ระบบที่สำคัญในระบอบการปกครองของซาอุดิ


ระบบที่สำคัญ

ระบบที่สำคัญในระบอบการปกครองของซาอุดิอาราเบียมีดังนี้

1.       อัล-กุรอานในฐานะของรัฐธรรมนูญ (The Holy Quran as Constitution) ราชาอาณาจักรซาอุดิอาราเบีย ยึดเอาอัล-กุรอานเป็นธรรมนูญของรัฐ เพราะอัล-กุรอานนับเป็นคัมภีร์ที่ยอมรับกันทั้งในโลกตะวันตก และตะวันออกมาตลอด 14 ศตวรรษว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย อัลกุรอานยังเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ และเป็นแนวปฏิบัติทางโลกในฐานะรัฐธรรมนูญได้อย่างเหมาะสม ซึงหลักนี้ได้มีการระบุไว้ในคำแถลงการณ์ประอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาดังปรากฏอยู่ว่าความมัฐยัสถ์และรอบคอบ โดยสัจจริงแล้วจะเป็นแนวทางชี้นำรัฐบาลให้อยู่ได้ในระยะยาว ซึ่งระบบที่ดีนั้นไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงง่าย เพียงเหตุที่ชั่วครั้งชั่วคราว และจากประสบการณ์ทั้งหมดได้แสดงให้เห็นว่า มนุษย์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มไปทางยากลำบากขณะที่ความชั่วร้ายนั้น คือ ความอยากลำบาก มากกว่าแนวโน้มไปสู่ความดีหรือถูกต้องซึ่งได้มาโดยการละทิ้งสิ่งเคยชิน อัล-กุรอาน เป็นธรรมนูญแห่งชีวิตของมุสลิมที่ยึดแนวทางที่มั่งคงในหลักการไม่มีการสังคายนาเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่เหมาะสมกับการนำมาปฏิบัติ แต่สอดคล้องที่สุดกับวิถีชีวิตมนุษย์ทุกกาลสมัย ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้จะต้องเป็นหลักการหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่ดี อันนำมาซึ่งเสถียรภาพของรัฐบาลและของประเทศชาติจากหลักการดังกล่าวนี้ราชอาณาจักรซาอุดิอาราเบียจึงกำหนดให้อัล-กุรอานเป็นรากฐานแห่งระบบการเมืองซาอุดิอาราเบียนอกจากนี้แล้วอัล-กุรอานมีความเหมาะสมที่เป็นธรรมนูญของมุสลิมซาอุดิอาราเบียมากกว่าธรรมนูญใด ๆ เพราะการประกาศใช้อัล-กุรอานเป็นรัฐธรรมนูญของประเทศมีขึ้นในประเทศทีประชากรทั้งประเทศเป็นมุสลิม ในประเทศนี้ ไม่มีวัด โบสถ์ คริสต์และยิว และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอื่นจากอิสลามการเปลี่ยนศาสนาจากอิสลามเป็นศาสนาอื่น ไม่เป็นที่อนุมัติในประเทศนี้ ฉะนั้น ซาอุดิอาราเบียทังประเทศจึงมีแต่มุสลิมเท่านั้นที่เป็นประชากรของประเทศสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้คือชาวต่างชาติ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการทูตหรือเป็นตัวแทนฝ่ายเทคนิค หรือองค์การการค้าระหว่างประเทศ หากบุคคลเหล่านี้มิใช่มุสลิม พวกเขาสามารถจะปฏิบัติศาสนกิจได้ในสถานที่ส่วนบุคคลเท่านั้น หรือว่าภายในบ้านเรือนคือภาษา หรือการอยู่ร่วมกันแบบหลากหลายวัฒนธรรมและสังคม เสมือนกับที่ได้พบเห็นปรากฏขึ้นในสังคมของประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป

2.       สภาคณะรัฐมนตรี (The Council Ministers หรือ Majlis Al-Wuzara) ซอุดีอารเบีย หน่วยงานสภาคณะรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจมากที่สุด เพราะสภาคณะรัฐมนตรีได้รับอำนาจโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้สภาคณะรัฐมนตรีสามารถตรวจสอบเกือบทุกเรื่องในราชาอาณาจักรซาอุดิอาราเบียสภาคณะรัฐมนตรีเริ่มต้นครั้งแรกในปี 1953 ซึ่งเป็นผลทางการเมืองของกษัตริย์อับดุลอาซีซ บุตรอับดุลรหมาน อัล-ซาอูดในช่วงท้ายทีจะใช้อำนาจในการรวบรวมเข้าเป็นที่หนึ่ง ให้แก่ประเทศใหม่อย่างซาอุดิอาราเบียภายหลังจากก่อตั้งประเทศซาอุดิอาราเบีย กษัตริย์อับดุลอาซีซได้แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน- การปกครองโดรตรงด้วยพระองค์เอง คือส่วนทีอยู่ช่วงกลางของประเทศ และทางภาคตะวันออกของประเทศ- ให้บุตรชายคนที่ 2 ไฟซอลผู้ซึ่งต่อมาขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์คนที่ 3 ปกครองในฐานะผู้แทนพระองค์ (Viceroy) โดยให้ดูแลภาคตะวันตกโดยทั้งหมด กษัตริย์อับดุลอาซีซ บุตรอับดุลรอหมาน ได้จัดตั้ง 2 องค์กรใหญ่ของประเทศเพื่อทำการบริหารงานเฉพาะด้าน ในการบริหารกิจการแคว้นหิญาซ (The Affair Of Hihaz) ซึ่งเป็นแคว้นทางภาคตะวันตก1.       องค์แรก เรียกว่าสภาที่ปรึกษา (The Consultative  council หรือ Majlis Al-shura) ซึ่งองค์กรนี้ยังคงมีอยู่จนกระทังปัจจุบัน2.       องค์กรที่ 2 ได้ก่อตั้งในภายหลัง เรียกว่า สภาผู้แทน (The Council of Deputies หรือ Majlis Al-Wajlis Al-Wkala) ซึ่งต่อมาในปี 1953 ได้พัฒนามาเป็นสภาคณะรัฐมนตรี (The Council of Ministers)องค์กรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจากสององค์กรนี้คือสภาพผู้แทน (The Council Of Deputies) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาด้วย พราชากฤษฏีกา (The Royal Decree) ในเดือนธันวาคม 1931 พระราชกฤษฏีกาได้แต่งตั้ง 4 ตำแหน่งอันประกอบด้วย ประธาน องค์กร คือ ผู้แทนพระองค์ผู้ดูแลแคว้นหิญาซ (ซึ่งในขณะนั้นคือไฟซอล บุตรอับดุลอาซีซ) 2.  ตำแหน่งว่าการกิจการต่างประเทศ  3.  ตำแหน่งว่าการกิจการคลัง  4.  คือตำแหน่งรองประธานองค์กร ในความเป็นจริงแล้ว สภาผู้แทน (The Council of Deputies) จะมีอำนาจมากกว่า สภาคณะรัฐมนตรี (The Council of Ministers) หากจะดูจากพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งองค์กรจะเห็นได้ว่าสภาผู้แทนได้รับมอบหมายอำนาจโดยตรงจากพระมหากษัตริย์และยังคงสามารถที่จะเสนอโครองการต่าง ๆ ไปยังแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ของรัฐบาลสำหรับสภาผู้แทนหากมีมติหนึ่งมติใดที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งของรัฐบาล ทางสภาผู้แทนสามารถจะผ่านนโยบายของสภาไปยังกระทรวงนั้นได้โดยตรง มากกว่าที่จะส่งให้พระมหากษัตริย์เพื่อรอการเห็นชอบ เหมือนกับที่สภาคณะรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติรัฐธรรมนูญปี 1954  กำหนดให้เป็นแนวทางปฏิบัติ ด้วยความต้องการในการตัดสินในและรวมศูนย์อำอาจเข้าสู่ส่วนกลางของโครงสร้างการปกครองเพื่อที่จะเนินงานโดยตรงในกิจการของแคว้นหิญาซซึ่งกำลังค่อย ๆ เพิ่มความเข้มแข็งและมั่นคงขึ้นทุกขณะพร้อมจะเข้ามารวมเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรซาอุดิอาราเบีย ถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่ยิ่งต่อการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับในเวลาต่อมา ในความเป็นจริงแล้วพื้นฐานที่แตกต่างระหว่างสภาผู้แทนและสภาคณะรัฐมนตรี คือ ขณะที่องค์กรสภาผู้แทนนั้นทำหน้าที่ดำเนินการในแคว้นหิญาซเท่านั้นแต่สภาคณะรัฐมนตรีนั่นมีอำนาจหน้าทีการบริหารจากส่วนกลางและต้องปกครองดูแลทั่วทั้งประเทศในช่วงต้นทศศตวรรษที่ 1940  การบริหารงานประสบความสำเร็จในเป้าหมายเฉพาะกาลจึงจำเป็นต้องยุบองค์กรสภาผู้แทนโดยค่อย ๆ สลายตัว ไปในขณะเดียวกัน การบริการงานจากส่วนกลางก็เริ่มที่จะแผ่ขยายการดำเนินงานออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดแจงการให้บริการทั่วถึงทั้งในหัวเมืองใหญ่และในชนบท พร้อมกันนี้ได้ขยายขอบเขตการรับผิดชอบการบริหารจากส่วนกลางและให้การบริการจากรัฐบาลส่วนกลางมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีกระทรวงใหม่ ๆ และกรม กองต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงการคลัง ที่ถูกยุบไปในปี 1930 และ 1932 ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในปี 1944 กระทรวงกลาโหมได้ถูกตั้งขึ้น แทนที่หน่วยป้องกันภัยที่มีมาก่อนหน้านี้ และในปี 1951 อำนาจในการตัดสินของกระทรวงมหาดไทยได้ถูกขยายไปทั่วประเทศซึ่งก่อนหน้านี้ทำหน้าที่แค่เพียงแคว้นหิญาซเท่านั้น ในปี 1953  กระทรวงการสื่อสารมวลชนกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงเกษตร ได้ถูกจัดตั้งขึ้น กระทรวงพาณิชย์ ก่อตั้งในปี 1954 และปีเดียวกันนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้แยกจากกระทรวงมหาดไทยเป็นเอกเทศความสำเร็จในการรวมเคว้นหิญาซ เข้ากับราชอาณาจักรซาอุดิอาราเบีย ผลักดันให้กษัตริย์ อับดุลอาซีซ บุตรอับดุลรอหมาน อัล-ซาอูด วางโครงรางแรกของการบริหารจากส่วนกลางขึ้น สภาคณะรัฐมนตรีขึ้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการรวมเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวของประเทศให้อยู่ภายใต้ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เมื่อหน้าที่ได้ถูกกำหนดให้แก่คณะรัฐมนตรี ก็คงเหลือแต่การแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น

พระราชกฤษฎีกา (ลงวันที่ 9 ตุลาคม 1953/ซาฟัร 1973 ฮ.ค.) ได้มีพระราชโองการ 5 เรื่องดังนี้1.         องค์กรทำงานของสภาคณะรัฐมนตรี2.         ของเขตอำนาจของสภาคณะรัฐมนตรี3.         ระเบียบการขอสภาคณะรัฐมนตรี4.         ขอบเขตอำนาจของประธานของสภาคณะรัฐมนตรี5.         การแบ่งแยกกันระหว่างสภารัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี 

3.       คณะรัฐมนตรี  (The Cabinet)

                    การขยับอย่างรวดเร็ว เพื่อดำเนินงานของรัฐบาลพร้อมกับความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาภายในราชอาณาจักร และโครงการหลายระดับเพื่อปรับการจัดสรรผลประโยชน์และบริการที่ทั่วถึงแก่ประชาชนของรัฐ เป็นผลให้ต้องมีการจัดตั้ง กระทรวงใหม่ ๆ หลายกระทรวง พร้อมทั้งกรม กอง และหน่วยงานรัฐบาลขึ้นมาใหม่        จนกระทั่งในปี 1975  คณะรัฐมนตรีของซาอุดิอาระเบียประกอบด้วย 14 กระทรวงเข้ามาอยู่ในสภาคณะรัฐมนตรีแต่คณะรัฐมนตรีที่จัดตั้งขึ้นมาตามพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ อันดับที่ A/236 ในวันที่ 13  ตุลาคม  1975  ได้เพิ่มจำนวนของรัฐมนตรีจาก 14 คน เป็น 20 คน         จำนวน 20 คน เป็นจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของซาอุดิอาราเบีย การตกลงใจที่จะนับรัฐมนตรีใหม่ ๆ ที่มีการศึกษาดีผ่านการฝึกงานและยังหนุ่มเข้ามาอยู่ในสภาคณะรัฐมนตรีเพื่อจะได้ขยายการทำงานและจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความจำเป็นของประเทศ พระราชกฤษฏีกาได้แต่งตั้งรัฐมนตรี 3 ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการรัฐโดยไม่ระบุว่าการกระทรวงใดที่อยู่ในสมาชิกของสภาคณะรัฐมนตรี โดยพระราชกฤษฏีกา ต้องระบุด้วยว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการรัฐที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกของสภาคณะรัฐมนตรี หากว่าไม่ได้ระบุว่าดำรงตำแห่งเป็นสมาชิกของสภาคณะรัฐมนตรี ถือว่าหลุดออกไปจากสภาคณะรัฐมนตรี        สำหรับ 14 ตำแหน่ง รัฐมนตรีที่มีก่อนการเพิ่มตำแหน่ง มีดังนี้

1.       กลาโหม2.       ต่างประเทศ3.       แรงงานและสวัสดิการสังคม4.       มหาดไทย5.       การศึกษา6.       การสื่อสาร7.       การเกษตร8.       การคลังและเศรษฐกิจ9.       น้ำมันและทรัพยากรแร่10.    สาธารณสุข11.    การพาณิชย์12.    ฮัจญ์และศาสนสมบัติ13.    ยุติธรรม14.    แถลงข่าวในปี 1975 เดือนตุลาคมได้เพิ่มกระทรวงใหม่อีก 6 กระทรวง1.       โยธาธิการ และการเคหะ2.       กิจการเทศบาล และชนบท3.       การศึกษาชั้นสูง4.       อุตสาหกรรมและพลังงาน5.       การไปรษณีย์6.       การวางแผนพร้อมกับรัฐมนตรีการวางแผนและรัฐมนตรีว่าการรัฐที่ไม่มีตำแหน่งประจำกระทรวงจำนวนของรัฐมนตรีในสภาคณะรัฐมนตรี เพิ่มเป็น 23  คน โดยไม่นับรวมนายกและรองในปี 1987  สภาคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย1.       นายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์2.       รองนายก คนแรก ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา หน่วยความมั่นคงแห่งชาติ3.       รองนายก คนที่สอง ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและการบิน1.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและแหล่งงาน2.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์3.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร4.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ5.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ6.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ7.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข8.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาระดับสูง9.             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงาน10.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว11.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย12.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม13.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม14.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเทศบาลและชนบท15.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันและทรัพยากรแร่16.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฮัจญ์และบริจารสาธารณะ17.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผน18.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์19.          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการเคหะ20.          -22 รัฐมนตรีว่าการรัฐ (ตำแหน่งลอย 3 ตำแหน่ง)21.          รัฐมนตรีไม่สังกัดกระทรวงในปี 1988 พระราชกฤษฏีกาได้แต่งตั้งให้ประธานผู้บังคับการของท่าเรือของซาอุดิอาราเบีย ประธานของศูนย์กลางข่าวกรองและประธานของการสืบสวนและคณะกรรมการควบคุมเข้ามาเป็นสมาชิกของสภาคณะรัฐมนตรีสำหรับคณะรัฐมนตรีของราชาอาณาจักรซาอุดีอาราเบียที่แต่งตั้งใหม่เมื่อต้นปี 2006 ภายใต้การนำของกษัตริย์ อับดุลลอฮ มีรัฐมนตรี 27 คน ไม่นับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีพระมหากษัตริย์                   อับดุลลอฮ บุตร อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูดนายกรัฐมนตรี                      อัลดุลลอฮ บุตร อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูดรองรายกรัฐมนตรี               สุลตอน บุตร อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด1.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร  ฟาฮัด บุตรอับดุลรอหมาน บุตรสุไลมาน บัลฆูนัย2.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการชุมชน มูฮัมหมัด บุตรอาลี ฟายิซ3.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม  ฮาซิม  บุตรอับดุลอับดุลลอฮ บุตรฮาซิม ยามานี4.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ มูฮัมหมัด บุตรญามีล บุตรอะหมัด มุลลาห์5.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและข้อมูลข่าวสาร อิยาด บุตรอามี มาดานี6.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและการบิน สุลตอน บุตรอับดุลอาซีซ อัล-ซาอูด7.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผน ดอลิด บุตรมูฮัมหมัด อัล-กุสัยมี8.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ อับดุลลอฮ บุตรซอและห อัล-อุบัยศ์9.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อิบรอฮัม อับดุลอาซิซ อัล-อะซาฟ10.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซาอูด อัล-ไฟซอล บุตรอับอุลอาซีซ อัล-ซาอูด11.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ฮามัด บุตรอับดุลลอฮ อัน-มานีย์12.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาระดับสูง คอลิด บุตรมูฮัมหมัด อัล-อันการี13.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงว่าการกระทรวงมหาดไทย นายิฟ บุตรอับดุลอาซิซ บุตรมูฮัมหมัด บุตรอิบรอฮัม อัล-เซค14.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการอิสลาม การกุศล เผยแผ่และชี้นำ ซอและฮ์ บุตรอับดุลอาซีซ บุตรมูฮัมหมัด บุตรอิบรอฮีม อัล-เชค15.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อับดุลลอฮ บุตรมูฮัมหมัด บุตรอิบรอฮีม อัล-เซค16.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ฆอซีย์ บุตรอับดุลรอหมาน อัล-กูซัยบี17.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเทศบาลและชนบท   มิติ บุตรอับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด18.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันและทรัพยากรแร่ อาลี อิบรอฮัม อัล-นารีมี19.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการฮัจญ์และศาสนปถัมภ์ ฟูอัด-อับดุลสลาม มูฮัมหมัด อัล-ฟารซีย์20.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการสังคม อับดุลมูฮซิน บุตร อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด21.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จูบารอฮ ซูรัยสรี22.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการนำและพลังงาน อับดุลลอฮ อัล-ฮูเซน23.    รัฐมนตรีว่าการรัฐ (ตำแหน่งลอย) มูซาอิด บุตร มูฮัมหมัด อัล-อัยบัน24.   

คำสำคัญ (Tags): #การปกครอง
หมายเลขบันทึก: 97879เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท