จก...ผ้าจก...ผ้าจกละมันเป็นยังไง


"ชุมชนแห่งนี้ อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ มาโดยตลอด" โดยมากมักจะมีพ่อค้าแม่ค้าที่อื่นมาเหมา หรือซื้อไปขายต่อใน "ยี่ห่อ" อื่น

สำหรับการทำงานเมื่อวานก่อนพวกเราชาวค่าย เรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงได้เข้าร่วม ศึกษาภูมิปัญญา "การทอผ้าจก" ของชาวรางบัว ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งได้ทำการอ้างอิงจาก เว็บไซต์ภูมิปัญญาผ้าพื้นเมืองของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวโดยสรุปว่า 

"ผ้าจก เป็นผ้าที่ทอด้วยเทคนิคที่ทำให้ผ้าทอเกิดลวดลายโดยเพิ่ม เส้นพุ่งพิเศษทำโดยใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้วมือสอด นับด้ายเส้นยืนแล้วยกขึ้นสอดใส่ด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไป ทำให้เกิดลวดลายเฉพาะจุดหรือเป็นช่วง ๆ และทำให้สามารถ สลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะนิยมทอกันมากในกลุ่มเชื้อสายไทลาว ไทยวน และไทโยนก และนิยมทอหน้าแคบเพื่อนำไปต่อเชิงผ้าซิ่น จึงเรียกว่าซิ่นตีนจก"

อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านหลายท่าน อาจจะงุนงงกับลักษณะการทอของผ้าจกกับผ้าชนิดอื่นอยู่บ้าง โดยเฉพาะความสับสนระหว่างผ้าลายขิดกับผ้าลายจก ซึ่งกระผมใคร่ขอนำเสนอถึงจุดต่าง ดังนี้ครับ

ในส่วนแรก คือ เส้นด้ายที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นผ้าจก มีทั้งที่ทอด้วยฝ้ายและทอด้วยไหม โดยอาจใช้ฝ้ายเป็นเส้นยืนแล้วมีเส้นไหมเป็นเส้นพุ่ง เป็นต้น ซึ่งเส้นต่างๆเหล่านี้จะสานสลัีบกันจนกลายมาเป็นดอกดวงลวดลายที่งดงาม

ในส่วนต่อมาจะเป็นโทนสี ผ้าจกจะมี "แนวสี" เป็นไปในทิศทางเดียกันหมด เช่น สีของเส้นพุ่งเป็นสีฟ้า สีของดอกและลวดลายอื่นๆ ก็จะสอดรับกันเป็นแนวสีน้ำเงิน เป็นต้น

ในส่วนสุดท้าย คือ ความแพรวพราวของลวดลายผ้าจก เนื่องจากความวิจิตรของลายผ้าจก เกิดจากการสานดายเส้นพุ่งสอดลงไปในด้านเส้นยืนที่ดึงไว้ทุกอย่างทำด้วยมือ และพลิกแพลงตามความสามารถในการสร้างสรรค์ลวดลายของผู้ทอ ทำให้เกิดความหลากหลายของลายผ้า และความพิสดารในโทนสีของเส้นด้าย นับเป็นความโดดเด่นของผ้าจกที่สืบทอดต่อๆ กันมานับร้อยปี ของชุมชนบ้านรางบัวแห่งนี้

อย่างไรก็ตาม ผ้าจกก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เนื่องจากเป็นงานฝีมือ การทักทอต้องค่อยๆ ดึงด้ายเส้นยืนและสานด้านเส้นพุ่ง เรียงร้อยเรื่อยไปทีละเส้น ทีละเส้น งานฝีมือที่ต้องใช้ความมุมานะ อดทน ใช้ความเพียรพยายาม สั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย จึงมีผลผลิตออกมาไม่มาก อย่างเก่งก็สามารถทำได้แค่เพียงเดือนละ ๑ ผืน เท่านั้น สนนราคาก็ตามความประณีตของงาน ตั้งแต่ผืนละ ๑,๐๐๐ บาท จนถึง ๘,๐๐๐ บาทครับ

เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่กระผมได้เรียนรู้จากการศึกษาระบบการผลิตและจำหน่ายผ้าจก รางบัว ของกลุ่มแม่บ้านตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง ราชบุรี ในครั้งนี้ คือ กระผมยังพบเห็นจุดอ่อนในด้านการตลาด เนื่องจากชุมชนก็มีระบบการผลิตแบบตามมีตามเกิด ไม่มีใครรู้เรื่องการทำตลาดมากนัก จึงทำให้สินค้าคุณภาพสูงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยมากมักจะมีพ่อค้าแม่ค้าที่อื่นมาเหมา หรือซื้อไปขายต่อใน "ยี่ห่อ" อื่น จนอาจกล่าวได้ว่า

"ชุมชนแห่งนี้ อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ มาโดยตลอด"

กระผมอยากจะขอฝากให้ผู้อ่านทุกท่าน หากมีโอกาสก็สามารถแวะมาที่กลุ่มแม่บ้านรางบัวได้ (อยู่ติดกับบริเวณวัดรางบัว ตรข้ามโรงเรียนชุมชนวัดรางบัว) มาช่วยกันอุดหนุนพวกเธอ เพราะกลุ่มของพวกเธอมีการกระจายรายได้กลับสู่สมาชิกอย่างชัดเจน รวทั้งสินค้าของพวกเธอ ก็ล้วนแต่มีคุณภาพ ประณีต วิจิตร งดงาม จริงๆครับ

ขอบคุณครับ 

คำสำคัญ (Tags): #ผ้าจก#รางบัว
หมายเลขบันทึก: 97205เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ผ้าจกของราชบุรี ราคาแพงไหมคะ
  • สวยงามอย่างไร
  • อยากดูรูปจัง
  • ชอบผ้าไหมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท