Mushroom


คนไทยที่มาทำธุรกิจที่เมืองนี้ พอได้ยินชื่อครั้งแรก ก็ทำท่าฉงนงงงวยพร้อมกับหัวเราะ “เห็ดอะไร ชื่อพิกลจริง” แต่พอได้ลิ้มรสชาติ ต่างก็ยกนิ้วให้ แม้แต่เพื่อนฝรั่งอเมริกันนักศึกษาแรกเปลี่ยนยังทึ่งในรสชาดพร้อมกับยอมรับว่า “….. mushrooms are very tasty” “เป็นเห็ดที่แซ่บแท้ๆ”

    Madras Christian college เป็นคอลเลจที่ผมสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คอลเลจนี้ถือว่าเป็นคอลเล็จที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ของรัฐทมิฬนาด ูและประเทศอินเดียเลยทีเดียว พื้นที่ของคอลเลจนั้นกว้างใหญ่มาก และทั่วทั้งบริเวณจะเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์และสัตว์จำพวก กวาง หมูป่า นกยูง กระรอก กระต่าย พังพอน ลิง และนกนานาชนิด ในบริเวณของคอลเลจนักศึกษาได้รับอนุญาตให้ใช้เฉพาะจักรยานเท่านั้น ส่วนพาหนะอื่นๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องจอดไว้ที่บริเวณจัดไว้ให้เท่านั้น เพราะเสียงเครื่องยนต์อาจทำให้บรรดาสัตว์ตกใจและรำคาญได้ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ ผมใช้ชีวิตอยู่ในหอทั้งสองปีซึ่งเป็นหอที่สร้างขึ้นในพื้นที่ของคอลเล็จ เป็นตึกสองชั้น มีโรงอาหารในหอพร้อมเสร็จ มีอาหารให้ทาน 3 มื้อ เหมือนกับโรงเรียนกินนอนทั่วไป

(บรรยากาศทิวทัศน์ใน Madras Christian college  ภาพล่างสุดที่เห็นลิบ ๆ ตรงกลางคือกลุ่มนักศึกษากำลังใช้ยานพาหนะส่วนตัว  (ขา)  เดินกันอยู่ครับ)

ตลอดระยะเวลาสองปีที่ศึกษาอยู่ทำให้มีความผูกพันกับสถานที่พอสมควร แม้ว่าตอนนี้ผมไม่ได้เรียนที่นั่นแล้ว แต่ก็ยังแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมรุ่นน้อง ในหอพักเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ผมและเพื่อนๆที่ไม่เรียนและไม่ได้อาศัยอยู่ในหอพักของ Madras Christian College ก็จะแวะเวียน เข้าไปในคอลเลจบ่อยครั้งขึ้น เพราะ….เป็นช่วงที่เห็ดป่าออก…เห็ดที่พบก็คือเห็ดโคน และเห็ดอีกประเภทหนึ่ง ผมไม่เคยเห็นในเมืองไทย ผมและเพื่อนๆ ก็เลยตั้งชื่อให้ตามรูปพรรณสัณฐานของเห็ด ชื่อสุภาพก็คือ เห็ดศิวลิงค์ หรือเรียกง่ายๆจำได้รวดเร็ว คือ เห็ด............                     <p style="text-align: center"></p> <p align="center">           (นีแหละครับ....รูปร่างหน้าตาเจ้าเห็ดศิวลึงค์) </p>

คนไทยที่มาทำธุรกิจที่เมืองนี้ พอได้ยินชื่อครั้งแรก ก็ทำท่าฉงนงงงวยพร้อมกับหัวเราะเห็ดอะไร  ชื่อพิกลจริง แต่พอได้ลิ้มรสชาติ ต่างก็ยกนิ้วให้ แม้แต่เพื่อนฝรั่งอเมริกันนักศึกษาแรกเปลี่ยนยังทึ่งในรสชาดพร้อมกับยอมรับว่า “….. mushrooms are very tasty” “.......เป็นเห็ดที่แซ่บแท้ๆ

เห็ดศิวลึงค์ที่ว่านี้ เวลามันเกิดมันจะไม่เกิดทีละดอกสองดอกนะครับ แต่มันจะสามัคคีกันเกิดแบบเป็นกลุ่มๆ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยดอก ตอนแรกๆ ก็ไม่มีใครกล้านำมากิน แต่สังเกตจากเห็ดที่ถูกแมลงแทะกิน สี กลิ่นและจากการที่ได้ศึกษาและฟังคำบอกเล่ามาบ้าง ก็เลยนำมาทดลอง             

                 (ลานเห็ดศิวลึงค์ครับ  ขึ้นพรึบพรับไปหมด)  

 แม้จะได้รู้ข้อมูลบางประการก็ยังไม่มั่นใจ จึงจำเป็นต้องหาใครสักคนเป็นหนูทดลอง พอได้อาสาสมัครใจกล้า พ่อครัวประจำชมรมก็ปรุงอาหารเลิศรสก็ให้อาสาสมัครทดลอง ส่วนที่เหลือคอยสังเกตการณ์ หากไม่มีอาการอาเจียนภายในคืนนั้น สรุปได้ว่า เห็ดนั้นไม่มีพิษ พอผลการทดลองแบบเสี่ยงนิดๆ ออกมาว่าเห็ดกินได้ ขบวนการหาเห็ดก็เกิดขึ้นเรื่อยมา จากวันนั้นถึงวันนี้นักศึกษาไทยก็ยังไร้คูแข่ง เพราะแขกกินเห็ดไม่เป็น

พอเห็นนักศึกษาไทยถือเป้สะพายพร้อมจักรยานคู่ใจปั่นเข้าไปไหนป่า แค่นี้ก็ทำให้สาวๆ ในคอลเล็จงงเป็นไก่ตาแตก ยิ่งเห็นนักศึกษาไทยเก็บเห็ดด้วยยิ่งทวีคุณความงงเข้าไปใหญ่ บางคนถึงกับเก็บความสงสัยไม่ไหว จำต้องเดินเข้าไปถาม “What do you do with the mushrooms?”

พวกคุณจะทำยังไงกับเห็ดเหล่านี้ล่ะจ๊ะ?” 

ถ้าจะตอบว่าเอาไปแกงกินก็ดูจะไม่เท่ห์ เดี๋ยวสาวๆ จะหาว่านักศึกษาไทยอดอยาก เลยตอบแบบมีเหลี่ยมนิดๆ

“We’ll worship our god tonight”

พวกผมจะเอาไปบูชาพระเจ้าคืนนี้จ้า

ได้ผลเกินคาด พวกเธอเชื่อสนิทใจ....

หมายเลขบันทึก: 97852เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจอยากได้เชื้อเห็ดชนิดนี้มากค่ะ ไม่ทราบว่ามันออกเดือนไหนหรือคะ

ไม่ทราบว่าเอาไปทำเมนูอะไรกินคะถึงได้อร่อยนัก พออ่านแล้วก็อยากลองชิมบ้างคะ

ปกติก็สนใจแต่เรื่องเห็ดอยู่แล้วค่ะ กรุณาตอบทางอีเมลล์ด้วยนะคะ เพราะสนใจอยากได้เชื้อเห็ดมากๆค่ะ [email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 

เห็ดที่ว่านะ ออกเดือนพฤศจิกายน โดยประมาณ และฝนต้องตกติดต่อกันอย่างน้อยประมาณ อาทิตย์ (หน้าฝนที่เชนไน เริ่มเดือน ตุลาคมถึงธันวา ก็หมดฝนแล้ว ตกที่เป็น อาทิตย์ จนน้ำท่วม) เชื้อเห็น คงหาไม่ได้ ขนาดเห็ดโคนบ้านเรายังเพลาะไม่ได้ เลย อยากได้ ต้องบินมาเมืองเชนไน อินเดีย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท