เพลงพื้นบ้าน จากการปฏิบัติจริง 7 (เพลงเต้นกำ)


มือหนึ่งถือกำข้าว มือหนึ่งถือเคียว (ไม่มีรำ)
 
เพลงพื้นบ้าน 
จากการปฏิบัติจริง 
(ตอนที่ 7) เพลงเต้นกำ
 

          เพลงเต้นกำ เป็นเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันในท้องนา ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ในแถบจังหวัดอ่างทอง  สุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  อุทัยธานี นครปฐม กาญจนบุรี ตามคำบอกเล่าของครูเพลงที่ผมได้สอบถามมา ป้าทรัพย์ อุบล (ถึงแก่กรรมไปแล้ว ปี 2549) ป้าเล่าว่าเกี่ยวข้าวกันไปก็ร้องเพลงกันไปในทุ่งนา บางคนก็ร้องเพลงฉ่อย  บางคนก็ร้องเพลงเรือ เพลงอีแซวก็มี ส่วนเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จในแต่ละคันนา ก็จะมีพ่อเพลง แม่เพลงคนเก่ง ๆ รวมกลุ่มกันยืนเป็นวงกลม บางทีก็ต่างคนต่างยืน ร้องเพลงเต้นกำกัน  พ่อเพลงคนที่เสียงดี ๆ ก็จะออกมาร้องเกริ่นก่อน แต่ต่อ ๆ มาไม่มีเกริ่น ขึ้นเสียงร้องไปเลย ป้าบอกว่าเพลงเต้นกำบางทีก็เรียนตามลักษณะของแขกเกี่ยวข้าวที่มือหนึ่งถือเคียว อีกมือถือรวงข้าว เรียกกันว่า เพลงเกี่ยวข้าวก็มี สำหรับคำร้องเกริ่น  ผมเคยได้ยินป้าทรัพย์ร้องให้ฟังเท่าที่จำได้ เช่น                                    

                ตะวันก็บ่าย  ชายเย็น..แม่ผมกระจายหลายเส้น  เย็นแล้วนะ เออ เอย....เอ่อ เอิง เอย                                                                          

             เพลงที่มีชื่อและสถานที่คล้าย ๆ กัน คือเพลงที่เล่นกันในท้องนาเช่นเดียวกัน บางครั้งก็สับสนในการเรียกชื่อและผิดพลาดในการร้องได้  น่าให้อภัย ได้แก่  เพลงเกี่ยวข้าว (เพลงก้ม) เป็นเพลงที่ร้องไปด้วยเกี่ยวข้าวไปด้วย เป็นการร้องในขณะที่กำลังทำงาน ปัจจุบันคงหาดูไม่ได้อีกแล้ว ไม่มีทั้งคนร้องและข้าวที่จะให้คนเกี่ยว (เขาใช้รถเกี่ยวกันหมด) ส่วนเนื้อร้องเพลงเกี่ยวข้าวจะขึ้นต้นว่า                                              <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%; text-align: justify" class="MsoNormal">        “เกี่ยวเถอะนะ แม่เกี่ยว (เชิ๊บๆ) เกี่ยวเถอะนะ  แม่เกี่ยว </p>

อย่ามัวชะแง้ แลเหลียว  เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยว ก้อยเอย”   เอ่อ เออ เอิง เงอ  เอ้อ เออ เอ่อ เอิง เงย...                                              

         เพลงเต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นบ้านที่ฝึกหัดเพื่อการบันทึกเสียง โดยกรมศิลปากร จึงมีการปรับปรุงและดัดแปลงคำร้องให้สนุกสนาน มีเนื้อร้องดังนี้            

         เกี่ยวกันเถิดนางเอย.. แม่เอย   นางเอย   สองมือจับเคียว  มาช่วยกันเกี่ยวข้าวในนา  จะลุยเกี่ยว สักสิบวา แล้วทำท่า รำ เอย..”                                                          

          ผมเล่าเลยไปนอกหัวข้อเล็กน้อยก็เพราะเพลงในรูปแบบนี้มี 3 ชนิด ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าใจสับสนไปเหมือนกัน ถ้าจะให้ชัดเจนก็คือ เพลงเกี่ยวข้าว เป็นเพลงเก่าแก่มานาน ไม่มีให้ได้ยินได้ฟังอีกแล้ว เพราะต้นตำรับที่เป็นผู้เล่นไม่ได้ส่งต่อเพลงมายังคนรุ่นหลัง หรือคนรุ่นหลังไม่ได้สืบสานเอาไว้นั่นเอง ส่วนเพลงเต้นกำยังพอมีให้ได้ฟัง นักเพลงอย่างพี่ขวัญจิต  ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ และพี่สุจินต์  ศรีประจันต์ ยังนำมาร้องร่วมกันในการเป็นวิทยากรอบรมเยาวชนและครูอยู่บ่อย  พี่ทั้งสองคนเคยพูดว่า บางทีเราก็เรียกเหมาไปเลยว่า เพลงเกี่ยวข้าว แต่เรารู้กันนะว่า เพลงเต้นกำ  วิธีการร้องเพลงเต้นกำ พี่สุจินต์ บอกผมว่า เพลงนี้เขาไม่มีรำกันหรอกนะอาจารย์ สมัยก่อนเวลานำไปแสดงใช้ฟางข้าวมัดเป็นกำแล้วถือเอาไว้มือหนึ่ง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งก็ถือเคียว แล้วก็ร้องเกริ่นขึ้นต้นเพลง (พ่อเพลงร้องเฉพาะคนแรก)      

                                                   

</span></span></span></span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left">      </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left">     </p><p>ก่อนที่จะเข้าเนื้อร้อง จะต้องเกริ่นขึ้นต้นเพลงว่า “ตะวันก็ด่วน จวนจะเพล  แม่ผมกระจาย หลายเส้น เพลแล้ว ไม่เห็นมา เอ่อ เออ เอ้อ เอย..”  ผมขอยกเอาตัวอย่างเพลงเต้นกำมาให้เห็น  ดังนี้ ครับ</p><p>บทเพลงเต้นกำ    </p><p>(ร้องเกริ่น)  ตะวันก็บ่าย.. เอิ้ง เงอ เอิ้ง เงย... ลงชายเย็น แม่ผมกระจายหลายเส้น  เย็นแล้วนะวัน.. เออ..  เออ เอ๊ย...  (ลูกคู่ร้องรับ) ผ้มกระจายหลายเส้น  ผมกระจายหลายเส้น  เย็นแล้วนะวันนะวัน..เออ.. เฮ้อ เอ้อ อ๊ย..นี้ เอย...      </p><p>เอิง เงอ เอิ้ง เงอ   ชะ เอิง เงิง เงอ   ชะ เอิง เงิง..  (เฮ้  เอ้า เฮ้เฮ้)    </p><p>        ได้ยินน้ำคำ   ร่ำไข           มาว่ากันในซิ กลอนลา (เฮ้  เอ้า เฮ้เฮ้)</p><p>        จะยกบายศรี  ขึ้นสี่มุม       จะไหว้พระภูมิ  เจ้าของนา             </p><p>        ทั้งเหล้าไห  ไก่ตัว            มาเซ่นที่หัว  คันนา            </p><p>        มานั่งในคอ  ต่อปัญญา     เมื่อลูกจะว่า  ซิเพลงเอย </p><p>(ลูกคู่ร้องรับ) เอิง เง้ย เพลงเอ้ย  มานั่งในคอ  ต่อปัญญา เมื่อลูกจะว่า  ซิเพลงเอย  ว่าปัญญา ปัญญา  เมื่อลูกจะว่าซิเพลงเอย   </p><p>เอิง เงย ถ้อยคำ ร่ำไข   มาว่ากันใน ซิกลอนลี(เฮ้ เอ้า เฮ้เฮ้)              </p><p>        มาเรียกน้อง  ก็แล            มาเรียกแม่  กันหรือไม่มี  </p><p>        มีธุระ  อะไร                    ช่วยบอกให้  รู้ที        </p><p>        จงฉวยกำ  ขึ้นรำรี่            แล้วเดินมาที่  วงเอย..</p><p>(ลูกคู่ร้องรับ) หงส์ เอ้ย วงเอ้ย   จงฉวยกำ  ขึ้นรำรี่  แล้วเดินมาที่ วงเอย..    ว่ารำรี่  รำรี่  แล้วเดินมาที่   วงเอย…</p><p>(บทร้องเดิมเพลงเต้นกำ จาก บุญโชค  ชนะโชติ  2541)    </p>               ข้อสังเกตคือ เพลงเต้นกำ จะร้องลงด้วยคำลงว่า เอย ลูกคู่ร้องรับว่า เอิง เง้ย.. หรือ หงส์ เอ้ย.. ส่วนคำขึ้นต้น อาจใช้คำร้องที่ว่า เอิง เง้ย..เป็นคำเกริ่นสั้น ๆ ก็ได้ ส่วนคำรับ แต่เดิมใช้คำว่า   (เฮ้ เฮ๊ะ)  ต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็น  เฮ้  เอ้า เฮ้เฮ้                      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left">         ผมร้องเพลงเต้นกำร่วมกับพี่สุจินต์ ศรีประจันต์ ในการอบรมปฏิบัติการเพลงพื้นบ้านให้กับครูและนักเรียน ส่วนการแสดงหน้าเวทีมีบ้าง แต่ก็ไม่มากเท่ากับเพลงฉ่อย ต้องยอมรับว่า เพลงเต้นกำ เป็นเพลงที่ร้องรับยากพอสมควรโดยเฉพาะถ้าลูกคู่ไม่รู้ทางกัน จะจับคำร้องรับได้ไม่หมดหรือไม่ตรงตามที่พ่อเพลงร้องเอาไว้ ในกรณีที่เราร้องกลอนสด (ด้นกลอน) แต่เพลงเต้นกำก็เป็นเพลงพื้นบ้านที่ยังน่าอนุรักษ์เอาไว้ฟัง มีทั้งความไพเราะและสนุกสนานครับ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left">(ชำเลือง  มณีวงษ์ / 2550)  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left">                                                                        <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify">         </address></p>

หมายเลขบันทึก: 97932เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท