สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเด็กนิสิต


สวัสดีค่า วันนี้อยากเล่าสิ่งที่ได้ยินมาให้ฟังกันคะ

เอ! ไม่ทราบว่าทุกท่านเคยอ่านหนังสือเล่มนี้กันไหมคะ

เราจะข้ามเวลามาพบกัน

Only Love Is Real

เราจะข้ามเวลามาพบกัน

           ทุกเรื่องราว ทุกถ้อยคำ ทุกแนวความคิดที่ ดร.ไบรอัน แอล.ไวส์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเมาท์ไซไน รัฐไมอามี่ ถ่ายทอดไว้ในหนังสือเล่มนี้คือคำตอบของสิ่งที่เราครุ่นคิดมาตลอดการเดินทางข้ามเวลานับศตวรรษกลับมาพบกันของเอลิซาเบธและเปโดร หนุ่มสาวผู้ไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้ากัน และมีชีวิตอยู่คนละประเทศ คนละวัฒนธรรม หากโชคชะตากลับทำให้เขาได้มาพบกันและได้ร่วมชีวิตกันอีกครั้งในชาตินี้  ด้วย

การบำบัดทางจิต Phychotherapy โดยใช้วิธีสะกดจิตเพื่อย้อนอดีตชาติ 


          ดร.ไบรอัน แอล.ไวส์ เป็นคนแรกที่ค้นพบว่าในหลายๆชาติภพที่ผ่านมา เขาทั้งสองเคยได้พบ ได้รักและพลัดพรากจากกันมาไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ ดร.ไบรอัน แอล.ไวส์ รู้ว่าคนทั้งคู่กำลังค้นหากันและกันแต่กลับไม่สามารถช่วยเหลือให้ทั้งคู่จำกันได้ความพยายามของ ดร.ไบรอัน แอล.ไวส์ ไม่อาจเอาชนะพรหมลิขิตที่ขีดเส้นชีวิตของคนทั้งสองไว้ ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ต้องดำเนินไปตามกระแสแห่งโชคชะตา 

          หนังสือเล่มนี้เปรียบได้กับประตูที่ทำให้ผู้เขียนบันทึกหันมาอ่านหนังสือคะ เป็นเล่มแรกๆ ที่จุดประกายการชอบอ่านเรื่องราว เนื้อหาที่แปลก แตกต่าง ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน

         ทุกท่านที่ไม่เคยอ่านแต่พออ่านข้อความข้างต้นแล้วอาจรู้สึกว่า เอ! ก็เป็นนิยายดีๆนี่เอง แต่อยากบอกคะว่าเป็นเรื่องจริงที่มีการบันทึกไว้คะ เรื่องโชคชะตา พรหมลิขิต คู่แท้ (Soul mate) อื่นๆ อีกหลายอย่างในหนังสือเล่มนี้ สำหรับผู้ที่อยากอ่านเรื่องราวซึ้งกินใจ น้ำตาหยด ก็เล่มนี้เลยคะ

       แต่ที่อยากพูดถึงกลับเป็น

การบำบัดทางจิต Phychotherapy โดยใช้วิธีสะกดจิตเพื่อย้อนอดีตชาติ 

          ใช่คะ เป็นการบำบัดจิตอย่างหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยถูกสะกดจิต แล้วย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ในอดีตที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาจนถึงชีวิตปัจจุบันของผู้ป่วย จากที่เคยอ่านและพอจะจำได้ เมื่อผู้ป่วยย้อนกลับไปยังอดีต (จากการถูกสะกดจิต) ที่อาจเป็นต้นต่อของปัญหา จิตแพทย์จะออกคำสั่งให้ผู้ป่วยมองไปที่เหตุการณ์นั้นๆ โดยตัวผู้ป่วยมองดูเสมือนดูหนังที่ตัวเองเป็นผู้แสดงเอง (ถอยห่างออกมาไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำอีกต่อไป) และเมื่อผู้ป่วยพบและเจอเรื่องราวที่เป็นต้นต่อแล้ว อาการหรือสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ในปัจจุบันจะหายไป !!!!!

          ตรงนี้แหละคะที่ผู้เขียนบันทึกงงนักงงหนาว่า "อาการมันจะหาย จะดีขึ้นได้อย่างไร แค่มองเห็นอดีตที่เจ็บปวดเนี้ยนะ" คำถามนี้ค้างคาอยู่ในใจมานานแล้วคะ เคยลองถามคนอื่นๆ ดู ก็ยังไม่รู้สึกกระจ่างในใจสักเท่าไร ก็ติดและเก็บไว้รอถามผู้ที่น่าจะรู้ (ที่เป็นใครก็ยังไม่ทราบคะ................)

          พอดีกับเมื่อวันก่อนได้พูดคุยกับนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในคาบเรียนวิชาเลือกเสริมประสบการณ์ทางทันตกรรม ของสาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ซึ่งเป็นวันแรกในการเข้าห้อง คาบแรกวางแพลนกันไว้ว่าจะทำกิจกรรมให้นิสิตเริ่มฝึกการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสื่อสาร คือ การฟัง  (การฟังอย่างตั้งใจ การฟังโดยไม่ตัดสิน) โดยตอนแรกของการทำกิจกรรมก็ว่าจะให้ทุกคนเปิดใจ แสดงตัวตนที่ตัวเองเป็น เพื่อให้เกิดการเชื่อใจและพร้อมที่จะบอกเล่าเรื่องราว โดยทั้งตัวนิสิตและอาจารย์ก็จะเล่าออกมา

          ตรงนี้แหละคะ ที่ทำให้ผู้เขียนบันทึกได้มุมมองความคิดบางอย่างจากการฟังเรื่องราวที่นิสิตเล่าออกมา นิสิตคนหนึ่งได้ผ่านประสบการณ์บางอย่างในชีวิตที่น่ากลัวและน่าจะฝังจิตฝังใจเค้าไปตลอด (ผู้เขียนแค่ได้ฟังยังรู้สึกหวาดผวาเลยคะ) เค้าเล่าต่อด้วยคะว่าเค้าไม่ร้องไห้เลยทั้งขณะที่เกิดเหตุการณ์หรือเมื่อมองย้อนกลับไปยังเหตุการณ์นั้น แต่เค้าฝันร้าย นอนผวา อยู่เป็นปี การหยอกล้อกันเล่นตามประสาเด็กบางอย่างของเพื่อนก็จะทำให้เค้าผวาและตกใจอย่างแรง และเค้ายังเล่าด้วยว่าไม่เคยเล่าเรื่องราวนี้ให้เพื่อนๆฟัง เพราะ เมื่อเวลาเล่าแล้วภาพหรือความรู้สึกขณะเกิดเหตุการณ์นั้นจะกลับมาหลอกหลอนและย้ำเตือนเค้าอีก และนิสิตก็ยังเล่าต่อไปว่า แต่เมื่อเวลาผ่านมานานเข้า และ ตัวนิสิตเองก็ได้ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์นั้น มันกลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้นิสิตคนนั้นรู้ว่า เค้าควรจะดำรงชีวิตอย่างไร จะมีแนวคิดในการเดินต่อไปข้างหน้าแบบไหน รู้ว่าชีวิตที่ดำรงอยู่เพื่ออะไร 

          สิ่งที่ได้ฟังจากน้องนิสิตเหมือนตอบคำถามที่คั่งค้างในใจของผู้เขียนบันทึกอย่างจังคะ (อาจจะไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็นในหลักวิชาการนะคะ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้าสิ่งที่ตัวเองได้มันคือคำตอบที่เปิดความคิดบางอย่างทั้งในหัวใจและในสมองแล้ว เท่านั้นก็เพียงพอคะ)

           การมองย้อนกลับไปเห็นภาพในอดีตอาจไม่ใช่คำตอบของปัญหา แต่การย้อนกลับไปเพื่อเรียนรู้ ยอมรับ และเอามันกลับมาเป็นบทเรียน มาเป็นแนวทางที่เราจะก้าวเดินต่อไป ต่างหากที่น่าจะเป็นคำตอบ และต้องเป็นตัวเราเองอีกเช่นกันที่จะต้องกล้าเผชิญ กล้าที่จะยอมรับ และที่สำคัญที่สุดคือการกล้าที่จะปล่อยมันไป ไม่ยึดสิ่งนั้นมาไว้เป็นภาระให้กับชีวิต (เหมือนปล่อยของที่ไม่มีประโยชน์ที่บางครั้งเราก็คิดไปเองว่า สักวันเราคงจะได้ใช้มัน ทั้งๆที่สิ่งนั้นมันทั้งชำรุด และเสียหายจนก่อให้เกิดโทษได้แล้ว แต่ด้วยความเสียดายหรืออะไรก็แล้วแต่ทำให้เราสู้อุตสาห์เก็บมันไว้ในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดของชีวิต)

          เขียนมาเสียยืดยาว สิ่งที่อยากบอกอีกอย่างหนึ่งคะ คือว่า ทั้งหมดที่ตัวผู้เขียนได้เรียนรู้มาจาก "นิสิต" (นิสิตของเราเอง...) ต้องยอมรับคะว่าชีวิตไม่ว่าจะเป็นของใครก็เป็นครูให้กับเราได้

          รู้สึกขอบใจน้องนิสิตคนนี้มากๆ ที่แบ่งปันเรื่องราว ที่ทำให้อาจารย์คนนี้ได้เรียนรู้และเข้าใจอะไรได้มากขึ้นคะ

          อาจารย์รุ่นพี่ท่านหนึ่งพูดไว้น่าสนใจคะว่า ด้วยวัยของอาจารย์เค้า เค้ามองน้องนิสิตว่าวันๆ น้องๆ เค้าคงไม่คิดอะไร ใช้ชีวิตผ่านไปวันๆ ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น แต่ในความจริงจากที่ ได้ฟัง เรื่องเล่าจากน้องนิสิต ทำให้มุมมองของอาจารย์รุ่นพี่ท่านนั้นที่มีต่อนิสิตเปลี่ยนไปอีกแบบหนึ่งเลยคะ 

ชีวิตทุกคนมีคุณค่าและมีเรื่องราวด้วยกันทุกคนคะ

          "ถ้าทุกวันนี้คนเราในสังคม ฟัง กันอย่างเปิดใจและพร้อมที่จะฟังจริงๆ สังคมเราคงจะดีขึ้นกว่านี้อีกเยอะเลยว่าไหมคะ......."

หมายเหตุ : เรื่องราวของน้องนิสิตที่ได้เขียนไว้ในบันทึกนี้ได้รับอนุญาตจากตัวน้องนิสิตคนนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วคะ

หมายเลขบันทึก: 97089เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
ถึงคุณ The Kop คะ ว่ากลับมาเขียนเรื่องราวแล้วนะคะ (แม้จะหายไปนานสักหน่อย พอดีแรงบันดาลใจกลับมาบางส่วนคะ) ถ้าได้แวะเวียนเข้ามาอ่านช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณที่ตามมาอ่านคะ

ตอนที่เราเป็น นิสิต พวกเราก็คิด แล้วก็ทำ ณ.ตอนนั้นอย่างเต็มที่ แต่เมื่อเราโตขึ้นมา ผ่านอะไรมากขึ้น เจอความลำบากมากขึ้น จนเห็นเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ลืมไปว่าสำหรับเราตอนนั้นมันเป็นเรื่องใหญ่ที่ใหญ่มากๆ จนบางครั้งไม่รู้จะทำอย่างไรกับชีวิต

เห็นด้วยที่ทุกชีวิต ทุกคนมีคุณค่าครับ และอยากให้ทุกๆ คนเห็นคุณค่าของชีวิตคนอื่น ถ้าเราอยู่สูงแล้วเรานอบน้อมจะมีแต่คนรัก แต่ถ้าเราเพิ่งก้าวแต่กลับไม่มองเห็นหัวคนอื่น คนนั้นเป็นคนที่น่ารังเกียจ

ขอบคุณน้องแนนสำหรับเรื่องดีๆ ครับ :-)

  • ดีมากครับ สำหรับประเด็นของการเรียนรู้
  • โชคดีครับ สำหรับประสบการณ์ ในการได้ฉุกคิด และได้รำลึกถึงความรู้สึกในการรับรู้
  • น่าสนใจครับ
  • มุมมองในเรื่องการ รับฟัง โดยใช้ใจฟังเนื้อหาสาระของคนที่กำลังอธิบาย เป็นสิ่งที่ต้องใจจริงๆครับ ใช้ทั้งความรู้สึกที่ยินดีในสิ่งที่เขาพูด และใช้ความไว้วางใจ เชื่อมั่น และลำดับความสิ่งที่เขากำลังถ่ายทอด
  • ดีครับ สำหรับโอกาสในการได้ฉุกคิด
  • นำเสนอประเด็นในการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ต่อนะครับ
  • จะติดตามอ่านครับ

ขอขอบคุณทั้ง อ.ต้อม และ คุณ Kati คะ สำหรับข้อคิดเพิ่มเติมที่น่าสนใจ และขอบคุณอีกครั้งที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นนะคะ ยินดีและดีใจมากๆคะ

  • มองอดีต เพื่อปรับปรุงปัจจุบัน เพื่อป้องกันอณาคต
ขอบคุณที่น้องแนนนำเรื่องนี้มาเขียน เห็นด้วยว่าทุกชีวิตมีคุณค่าในตัวเอง เพียงแต่ว่าจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความผิดพลาดเดิมมาปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เผชิญได้มากแค่ไหน ทุกวันนี้ยังคิดเสมอว่าในบางครั้งนิสิตก็เป็นครูสอนเราเหมือนกัน ซึ่งในขณะนั้นเราสวมหัวโขนเป็นศิษย์ และนิสิตสวมหัวโขนเป็นอาจารย์ จริงๆแล้วเราต่างสวมหัวโขนด้วยกันทั้งสิ้น
ขอบคุณทั้งสองท่านมากนะคะ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นกันเข้ามา

ดีใจ ที่ได้อ่านเรื่องเล่าดีๆอีก

ไม่ได้แวะเข้ามาซะนาน Tipมีเรื่องเล่าดีๆเยอะเลยนะ

สำหรับบทความข้างบน เราชอบตรง การฟังอย่างไม่ตัดสินนะ เราว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะเข้าใจอะไรต่างๆที่เราฟัง หรือเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูด โดยที่ไม่เอาตัวเราเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะทำให้เราได้อะไรดีๆมากมาย

อ้อ ลืมใส่ชื่อ  ข้อความข้างบนเราเอง The Kop

ถึงคุณ The Kop ขอบคุณคะที่แวะมาเยี่ยมกันนะคะ

พอดีเมื่อวันที่ 7-11 พ.ค. ที่เพิ่งผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ "อบรมกระบวนกรเรื่องสุนทรียสนทนา" กับภาควิชาทันตกรรมชุมชน ม.ข. คะ ท่านวิทยากรได้ฝึกในเรื่องการฟังอย่างไม่ตัดสิน การฟังอย่างตั้งใจ การเรียนรู้จักตนเอง การก้าวข้ามกำแพงบางอย่างในชีวิต และการรู้จักเข้าใจในตนเองและผู้อื่น คะ

ประเด็นหนึ่งที่เหล่าคณาจารย์ได้พูดคุยกันอย่างมากในการประชุมในครั้งนั้น คือ เรื่อง "การฟังอย่างไม่ตัดสิน" คะ ยากนะคะฟังโดยไม่ตัดสิน เพราะ เพียงแค่เราเห็นคู่สนทนาความคิดเราก็ทำงานแล้วคะ การตัดสินก็จะเกิดขึ้นมาทันที

สำหรับตัวเองนะคะ จะพยายามฝึกและพัฒนา เรื่อง "การฟัง" ต่อไปเรื่อยๆคะ

อ้อ!! ถ้าผู้อ่านบันทึกนี้สนใจเรื่องเหล่านี้ลองเข้า http://www.wongnamcha.com/ กันดูนะคะ น่าสนใจดีคะ

ปล.ต้องขอขอบคุณคณาจารย์และภาควิชาทันตกรรมชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างสูงคะ ในความกรุณาและโอกาสในการเรียนรู้ที่หยิบยื่นให้คะ ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท