การเขียนผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ


"การรู้จริง รู้จัก และรู้ใจ"
         

ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังการบรรยายจาก  รองศาสตราจารย์ทิพย์สุเนตร  อนัมบุตร    ในหัวข้อ   การเขียนผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ  อาจารย์ได้นำเสนอเทคนิคง่ายๆ 3 ประการ   คือ 

"การรู้จริง รู้จัก  รู้ใจ"

 “การรู้จริงไม่ได้มีความหมายเฉพาะความรู้อย่างแท้จริงเพียงประการเดียว ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการย่อมมีทั้งการนำเสนอข้อมูล ความรู้หรือความคิด ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละเรื่อง

                 ·                     ความสำคัญประการแรกของการรู้จริง คือ   การเลือกเรื่องที่จะนำเสนอ เรื่องที่ผู้เรียบเรียงสามารถนำเสนอได้ดี คือ เรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ เพื่อสามารถสรุปสารัตถะสำคัญของเรื่องได้

                 ·                     การกำหนดสารัตถะสำคัญของเรื่อง (Theme)  นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้เรียบเรียงตั้งใจไว้ว่า เรื่องที่ตนต้องการเรียบเรียงจะนำเสนอสาระสำคัญที่สุดประการใด โดยมีข้อมูล ความรู้ หรือทัศนะเสริมเพื่อเพิ่มน้ำหนักแก่เรื่อง

                 ·                     การรวบรวมสาร เมื่อรวบรวมข้อมูล ความรู้ ความคิด ได้แล้วต้องนำมาจำแนก ลำดับความสัมพันธ์ของเรื่องที่จะนำเสนอ  สารใดเป็นประเด็นหลัก สารใดเป็นประเด็นรอง ตลอดจนสารใดมีความสำคัญน้อย หรือมาก เพื่อที่จะได้นำเสนอเรื่องที่มีความเป็นเอกภาพและสัมพันธภาพของผลงาน

          ·                     การตั้งชื่อเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจ มีความสำคัญมาก แม้จะกำหนดเรื่องไว้แล้ว เมื่อเรียบเรียงเนื้อหาสาระเรียบร้อยแล้ว น่าจะมีการทบทวนอีกครั้งว่ามีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียบเรียงมาหรือไม่

รู้จัก ผู้เรียบเรียงต้องรู้จัก

        ·                     รูปแบบ ของงานที่จะเรียบเรียงเป็นอย่างดี เกี่ยวกับรายละเอียดของลักษณะการนำเสนอ เนื้อหาตรงกับที่สถาบันกำหนดไว้หรือไม่    

                ·                     การใช้ภาษา เป็นการสื่อที่จะนำเสนอให้ปรากฏได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง การเรียบเรียงเนื้อหาที่กระชับรัดกุมจะทำให้เรื่องที่เรียบเรียงนั้นน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

          ·                     ท่วงทำนองการเขียน ควรใช้คำให้ตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อ การเรียบเรียงเข้าประโยคต้องถูกต้องตามหลักภาษา และมีการจัดสำดับข้อความที่สละสลวย

รู้ใจ ในการนำเสนอเนื้อหานั้นต้อง

          ·                     วิเคราะห์ผู้อ่าน ว่าเป็นบุคคลกลุ่มใด

          ·                     ความถูกต้อง เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องถูกต้องแก่ผู้รับสาร 

                 ·                     ความกระชับ ในเนื้อหาที่นำเสนอ

          ·                     การตรวจทาน  ความถูกต้องในเนื้อหา        

        สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านรับรู้ได้ว่าผู้เรียบเรียงใส่ใจในงานเขียนของตนมากเพียงไร 

หมายเลขบันทึก: 97719เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท