ยงดูเด็ก จึงควรเน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อม เด็กป่วยควรให้อยู่บ้านไม่ให้มาเล่นกับเด็กคนอื่น บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องปิดโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กชั่วคราว หากมีการระบาดเกิดขึ้นมาก

                ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

 
 
หมายเลขบันทึก: 98487เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท