ผ้ามัดย้อม


แนวคิดหลัก ในการปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จได้จะต้องปฏิรูปครูผู้สอน กระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ คิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ชื่นชมผลงาน วิจารณ์งาน รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญต้องมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่คิดค้นกระบวนการต่างๆ ในการเรียนการสอนศิลปะนั้น มีกิจกรรมที่หลากหลายตามความสามารถ ความถนัดของผู้เรียน กิจกรรมมัดย้อมก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ คิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ ชื่นชมผลงาน วิจารณ์งาน รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ องค์ความรู้ ที่ผู้เรียนจะได้รับ คือ การมัดลาย การผสมสี การต้มเคี่ยวสี ความคิดสร้างสรรค์ คือ นำองค์ความรู้ที่ได้รับมาออกแบบบนลายผ้าตามความต้องการหรืออาจเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ออกแบบลายใหม่เพิ่มเติมเองเมื่อนำไปย้อมสีและแกะลายผ้าออกมาดูก็คือการชื่นชมผลงานเปรียบเทียบชิ้นงานกับเพื่อนวิจารณ์งานและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่ในกระบวนการโดยอัตโนมัติ มิต้องให้ผู้เรียนถือชิ้นงานออกมายืนพูดหน้าชั้นเหมือนที่เคยปฏิบัติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมัดลายผ้าและคิดลายใหม่ได้อย่างเป็นระบบ 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการผสมสีตามที่ต้องการได้ตามทฤษฎี 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ขอบข่ายเนื้อหา 1. การมัดลายผ้า 2. การผสมสี 3. การต้มเคี่ยวสี 4. การย้อม วิธีดำเนินการ 1. แจกกระดาษทิชชูแผ่นใหญ่ยางวงเล็กยางวงใหญ่พร้อมทั้งสาธิตการสร้างลาย 2. มัดทิชชูและย้อมสีเย็นดูลายและข้อบกพร่องก่นลงมือปฏิบัติจริง 3. เมื่อฝึกทักษะจนเกิดความชำนาญแล้วจึงนำความรู้เรื่องลายมาออกแบบบนเสื้อหรือผ้า 4. เมื่อมัดลายแล้วนำมารวมกันให้เสมอเพื่อนำไปจุ่มสีเย็น 5. นำเสื้อที่ย้อมสีเย็นแล้วไปย้อมสีร้อนประมาณ 10 - 15 นาที 6. นำเสื้อที่ย้อมแล้วไปแก้มัดในน้ำซักให้สะอาด ( จนน้ำใส ) แล้วตากให้แห้ง ขั้นตอนการต้มสี สีมีสองประเภท คือ สีร้อน และ สีเย็น สีเย็น ( สำหรับย้อมลาย ) นำสี 1 ช้อนโต๊ะใส่ในกระป๋องเทน้ำเดือดลงไปแล้วคนสีให้แตกตัว สีร้อน ( สำหรับย้อมพื้น ) ต้มน้ำ ครึ่ง ปีบให้เดือดเบาไฟใส่สีที่ต้องการประมาณ 1 ทัพพีคนสีให้แตกตัว ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15นาที ใส่เกลือป่น 1 ถุงเร่งไฟให้เดือดแล้วเบาไฟรอการย้อมผ้า หมายเหตุ ผ้าที่จะติดสีดีคือผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ 1. ปีบ 7. เกลือ 2. กะละมัง 8. ยางวงเล็ก , ยางวงใหญ่ 3. ถังน้ำ 9. ทิชชูแผ่นใหญ่ 4. กระป๋องน้ำแข็ง 10. สีย้อมร้อน , สีย้อมเย็น 5. ไม้คนสี 11. ช้อนโต๊ะ , ทัพพี 6. ไม้คีบผ้า 12. เชือกใช้ทำราวตากผ้า การวัดและประเมินผล ตารางการสังเกตพฤติกรรมและการตรวจชิ้นงาน รายการการประเมิน ระดับคุณภาพ ดีมาก ดี ปรับปรุง 1 ปฏิบัติตามขั้นตอน 2 การมัดดอกก่อนย้อม 3 ดอกหลังย้อม 4 ความคิดสร้างสรรค์ 5 วิจารณ์งานและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น คำแนะนำ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรม ให้สังเกตผู้เรียนว่าปฏิบัติได้ถูกขั้นตอนหรือไม่ จุดที่สำคัญ คือ ในเวลาที่ผู้เรียนแก้มัดเพื่อดูชิ้นงานของตนเองครั้งแรกให้ผู้สอนสังเกตการชื่นชมผลงานการเปรียบเทียบชิ้นงาน และการวิจารณ์งานผู้สอนไม่ควรเร่งเวลาในช่วงเวลานี้เพราะเป็นการหยุดความภาคภูมิใจหยุดจินตนาการซึ่งไม่เป็นผลดีในแง่ศิลปะทุกอย่างเป็นอัตโนมัติตามกระบวนการที่วางไว้โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องถือชิ้นงานออกไปยืนพูดหน้าชั้นแล้วครูผู้สอนก็ให้คะแนนการแสดงออก สำหรับครูผู้สอนนั้นควรเสริมแรงด้วยคำชมและให้กำลังใจ ไม่ควรตำหนิงานเลยแม้แต่ชิ้นเดียว

คำสำคัญ (Tags): #ชัยรัตน์
หมายเลขบันทึก: 97338เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้อง.....ชัยรัตน์

  • ครูอ้อยอ่านแล้ว...ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

พี่ตามมาค่ะ

ไม่รู้ว่าพลาดอ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างไร

ชัยรัตน์พี่ขอบคุณมากสำหรับการที่เรามาช่วยกันทำให้งานคุณธรรมฯสำเร็จด้วยดี

นำเทคนิการบริหารวิชาการของทุ่งคอกมาเล่าหน่ยนะคะ

จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท