ทำไมผมต้องทำประกันชีวิต ?


ทำไมผมต้องทำประกันชีวิต ?

หลังจากที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับการประกันชีวิตไปแล้ว 2 ครั้ง ที่ http://gotoknow.org/blog/PrimareCare/84603 และ http://gotoknow.org/blog/PrimareCare/91499 ทำให้ผมสนใจที่จะศึกษาระบบการประกันชีวิตมากขึ้น พร้อมทั้งหาข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อวิเคราะห์หาคำตอบว่าภายใต้ระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน ผมมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และมีเหตุผลอะไรที่จะสนับสนุนการทำประกันชีวิตบ้าง ซึ่งอย่างน้อยที่สุดเพื่อนที่แสนดีของผม 2 คน กำลังรอคำตอบเพื่อให้ผมเป็นลูกค้าของเขาในเร็ววัน

อยากแลกเปลี่ยนและรับข้อเสนอแนะจากทุกท่านครับ

ด้วยรัก

คำสำคัญ (Tags): #ประกันชีวิต
หมายเลขบันทึก: 97048เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2014 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

รอบคอบมากครับ

ถามจากเพื่อนดีที่สุดครับ แต่เพื่อนต้องตอบว่าดีแน่นอนครับ เพราะเป็นคนขาย แต่อย่างน้อยก็ยังน่าเชื่อถือกว่าคนที่เราไม่รู้จัก

ประเภทเดินขายตามสำนักงานที่ทำงานก็มีเยอะครับ ขายได้แล้วหายเข้ากลีบเมฆไปเลย อย่าคาดหวังกับบริการหลังการขายเลย

ปล.ไม่ใช่พนักงานขายส่วนมากนะครับ บางคนเท่านั้น เพราะผมเคยเจอมาจริงๆครับ ผู้ที่มี service mind และจริงใจก็มีมากครับ

เพื่อนที่แสนดีคนที่ 2

หวัดดีคะ
ก็เป็นตัวแทนขายประกันของ  บริษัท  อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี (ประกันชีวิต) จำกัด มหาชน หรือ AACP. คะ (ปล.ขอประชาสัมพันธ์ชื่อบริษัทหน่อยนะคะ ด้วยความภาคภูมิใจคะ)

พึ่งจะรู้จักกับนายประชาชนได้ประมาณ  2 อาทิตย์ โดยผ่านเพื่อนที่แสนดีคนที่ 1  ได้เจอกันแล้วคุยกันมันส์ม๊าก  ต่างคนต่างก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติมากที่ลูกค้าประกันแต่ละคน  ต้องมีความสงสัยในตัวเองว่า "ทำไม ?  เขาจึงต้องซื้อประกันชีวิต?"  และ "ประกันชีวิตทำแล้วมันจะดียังไง? คุ้มกับเราหรือปล่าว มีประโชน์มากน้อยแค่ไหนกัน...ฯลฯ"

จากที่เป็นตัวแทนขายประกันชีวิตมา ~ 5 ปี คิดว่าสิ่งที่คนเราจำเป็นต้องมีประกันชีวิตนั้น  สำคัญมากถึงมากที่สุด   บางคนที่ยังไม่เข้าใจ / ไม่เคยคุยกับตัวแทนขายประกัน / ยังไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับประกันชีวิตเลย  จะต้องสงสัยชัวร์ๆ คะ

อย่างนี้แนะนำให้รู้จักกับประกันชีวิตก่อนนะคะ  ว่ามีองค์ประกอบ  อะไร  อย่างไรบ้าง?

งั้นวันนี้  จะอธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับโครงสร้าง/ลักษณะประกันก่อนนะคะ

ประเภทของประกัน  มี 2 ประเภทคะ  คือ  ประกันชีวิต  และประกันภัย (รถ บ้าน ทรัพย์สิน/สิ่งที่ไม่มีชีวิต)

บริษัทประกันชีวิต  จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมการประกันภัย  กระทรวงพานิชย์  (คิดเอาเองว่า คล้ายกับเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการเลยคะ)

สินค้าที่จะขาย  คือ  สัญญาการรับประกันชีวิต  ซึ่งมีหลายประเภท  หลายแบบ  และก็แล้วแต่ว่า  บริษัทต่างๆ  จะทำรูปแบบไหนมาขาย   ซึ่งในการซื้อประกันชีวิตนั้น  สินค้าจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ ดังนี้คือ


1. สัญญาหลัก  คือ  สัญญาที่จะต้องซื้อก่อน  ซึ่งจะซื้อ หรือไม่ซื้ออนุสัญญาแนบก็ได้   สัญญาหลักนี้แยกออกเป็นแบบๆ ดังนี้

1.1  แบบประกันชีวิต   แบบนี้จะส่งเบี้ย (เงิน) ค่อนข้างถูก  และมีระยะเวลาการคุ้มครองที่ยาวนาน  เช่น  ครบอายุ 90 ปี /  60  ปี / 50  ปี  ฯลฯ  แล้วรับเงินคืน (ผลตอบแทน)   หรือพูดง่ายๆ คือ  ตายแล้วได้ตังค์  ตามที่คนเขาพูดๆ กันคะ    ซึ่งแบบนี้คนมีตังค์ เขาจะชอบทำกันมาก  เพราะจะเอาไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานคะ

1.2 แบบเก็บออมทรัพย์  แบบนี้จะเน้นที่ระยะเวลาส่งสั้น ไม่ยาวนานมาก  และลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะได้ใช้เงินเมื่อครบสัญญาคะ  เช่น  ส่งเบี้ย 5 ปีๆที่ 15 รับเงินคืน+ดอก+ปันผล ฯลฯ

2. อนุสัญญา  คือสัญญารับประกันที่เน้นทางด้าน

2.1 สุขภาพ / ค่าห้อง / ค่ารักษาพยาบาล  ทั้งแบบไปเช้าเย็นกลับ  หรือแบบที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
2.2 อุบัติเหตุ / ฆาตรกรรมจลาจน / ภัยภิบัติธรรมชาติ
2.3 ชดเชยรายได้จากการที่ไม่ได้ไปทำงานเนื่องมาจากเพราะว่า ได้รับการบาดเจ็บ  หรือการเจ็บป่วยไข้

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกเยอะคะ  ยังไงจะทยอยคุยให้ฟัง  วันนี้เอาแค่นี้ก่อน  

แต่ก็จะไม่ลืมพูดถึงสาเหตุที่  "ทำไมนายประชาชนถึงต้องทำประกันชีวิต"  อีกครั้งคะ   แล้วคอยอ่านนะคะ

วันนี้เดี๋ยวแค่นี้ก่อน  เพราะรายละเอียดมันเยอะ  คนอ่านจะงง   ก็อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะคะ  บ๊ายบายคะ

เพื่อนที่แสนดีคนที่ 2

ปล.คะ  นึกขึ้นมาได้ว่า   "หัวใจหลักสำคัญที่คนเรา  ทำไมต้องทำประกันชีวิต"  นั้น  ดิฉันคิดว่าที่สุดของที่สุดถึงความสำคัญและ เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ใครๆ ก็ไม่สามารถปฏิเสธมันได้  ก็คือ  "ความรักและความห่วงใย"  คะ   เพราะประเทศไทย  โดยหลักแล้วจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่  มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด / ชุมชน  

มีความเป็นห่วงเป็นใยกันอยู่เสมอๆ  นั่นก็คือ  มีความรักต่อบุคคลอื่นนั่นเอง

คะก็   "ความรัก" นี่แหละคะ  เป็นเหตุผลใหญ่ที่ดิฉันคิดว่าคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำประกันชีวิต   คนที่มีความรักเท่านั้น  ที่จะซื้อประกันชีวิตคะ  

และที่ดิฉัน  เป็นตัวแทนได้ยาวนานก็เพราะว่า  "ดิฉันรัก และเป็นห่วงคนรอบๆข้าง  ของดิฉันเสมอๆ   แม้มว่า  เพื่อนของดิฉัน/คนรอบๆข้างเองเขาจะยังไม่ซื้อประกัน เพียงเพราะยังไม่เข้าใจเหตุผล / ต้องการหาคำตอบอะไรซักอย่างที่โดนใจ / เห็นเราเป็นไอ้แมงสาบ  ก็ตาม   แต่ดิฉันก็จะพยายามต่อไปคะ  สู้สู้เสมอ

ส่วนใครงงงงง?  ที่ทำไมต้องเป็น  "ความรักและความห่วงใย"  เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังทีหลังนะคะ  บ๊ายบาย

ปล.ติดตามตอนต่อไปคะ  ขอบคุณมากคะ  

ชื่นชม เพื่อนที่แสนดีคนที่ 2 และอิจฉาคุณประชาชนครับ

ขอบคุณครับพี่แจ็คทื่ตามมาแวะเวียนและให้กำลังใจ

และขอบคุณมากครับสำหรับเพื่อนที่แสนดีของผม

ต้องยอมรับว่าจริงๆ ตอนแรกไม่ได้คิดอะไรมากกับการมีประกันชีวิตสักใบ เพราะอย่างน้อยก็มีหลักประกันทางด้าน "สุขภาพ" และการ "ออมทรัพย์" ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง แต่พอได้คุยกับเพื่อนที่แสนดีแล้ว ผมได้เรียนรู้อะไรบางอย่างในฐานะคนทำงานด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนของแนวคิดและปรัญชาของสุขภาพ ที่ครอบคลุมถึง ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่บางครั้งไม่อาจที่จะ "ซื้อได้" และไม่สามารถวัดทางการเงินได้

ประเด็นที่ 2 ที่ผมสนใจ คือ การเข้าถึงบริการทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งโดยหลักการรัฐในฐานะผู้บริหารต้องจัดระบบให้มีคุณภาพ เข้าถึง และเท่าเทียม ตามความเหมาะสมและจำเป็น จะด้วยวิธีการอะไรก็ตามแต่ ตรงนี้เองที่ผมสนใจระบบหลักประกันเป็นพิเศษมากขึ้น เพราะถ้าระบบรัฐสามารถตอบสนองหลักประกันตรงนี้ได้ อนุสัญญาที่ซื้อ ก็นับว่าเป็นบริการพิเศษ ทางด้านสุขภาพ? จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นในหัวผมอย่างที่บอกว่า

  • ถ้าผมได้รับบริการตามที่รัฐจัดให้แล้ว ผมจำเป็นมากน้อยเพียงให้ในการทำปะกันชีวิต (โดยซื้ออนุสัญญาด้านสุขภาพเพิ่ม)

  • หลักประกันสุขภาพที่รัฐจัดให้ ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นใช่หรือไม่ ? ถ้าคำตอบ คือ ใช่ สิ่ง ผมต้องทำ คือ เรียกร้องและเสนอแนะให้รัฐจัดให้มีคุณภาพ เข้าถึง และเท่าเทียมมากว่าขึ้น หรือ แนะนำให้ ประชาชน ซื้อประกันชีวิต และอนุสัญญาทางด้านสุขภาพเพิ่ม ??

  • คนที่ซื้อประกันฯ สามารถที่จะได้รับการรักษาที่ดีกว่า มีคุณภาพมากกว่า ใช่หรือไม่ ? ถ้าคำตอบ คือ ใช่ แสดงว่า สุขภาพน่าจะซื้อขายได้ตามนิยามใหม่ ???

ประเด็นต่อมาที่ผมคิดต่อ คือ อนุสัญญาด้านสุขภาพที่ว่านี้ ส่งผลหรือไม่ อย่างไร กับพฤติกรรมสุขภาพ และการเข้ารับการรักษาอย่างไม่จำเป็น ? ตรงนี้เพื่อนที่แสนดีอย่าพึ่งว่ากันนะจ๊ะ....เป็นมันสมมติฐานทางวิชาการที่ผมสงสัย เพราะ

  • ถ้าคนที่ซื้อเพราะเห็นว่ามีหลักประกันที่ดีอยู่แล้ว คงไม่ต้องส่งเสริมสุขภสพตัวเองมากมาย เพราะเจ็บป่วยมาก็มีคนดูแล ?
  • ถึงแม้เป็นโรคเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ เพราะมีสิทธิที่พึงเบิกได้ เพราะจ่ายเบี้ยไปแล้ว เป็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ เลยไปหาหมอ รพ.เอกชน ดีกว่าพักผ่อน นอน และรักษาด้วยตัวเองโดยไม่รับยา ?

อะไรประมาณนี้...ส่วนประเด็นของสัญญาหลัก ผมไม่มีข้อสงสัย เพราะเป็นหลักการทั่วไปของการคุ้มครองและการลงทุน แต่อาจจะมีประเด็นเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเดี๋ยวเอาไว้คุยกันต่อไป   

แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนที่แสนดีมา 1 ครั้ง และข้อมูลที่ให้วันนี้ ผมคิดว่าผมได้คำตอบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต้องขอบคุณมากๆ และคิดว่าผมคงให้คำตอบได้เร็วๆ นี้ว่าจะเลือกทำหรือไม่ทำประกันแบบไหนดี

ว่าแต่.....เช้านี้ได้ยินข่าวเสี่ยปักใต้ตัดนิ้วตัวเอง เพื่อเรียกค่าชดเชยจากประกันกว่า 16 ล้านบาท น่าสนใจทีเดียว ว่างๆ เล่าสู่กันฟังเพื่อสรุปบทเรียนด้านประกันด้วยนะจ๊ะ...เพื่อนที่แสนดี

ด้วยรัก 

เพื่อที่แสนดีคนที่ 2

สวัสดีคะ   นายประชาชน  และพี่แจ๊ค (ขอเรียกพี่นะคะ เพื่อให้การนับถือคะ อย่าว่ากันน๊าาาา)

ขอบคุณมากนะคะที่ได้ให้ข้อคิดเห็นต่างๆ  มากมาย เพิ่มเข้ามา  แต่ว่า นายประชาชน ฉันว่านะ คงจะต้องมีแค่เรา 3 คนนี่หละมั้ง ที่สนใจในเรื่องนี้อะนะ  5 5 5..

ก็เพราะประกันชีวิตนี้  ใครๆ เขาก็ไม่ค่อยสนใจกัน แม้นเพียงแต่เวลาตัวแทนไปขาย  พอเห็นหน้าก็เบือนหน้าหนี  พร้อมกับเบ้ปาก ก็มี (เคยเจอแต่ไม่บ่อยเท่าไหร่)   หรือแม้แต่แค่รู้ว่าเป็นประกันชีวิตแล้ว  ก็รีบตอบปฏิเสธทันที  เช่น  ซื้อแล้ว มีแล้ว ไม่มีตังค์ ถามเมียดูก่อน ยังไม่พร้อม หรือแม้แต่ผมเบิกได้ทุกอย่างแล้วผมต้องทำประกันชีวิตทำไม? ฯลฯ   ทั้งๆที่จริงๆ แล้วลูกค้าถ้าฟังตัวแทนพูด / อธิบายให้เข้าใจแล้ว  ลูกค้าเองก็กลัวที่จะต้องซื้อประกัน!  เพราะความจริงของชีวิตทุกคนที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า  "ทำไมตัวเองต้องซื้อประกันชีวิต" 

ก็วันนี้ขอตอบข้อคำถาม ของนายประชาชนก่อนแล้วกันนะคะ คือ 

1. "ประเด็นที่ 2 ที่ผมสนใจ คือ การเข้าถึงบริการทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
และ 
ถ้าผมได้รับบริการตามที่รัฐจัดให้แล้ว ผมจำเป็นมากน้อยเพียงใดในการทำปะกันชีวิต (โดยซื้ออนุสัญญาด้านสุขภาพเพิ่ม)"

ถูกต้องมากเลยคะที่นายประชาชนบอกว่า "โดยหลักการรัฐในฐานะผู้บริหารต้องจัดระบบให้มีคุณภาพ เข้าถึง และเท่าเทียม ตามความเหมาะสมและจำเป็น"  นั่นบงบอกว่า  รัฐบาลของเราต้องเร่งส่งเสริมให้มีการปรับปรุงเรื่องสุขภาพ  กันอย่างเร่งด่วน  ให้มีบริการที่ดี ทั้งความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร/อาคารสถานที่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์  รวมไปจนถึงบริการที่ดีสม่ำเสมอ

แต่เราส่วนมากก็จะสังเกตุเห็นว่า การบริการ ตลอดรวมจนถึงการรักษาพยาบาลนั้น  ปัจจุบันนี้ระดับคะแนนที่จะให้นั้นในส่วนของโรงพยาบาลรัฐบาลนั้น  ให้ที่ระดับ  ล่าง - ปานกลาง 

สังเกตุได้จาก ถ้าเป็นโรงพยาบาลใหญ่ๆในเขตตัวเมือง / กทม. เท่านั้นที่จะมีความพร้อมหลายๆ อย่าง  แต่โรงพยาบาล  ที่อยู่รอบนอก-บ้านนอก  ไม่ต่างอะไรกับอนามัยหมู่บ้าน? 

ดิฉันเคยพาคุณยาย  อายุ 85 ปีไปรับการตรวจรักษา (ขอบอกวาเบิกได้เพราะเป็นแม่ของข้าราชการระดับ C7, 9 และ 10) เนื่องจากมดลูกหย่อน และติดเชื้อ เคยพาไปที่รพ.ศูนย์ขอนแก่ (ไปตอนเช้าที่สุดตี 5 นั่งรอหมอมาตรวจอาการก่อน ประมาณ 9 โมงเช้า ได้รับการตรวจ เพราะอาการยังไม่หนักมาก) หมอบอกว่าให้รอดูอาการ โดยให้นอนทานยาแก้อักเสบ (พารา) + ให้น้ำเกลือเนื่องจากร่างกายอ่อนแอ เป็นเวลา 2 วัน แล้วก็อาการดีขึ้นหายไข้+หายอักเสบ  หมอให้กลับบ้าน+ยาบำรุงเลือด(เม็ดสีแดง)  มา 1 หอบใหญ่    

   ผ่านมาได้ประมาณ  2  เดือน  คุณยาย มดลูกก็ติดเชื้ออีกทีนี้อาการหนัก  จึงพาไปรพ.ศูนย์ขอนแก่นอีก (ขอบอกว่าเบิกค่าห้องได้ไม่มากนักได้ที่ห้อง 6 เตียง แต่ รพ.ห้องเต็มหมด  จากที่ห้อง 6 เตียงจำเป็นต้องนอน 10 เตียง)  นอนดูอาการได้ 1 วัน  เนื่องจากครอบครัวดิฉันค่อนข้างพอจะมีเงินนิดหน่อย  พวกลูกๆ ข้าราชการ จึงทำเรื่องย้ายไป  รพ.ติดม.ขอนแก่น (รัฐบาลอีกแล้ววว)  เพื่อที่หวังว่าเกิดอะไรขึ้น เผื่อมีการผ่าตัด รักษาครั้งใหญ่  จะได้เบิกได้!!!

ทีนี้  ได้ยามาหอบใหญ่เลย  นอนพัก 1 วันแล้วหมอก็ให้กลับบ้าน  พร้อมบอกว่า ที่มดลูกอักเสบเพราะ มันหย่อนออกมาข้างนอกเท่าไข่ห่าน  ถ้าจะรักษาก็คือต้องผ่าตัด เย็บปากมดลูกให้แคบลง  พร้อมกับแนะนำว่า  จะผ่าตัดที่รพ.นี้ก็ได้นะแต่ต้องรอ  2 ปี!!!!  เพราะหมอมีคิวยาว  หรือจะไม่ผ่าตัดก็ได้เพราะคุณยายแกแก่แล้ว  ผ่าตัดไปหมอกลัวจะไม่รอด  และก็ให้รักษาความสะอาดเอาก็แล้วกัน  พร้อมกับให้ยามาอีกห่อใหญ่ เบอเริ่มเลยคราวนี้  ให้กินที  3 เดือนหมด แล้วค่อยให้ไปหาหมอตรวจดูอาการอีกที 

คุณยายก็เคยคุยกันเล่นๆ กับดิฉันเหมือนกันว่า  "ยายไม่ยากกินข้าวแล้ว เพราะแค่กินยา  ก่อนอาหาร + หลังอาหาร (ประมาณ 20 เม็ด) เนี๊ยะ  มันก็อิ่มแล้ว"  5 5 5   ก็พากันหัวเราะสนุกสนาน    แต่เนื่องด้วยคนแก่แถวบ้านนอก  ไม่ชอบอยู่นิ่ง  ลูกๆ หลานๆก็บอกไม่ให้ไปทำอะไรตากแดดตากฝน  คุณยายก็ยังแอบไป (ขอบอกว่า แอบไปจริงๆนะ) เพราะแกบอกว่าอยู่เฉยๆ ไม่ได้  "มันบ่เป้นอันยู่"  

สรุปแล้วจากวันนั้นผ่านมาได้  2  อาทิตย์กว่า  คุณยายอยู่ดีๆ  ก็เกิดตัวร้อนเป็นไข้  สั่น หนาวปนกันไป  น้าๆ จึงพากันส่งรพ.ใกล้บ้าน คือ รพ.ประจำอำเภอ  ขอโทษจะบอกให้  เหมือนเดิมคือให้น้ำเกลือ  ดูอาการ พร้อมกับกินยาชุดเดิมที่หมอจาก รพ.ในเมืองให้มา   นอนไปได้ 4-5 วัน อาการไม่ดีขึ้น  ซ้ำร้ายตัวร้อน  ไข้ไม่ลดลง  ถามหมอ  หมอก็บอกให้เรานำผู้ป่วยส่งรพ.ในเมืองขอนแก่นอีกครั้ง  (ไม่มี รถพยาบาลนะคะขอบอก  ต้องเอารถยนต์ตัวเองไปคะ)

ทีนี้ด้วย  พ่อ-แม่ และลูกๆ ทุกคนด้วยพอมีฐานะบ้างจึงมาคุยกัน  ว่าถ้าอาการแบบนี้ ไปหาหมอที่รพ.เดิมก็คงไม่แตกต่างอะไรกันมากนัก  เราอย่ามัวไปสนใจเรื่องเบิกได้ / เบิกไม่ได้กันอยู่เลย  เพราะแม่ของเราอาการไม่ดีขึ้นเลย  เราต้องการหมอที่ดีที่สุด เก่งที่สุดและยาที่จะรักษาที่ดีที่สุด  กับรพ.ที่ดูน่าเชื่อถือที่สุด  จะดีกว่า   เพราะรู้สึกจะรำคาน กับรพ.ของรัฐเต็มทีแล้ว

จึงตัดสินใจ  ส่ง รพ.ของเอกชน รพ.ราชพฤกษ์   พอไปแล้ว อย่าว่า ยกยอปอปัน  รพ.เขาเลยนะ  พอเข้ารพ.ปึบ  มีคนเข็นรถนั่งผู้ป่วยมารอปับ  คุณยายนั่งรถเข็นเข้าไปรอประมาณ 15 นาที  หมอเชิญเข้าไปตรวจร่างกายใหม่ เอกซ์เรย์  ตรวจอย่างดีว่างั้นเถอะ ทั่วทั้งตัวเลย (ถึงแม้ มันจะไม่เกี่ยวกับอาการมดลูกหย่อนก็ตาม)  เชื่อไหมว่า ฟิมล์เอกซ์เรย์ตรงมดลูกต้องถ่ายใหม่  เพราะว่าจากรพ.ของรัฐอันเดิม มันไม่ชัดเจน????    ดิฉันงงงง?  มาก  เอ๊ะ...มันไม่เหมือนกันเหรอ

ซักพักนอนให้น้ำเกลือบนห้องเดี๋ยว มีที่นอนของญาติ มีห้องน้ำในตัว (ไม่รู้สึกยุ่งวุ่นวายเหมือนรพ.รัฐ)  แอร์เย็นฉ่ำชื่นใจ  หายเครียดเลย  ความรู้สึกของญาติๆ แบบว่า  รู้สึกดีอะ  ไม่เป็นห่วงคนป่วยเลย   คุณยายเองก็รู้สึกปลอดโปร่ง  แกไม่เครียดเพราะ แก่ไม่ชอบคนเยอะแยะ  และไม่ชอบไปรพ.  พอตอนเย็นหมอใหญ่มา (ขอบอกว่าเป็นหมอเฉพาะโรคนะคะ  และเป็นหมอจากรพ.ของรัฐ รพ.นั่นแหละที่เราไปครั้งก่อน แต่เราไม่เจอหมอคนนี้  เจอแต่หมอเล็ก)  เขาพูดดีมากเลย  และแนะนำว่าให้รีบผ่าตัด (ถ้าต้องการผ่า) พร้อมกับขอดูอาการ อีก 3 วัน ถ้าอาการไข้ลดลง จะผ่าตัดให้ทันที  ลูกๆทุกคนดีใจ  พร้อมกับบอกว่า  ให้รีบผ่าตัดเลย  อะไรที่มันทำให้คุณยายดีขึ้น  ให้ทำได้เลย ไม่ต้องห่วง  หมอบอก  งั้นผมจะจองห้องผ่าตัดให้ยังไงอีก 3 วันผ่าตัดได้เลย   สรุปแล้วคุณยายก็ได้ผ่าตัด เสร็จเรียบร้อย  ในระหว่างที่นอนพักรักษาตัว พยาบาลดีมากเลย  มีมาอาบน้ำ เช็ดตัวให้คุณยาย ถ้าขี้เกียจพาคุณยายเข้าห้องน้ำก็กดอ๊อดเรียกก็ได้   มีหนังสือพิมพ์รายวันให้อ่านด้วยนะ  มีทีวีดู  คือมันดูดีอะ  เหมือนอยู่โรงแรมมากกว่ารพ.  (ซึ่งที่พูดเรื่องบริการเมื่อกี่นี้  รพ.ของรัฐเอง  หาย๊ากมาก) 

สรุปแล้ว  คุณยายก็ปลอดภัย  กลับบ้านได้  นอน รพ.ราชพฤกษ์ไปเกือบเดือน  มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ   130,000  บาท  และสามารถเบิกคืนได้ในฐานะแม่ของข้าราชการระดับสูง  อีก  8,000  บาท (ค่าห้องพัก)    ก็ไม่เป็นไรคะ  น้าๆ ป้าๆ ลูกหลานทุกคนช่วยกันออก+ เงินเก็บอีกนิดหน่อย  ก็โอเคคะ  ขอให้คุณยายหายก็พอ......

นี่แหละคะวีรกรรมที่พาคนป่วย  คนที่เรารัก เราห่วงใยคนหนึ่งไปหาหมอ   "ถามจริงๆ เถอะคะ  ถ้าเป็นคุณ  แล้วคุณจะทำอย่างที่พวกดิฉันทำไหม? "

และถ้า จะให้เกี่ยวกับประกันจริงๆ ก็ขอบอกว่า  ถ้าคนป่วยคนนั้น  ไม่ใช่ยาย  แต่เป็นตัวเรา  ซึ่งขอบอกเลยว่าให้เบิกได้ด้วย  แต่ด้วยบริการ สถานพยาบาล ความพร้อม เรื่องหมอ ยา ห้องพัก ที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ แล้วหละก็  ดิฉันว่า  ถ้ามีทางเลือกที่ดีกว่า  ทุกคนก็ต้องการทางเลือกนั้น  จริงไหมคะ?   

แต่เป็นไปได้ไหม?  แทนที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความต้องการ  เช่น  ยาที่ดีที่สุด  หมอที่เก่งที่สุด ห้องพักที่ดูไม่พุกพร่าน สถานที่ที่สะอาดสะอ้าน  ห้องน้ำที่ดูเหมือนกับจะไม่ไปติดเชื้อจากรพ.มา  พร้อมกับบริการที่ดี ฯลฯ  ต่างๆเหล่านี้  เราจำเป็นที่จะต้องจ่ายเอง   ให้โยนมาให้บริษัทประกันชีวิต  เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้เองจะดีกว่า   ส่วนเงินเก็บ  เงินออมของพ่อ-แม่  พี่ๆน้องๆ ลุงป้าน้าอา  ก็จะได้ไม่ต้องไปรบกวนเขา  เพราะตัวของเขาเองเงินทองก็จำเป็นและสำคัญเหมือนๆ กันคะ........

ฉะนั้น   ตามที่นายประชาชนพูดถึงรพ.รัฐที่ดี นั้น  ก็ต้องรวมถึงเรื่องพวกนี้ด้วย  ใช่ไหม?คะ  แต่ดิฉันว่า  คงจะยากหน่อยหนึ่ง  เพราะงบประมาณของรัฐบาลที่จะให้ในเรื่องนี้มีน้อยมาก    สังเกตุให้ดี ข่าวแว่วๆตอนนี้ในเรื่องประกันชีวิต  "รัฐจะมีการส่งเสริมให้คนไทย ทำประกันชีวิตทุกๆ คน  ถึงกับว่าเป็นการบังคับ ให้เหมือนกับพรบ.รถยนต์ก็ว่าได้คะ"  เพื่อจะเป็นการผลักภาระการแบกรับค่าใช้จ่ายในด้านนี้ให้ลดลงคะ   ก็ฝากๆ นายประชาชนส่งเสริมเรื่องนี้ด้วยนะคะ

2.  ถ้าผมได้รับบริการตามที่รัฐจัดให้แล้ว ผมจำเป็นมากน้อยเพียงให้ในการทำปะกันชีวิต (โดยซื้ออนุสัญญาด้านสุขภาพเพิ่ม)

หลักประกันสุขภาพที่รัฐจัดให้ ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นใช่หรือไม่ ? ถ้าคำตอบ คือ ใช่ สิ่ง ผมต้องทำ คือ เรียกร้องและเสนอแนะให้รัฐจัดให้มีคุณภาพ เข้าถึง และเท่าเทียมมากว่าขึ้น หรือ แนะนำให้ ประชาชน ซื้อประกันชีวิต และอนุสัญญาทางด้านสุขภาพเพิ่ม ??

คนที่ซื้อประกันฯ สามารถที่จะได้รับการรักษาที่ดีกว่า มีคุณภาพมากกว่า ใช่หรือไม่ ? ถ้าคำตอบ คือ ใช่ แสดงว่า สุขภาพน่าจะซื้อขายได้ตามนิยามใหม่ ???

คำตอบที่จะให้นี้  มีคำตอบในตัวของมันเองแล้วคะ  จากที่ยกตัวอย่างมา    และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยพาคนที่คุณรัก เขาป่วยไม่สบายม๊าก ไปรับการรักษา  เชื่อเถอะคะว่า  "คุณคงต้องการหมอที่ดีที่สุด  ยาที่ดีที่สุด  และบริการที่ดีแบบทันด่วนทันใจฯลฯ"  มารักษาให้เขาหายจากการเจ็บป่วยนั้นๆ    และถึงแม้นว่า คุณมีรพ.ที่ดี  หมอที่เก่ง  และยาที่ดีรักษาคนที่คุณรักให้หายได้แล้วนั้น  แต่คุณไม่มีตังค์ (เงิน) เชื่อเถอะว่าหมอก็ไม่รักษาคนที่คุณรักให้  เพราะ หมอไม่ใช่ใครคนๆนั้นที่จะต้องมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นของคนที่คุณรัก.......

ฉะนั้น  ถ้าเราเองยังต้องหวังพึ่งรัฐบาล (ซึ่งก็มีภาระอันหนักอึ่ง เห็นๆกันอยู่แล้ว) หรือพึ่งพาคนรอบๆข้าง ญาติ พี่น้อง (ซึ่งก็พอๆกันกับเรา)  มีคำถามวา  "ถ้าเกิดอะไรขึ้นในปัจจุบันทันด่วน  เราจะทำอย่างไร?....."

3. ประเด็นต่อมาที่ผมคิดต่อ คือ อนุสัญญาด้านสุขภาพที่ว่านี้ ส่งผลหรือไม่ อย่างไร

  • ถ้าคนที่ซื้อเพราะเห็นว่ามีหลักประกันที่ดีอยู่แล้ว คงไม่ต้องส่งเสริมสุขภาพตัวเองมากมาย เพราะเจ็บป่วยมาก็มีคนดูแล ?
  • ถึงแม้เป็นโรคเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ เพราะมีสิทธิที่พึงเบิกได้ เพราะจ่ายเบี้ยไปแล้ว เป็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ เลยไปหาหมอ รพ.เอกชน ดีกว่าพักผ่อน นอน และรักษาด้วยตัวเองโดยไม่รับยา ?

ตอบได้เลยคะว่า  คนที่เน้นซื้อสุขภาพจริงๆนั้น ส่วนมากเขาต้องเป็นคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพจริงๆ เขาถึงจะซื้ออนุสัญญา (เพราะอนุสัญญานี้ซื้อแล้วเงินหายหมดถ้าไม่ได้รับใช้บริการในปีนั้นๆ)  และลูกค้าส่วนมาก  ไม่มีใครหรอกคะที่ต้องการจะเข้านอนรพ.  เหมือนกับว่า  พอรู้ว่าตัวเองมีอาการเหมือนกับใกล้จะป่วย แทนที่จะดูแลตัวเองก่อนกลับทำให้มันอาการหนักขึ้นไปอีก เพราะว่าจะได้เบิกได้หมดแมกของการรับประกัน?  (ถ้าจะมีคงน้อยมากคะ)

และ ขอโทษนะคะที่ต้องบอกว่า  ถ้าอาการไม่หนักมาก  หมอเขาไม่ให้ไปนอนเล่นในรพ.หรอกคะ  หรือถ้าต้องนอนจริงๆ อย่างน้อยก็ให้น้ำเกลือ  1 คืนแล้วก็ให้กลับบ้าน

เพราะว่า  ถ้าอาการป่วย + ใบเสร็จ + ตัวยาที่รับไปนั้น  ผิดปกติ  ทางบริษัทประกันก็จะมี  คุณหมอที่ได้รับการแต่งตั้ง มาตรวจเช็คอีกทีคะ  ซึ่งถ้าทางรพ.ไหน? ที่อยู่ในเครือ / จ่ายใบเสร็จนั้นมาให้  ดูแล้วผิดปกติ/ไม่สมเหตุสมผล  บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลนั้นๆ ในส่วนที่ไม่สมเหตุผลให้คะ......  นายประชาชนก็อย่าหวังเลยว่าจะได้แอ้ม..5 5 5  กะจะไปนอนห้องรพ.ฟรีๆ ละซิ

เฮ้อ ....  วันนี้มึน  เดี๋ยวหน้านี้แค่นี้ก่อนนะคะ  ซักพักจะเล่าอะไรดีให้ฟังอีกคะ  บ๊ายบาย

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณมากๆ ครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ซึ่งทำให้ผมเองเห็นภาพมิติด้านสุขภาพในมุมมองของการประกันชีวิต มากขึ้น ซึ่งคงไม่ว่ากันนะครับถ้าผมจะนำประเด็นที่แลกเปลี่ยนกันนี้ไปขยายต่อกับน้องๆ นักศึกษา (ถ้ามีโอกาส) ต่อไป

ประเด็นแรก คือ โดยภาพรวมในมุมมองของผมและเพื่อนที่แสนดี มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็นที่ต้องได้รับการประกันที่ดี มีคุณภาพ เข้าถึงการบริการที่เหมาะสม ตามความจำเป็น และไม่เพียงแต่ในด้านร่างกายเท่านั้น หากแต่ครอบคลุมถึงมิติชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย

ประเด็นที่ 2 สิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง การจัดบริการโดยภาครัฐ และการให้บริการของบริษัทประกันชีวิตเอกชน คือ ความแตกต่างระหว่าง คุณภาพของการได้รับบริการ มาตรฐานการรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองแต่ประเด็นแรกทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ระบบบริการสุขภาพบ้านเราจะไม่เกิดมิติของ "ความเท่าเทียม" เกิดขึ้นเลย!!!  ประเด็น คือ ประชาชนส่วนมากของประเทศจะไม่สามารถเข้ารับบริการที่มีคุณภาพได้เลย โดยอาศัยหลักประกันของภาครัฐ ? แต่คำตอบก็มีอยู่ในตัว เพราะระบบบริการของภาครัฐเป็นการจัดบริการโดยไม่แสวงหาผลกำไร ในขณะที่บริษัทประกันภัย ผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเป้าหมายหลัก แต่คงไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะขอความกรุณากับเพื่อนที่แสนดีในการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการในครั้งนี้

ประเด็นที่ 3 ความแตกต่างระหว่าง รพ.รัฐ และ รพ.เอกชน

คุณมีรพ.ที่ดี  หมอที่เก่ง  และยาที่ดีรักษาคนที่คุณรักให้หายได้แล้วนั้น  แต่คุณไม่มีตังค์ (เงิน) เชื่อเถอะว่าหมอก็ไม่รักษาคนที่คุณรักให้  เพราะ หมอไม่ใช่ใครคนๆนั้นที่จะต้องมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นของคนที่คุณรัก.......

ฉะนั้น  ถ้าเราเองยังต้องหวังพึ่งรัฐบาล (ซึ่งก็มีภาระอันหนักอึ่ง เห็นๆกันอยู่แล้ว) หรือพึ่งพาคนรอบๆข้าง ญาติ พี่น้อง (ซึ่งก็พอๆกันกับเรา)  มีคำถามวา  "ถ้าเกิดอะไรขึ้นในปัจจุบันทันด่วน  เราจะทำอย่างไร?....."

จากข้อความข้างบนนี้ ผมตั้งข้อสงสัย ต่อไปว่า

1. ปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วไปภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะไม่สามารถได้รับการรักษาจากหมอที่เก่ง ยาที่ดี ได้เลยเพราะการเข้ารับการรักษาแต่ละครั้ง ไม่ต้องเสียเงิน (เดิมเก็บ 30 บาท) ใช่หรือไม่ ?

2. หมอของ รพ.รัฐ ซึ่งรับเงินจากภาษีของราษฎร์ ไม่เก่งเท่าหมอที่ รพ.เอกชน เพราะได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่า (ทั้งที่ในความเป็นจริงหมอที่ รพ.เอกชน อาจจะเป็นหมอคนเดียวกับที่ รพ.รัฐ) ใช่หรือไม่ ?

3. ถ้าเกิดอะไรขึ้นด่วน เราไม่มีสิทธิที่จะได้รับบริการที่ดีเลย ใช่หรือไม่ ?

ทั้ง 3 คำถามนี้ เดี๋ยวผมจะตามตอบอีกที แต่ขอวันหลังก็แล้วกันนะครับ.......

ประเด็นที่ 4 "รัฐจะมีการส่งเสริมให้คนไทย ทำประกันชีวิตทุกๆ คน  ถึงกับว่าเป็นการบังคับ ให้เหมือนกับพรบ.รถยนต์ก็ว่าได้คะ" ตรงนี้ผมยังไม่ทราบความเคลื่อนไหว แต่ผมมีประเด็นที่อยากจะแลกเปลี่ยน แต่ขอติดไว้ก่อนนะครับ

ประเด็นที่ 5

ตอบได้เลยคะว่า  คนที่เน้นซื้อสุขภาพจริงๆนั้น ส่วนมากเขาต้องเป็นคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพจริงๆ เขาถึงจะซื้ออนุสัญญา (เพราะอนุสัญญานี้ซื้อแล้วเงินหายหมดถ้าไม่ได้รับใช้บริการในปีนั้นๆ)  และลูกค้าส่วนมาก  แสดงว่าในความเป็นจริงคนที่ทำประกัน ยังไม่ได้นึกถึงหลักประกันด้านสุขภาพ ซึ่งโยงกลับไปสู่ประเด็นที่ 1 คือ คนจะสนใจก็ต่อเมื่อตนเองกำลังจะป่วย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดต่างอีกประการหนึ่งของระบบประกันกับระบบสุขภาพ ที่เรามุ่งเน้นให้คนตระหนักและหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น  

 ไม่มีใครหรอกคะที่ต้องการจะเข้านอนรพ.  เหมือนกับว่า  พอรู้ว่าตัวเองมีอาการเหมือนกับใกล้จะป่วย แทนที่จะดูแลตัวเองก่อนกลับทำให้มันอาการหนักขึ้นไปอีก เพราะว่าจะได้เบิกได้หมดแมกของการรับประกัน?  (ถ้าจะมีคงน้อยมากคะ) และ ขอโทษนะคะที่ต้องบอกว่า  ถ้าอาการไม่หนักมาก  หมอเขาไม่ให้ไปนอนเล่นในรพ.หรอกคะ  หรือถ้าต้องนอนจริงๆ อย่างน้อยก็ให้น้ำเกลือ  1 คืนแล้วก็ให้กลับบ้าน ประเด็นนี้เห็นด้วยและสนับสนุน เพราะการเข้ารับการบริการทางสุขภาพ "โดยไม่จำเป็น" นอกจากจะเปลืองทรัพยากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขแล้ว ยังส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพด้วย ที่มุ่งหวังการเข้าถึง "การรักษา" มากกว่า "การป้องกัน"

วันนี้เบลอๆ เพราะเช้าพึ่งคุยกันเรื่องของการพัฒนาการบริการในระดับปฐมภูมิ ที่เชื่อมโยงกับหน่วยบริการที่อยู่ระดับพื้นที่ สัญญาว่าจะเปิดบันทึกเพื่อตตอบคำถามที่ค้างไว้ หวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากเพื่อนที่แสนดีในการ ลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) นะครับ

ด้วยรัก

เพื่อนที่แสนดีคนที่ 2

หวัดดีคะนายประชาชน  

วันนี้ว่างนิดหน่อยก็ขอเล่านิดหน่อยนะคะ ว่า

ในส่วนของ   ประเด็นที่ 2 สิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง การจัดบริการโดยภาครัฐ และการให้บริการของบริษัทประกันชีวิต    และประเด็นที่ 3 ......
ตรงนี้ขอเพิ่มเติมรวมๆ กันเลยนะคะ   ว่า  การให้บริการของบริษัทประกันชีวิตนั้น  คือมีหน้าที่ในการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความคุ้มครองให้กับลูกค้าคะ    ส่วนเรื่องการบริการของทางโรงพยาบาลนั้น  จะเป็นหน้าที่ของแต่ละรพ.เองว่าเขาจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องบริการ/การจัดการอย่างไรซึ่งก็แล้วแต่เขาคะ  จะเห็นว่า รพ.เอกชน  มีบริการที่ดีกว่านั้นก็เพราะว่า เขาหวังผลกำไร (อย่างที่บอก) และ ทางรพ.เองก็เห็นว่า ลูกค้าที่เข้ามารับการรักษานั้น  สามารถเบิกค่ารักษา + มีเงินจ่ายจริงๆ  เมื่อลูกค้าเจ็บป่วยเข้ามารับการรักษา  ทางรพ.ก็ไม่ต้องกลัวว่าลูกค้าจะไม่มีเงินจ่าย (คือมั่นใจว่ารักษาไปแล้วสามารถได้เงินค่ารักษากลับมา ไม่ใช่รักษาแล้วเบิกไม่ได้ต้องทำเรื่องโน้นเรื่องนี้/ต้องรอเวลานาน แล้วทางรพ.เขาเองก็ต้องใช้เงินที่หมุนเวียนกันไปเหมือนกับธุรกิจอื่นๆเช่นกัน) ซึ่งลูกค้าพวกนี้จะเป็นพวกที่พอจะมีฐานะทางการเงิน คนมีเงิน เขาก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุด ตลอดรวมจนถึงเรื่องบริการ อาคารสถานที่ และความสะดวกสะบายต่างๆ ประกอบกันด้วยคะ   (คนมีต้งค์ส่วนมากเขาจะไม่ค่อยชอบง้อใคร เขาจะพึ่งพาตนเองเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าที่จะต้องพึ่งพารัฐ/คนอื่น)   ฉะนั้นเวลาไปขายประกันให้คนมีตังค์ จะขายง่ายมากเลยคะ ไม่ค่อยเรื่องมาก  แค่ขอให้แบบที่รับประกันตรงตามความต้องการของเขา เขาก็ซื้อเลยคะ

 **ประเด็น คือ ประชาชนส่วนมากของประเทศจะไม่สามารถเข้ารับบริการที่มีคุณภาพได้เลย โดยอาศัยหลักประกันของภาครัฐ ?
อันนี้ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ   นายประชาชนก็ทราบนะคะว่า  รพ.ของรัฐที่ดีๆ  มีหมอที่เก่งๆก็เยอะแยะ มียารักษาโรคที่ดีที่สุดก็มีคะ   แต่มันติดที่ว่า  รพ.ของรัฐนั้น  ในเรื่องของบุคลากร+อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการรักษา/เจ็บป่วย  มากกว่าคะ  (คือต่อให้คุณมีหมอที่เก่ง แต่ไม่มียา/อุปกรณ์เครื่องมือ หรือบริการที่ดีมันก็เหมือนเดิมคะ)  จะสังเกตุเห็นได้ว่า ตามรพ.ของรัฐนั้นจะมีผู้ป่วยเยอะมาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีเงินกันแต่ก็ต้องการรับการรักษาที่ดีๆ ก็คือรพ.ของรัฐ? ซึ่งเป็นที่พึ่งของคนยากจนเป็นส่วนใหญ่ 

เมื่อมีคนไข้เยอะแยะ  แต่มีหมอจำนวนน้อย มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ  จึงทำให้ผู้ที่เข้าไปรับการรักษาที่อาการไม่หนักมากต้อง  "รอ"  และ "รอ"  ไปก่อน (จนบางทีเคยได้ยินไหมคะว่า "ให้มีอาการหนักก่อนแล้วค่อยแซงคิวรักษาได้")

และในเรื่องของการที่จะพบหมอใหญ่ได้จริงๆ นั้นยากมากๆ เพราะหมอใหญ่ (หมอที่เก่งและมีประสบการณ์) ถ้าไม่มีอาการหนักหนาอะไร / เข้าขั้นที่จะต้องผ่าตัด แล้วจะไม่รับเป็นคนไข้เลย  

ฉะนั้น นายประชาชน ลองไปถามดูซิว่า รพ.ของรัฐที่ใหญ่ๆ ส่วนมากแล้วเขาจะมีการแบ่งหมอไหม?  เช่น หมอใหญ่ (พวกที่อาการหนักๆ ต้องมีการผ่าตัด)  , หมอเล็ก (แพทย์ทั่วไป ดูอาการ วินิจฉัย สั่งยา  ถ้าอาการหนักจะส่งต่อให้หมอใหญ่อีกที) , พยาบาล  (สอบถามประวัติ วัดความดัน ส่วนสูง น้ำหนัก บอกให้นั่งรอหมอว่าห้องไหน? เวลาเท่าไหร่หมอถึงจะมา?) , เจ้าหน้าที่ติดต่อประชาสัมพันธ์ (รับบัตรคิว กรอกประวัติ แยกแยะว่าป่วยแบบนี้น่าจะไปหาหมอเกี่ยวกับอะไร  ห้องไหน?/ตึกอะไร) ฯลฯ   ประมาณเนี๊ยะคะ   นายประชาชนลองคิดดูซิคะว่า  ถ้าเราป่วยขึ้นมาแบบถึงว่าหนักพอประมาณ โดยไม่รู้สาเหตุ (ไม่ใช่อุบัติเหตุนะคะ!!!)  ไปหาหมอทีต้องผ่านกันกี่ด่าน  และแต่ละด่านจะต้องยืนรอต่อแถวอีกกี่คนถึงจะถึงเรา  แล้วพอรอเสร็จแล้วกว่าจะไปถึงมือหมอต้องใช้เวลานานเท่าไร? ดีไม่ดีได้แต่ยามาถุงนึงให้กินเพื่อดูอาการ+ให้กลับบ้าน  ญาติๆที่พาไปต่างก็ต้องนั่งรอ (บางรพ.ที่นั่งรอของญาติก็ไม่มี แถวชนบทอีสานจะเอาเสื่อสาดไปปูกันริมถนน จะเห็นได้จนเป็นเรื่องปกติแล้ว!!!)   จากที่พูดมาคร่าวๆ นะคะ บอกได้เลย ดิฉันไปรพ.บ่อยๆ ไปทีน้าๆ ป้าๆ + ตัวดิฉันเอง แทบป่วยกลับมา คนป่วยที่พาไปก็เบื่อจนไม่อยากจะรักษาแล้ว.........     ก็รบกวนพิจารณาเรื่องนี้ด้วยแล้วกัน

 **ประเด็นที่ 4  เรื่องรัฐจะส่งเสริมให้ทุกคนมีประกันชีวติ      ตรงนี้เป็นประเด็นที่ทางบริษัทได้รับการแจ้งข่าวมาจากทางกรมการประกันภัยนะคะ  ไม่ใช่ของกระทรวงสาธารณสุข  (เป็นธรรมดาที่นายประชาชนจะไม่ได้ยิน)  ซึ่งเป็นมาตรการที่กรมการประกันภัยจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นในอนาคต  ตามแผนการส่งเสริมการประกันชีวิต  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชุดก่อน (รัฐบาลยุคทักษิณ)  เรื่องซึ่งกำลังจะพิจารณาปรับเปลี่ยนหลายแนวทาง  เช่น การนำไปหักลดหย่อนภาษี  จากหักได้ 50,000  บาท จะปรับเปลี่ยนให้เป็น  300,000  บาทคะ  และรัฐจะมีการผลักดันให้คนไทยทำประกัน  ก็เพราะว่าจะได้ลดภาระของรัฐในเรื่องของ ยกตัวอย่างเช่น   คนไทยทุกอาชีพมีเงินใช้ตอนเกษียณ-แก่ , ส่งเสริมให้รู้จักเก็บออม , ลดภาระทางสังคม ฯลฯ  แต่นั้นก็เป็นแผนพัฒนา+ส่งเสริมในอนาคตของรัฐบาลชุดก่อน  ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็กำลังดูๆ อยู่ว่า จะไปในแนวทางไหน  อย่างไรคะ

 ส่วนเรื่องที่จะส่งเสริมให้คนไทยรู้จักป้องกันและรักษาตนเองก่อนที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยนั้น ดิฉันขอสนับสนุนคะ  ขออนุญาตเพิ่มเติมนะคะว่า   ถ้าจะส่งเสริมกันจริงๆ ควรเริ่มจากต้นเหตุใช่ไหมคะ ?  เพราะเมื่อมีการป้องกันแล้ว ประชากรก็จะมีการเจ็บป่วยที่ลดลง  งบประมาณต่างๆเรื่องค่ารักษาพยาบาลก็จะไม่สิ้นเปลือง ......

ฉะนั้น  เราควรที่จะเน้นตั้งแต่การดำรงชีวิตของประชากรคะ   เช่น  น้ำใช้สะอาด? (บ้านของดิฉันใช้น้ำของหนองน้ำประจำหมู่บ้านที่เก็บกักมานานคะ  น้ำก็ใส+เหลืองนิดหน่อย จัดว่าไม่ค่อยสะอาดคะ)  , น้ำดื่ม ก็กินน้ำฝน ที่ขังกันมานานปี (รอให้ตกตะกอนก่อน) แต่บ้านดิฉันดีหน่อยมีเครื่องกรองน้ำ 3 เดือนเปลี่ยนที ไส้กรองนี้ดำ+มีแต่โคลนเยอะมากเลย

ส่วนเรื่องอาหารการกินไม่ต้องพูดถึง  ของป่าชอบมาก เห็ด (ตอนนี้น่าจะระวังมากขึ้นเพราะมีข่าวคนกินเห็นแล้วตายที่จ.น่าน) หรือพืชผักตามท้องไร่ท้องนา (ซึ่งสมัยก่อนเคยมีการส่งเสริมไม่ให้กิน เนื่องจากมีพยาธิใบไม้ในตับเยอะ  แต่ปัจจุบันหายไปแล้ว ไม่เห็นมีเจ้าหน้าที่มาส่งเสริมเลย)

สุขภาพ เรื่องการตรวจสุขภาพประจำปี  คนที่มีอายุ/เด็กๆ  เห็นรัฐมีการส่งเสริมให้มีการตรวจตามบ้าน?  แต่ชุมชนของดิฉันไม่เห็นจะมีเลย (หรือว่าอาจจะเป็นเพราะเราอยู่ติดกับอนามัยหมู่บ้าน) 

คะก็รวมๆ ถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยดิฉันก็มีความคิดเห็นเพิ่มเติมประมาณเนียะคะ  หวังว่าคงจะช่วยนายประชาชนได้บ้าง  ยังไงก็ค่อยว่ากันอีกทีคราวหน้า  อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะคะ  บ๊ายบายคะ

 

 

น้องคะ พี่เป็นคนหนึ่งที่ทำประกันชีวิตไว้มาก หลายฉบับ และพี่ก็ไม่มีสามีและไม่มีบุตรนะคะ  มีแม่และหลาน 14 คน ซึ่งจุดประสงค์ของการทำประกันชีวิตนั้น  อยากจะแลกเปลี่ยนกับน้องดูนะคะ 

 กรมธรรม์ ฉบับที่ 1 ทำเมื่ออายุ 25 ปี เพื่อนขอร้องเพราะต้องการปิดยอด ก็ศึกษาดูแล้ว สงสารเพื่อนด้วย ก็ตัดสินใจทำ ส่งเบี้ยประกันได้ 2 ปี เบื่อ  ไม่มีเงินส่ง เพราะเงินเดือนน้อย ทำงานมาได้ 6  ปียังไม่มีเงินเก็บเลย และจะเอาเงินไปซื้อรถจักรยานยนต์ ก็ยกเลิกไป 

กรมธรรม์ ฉบับที่ 2 - 3 ก็เหมือนกับฉบับที่ 1 ทำเมื่ออายุ 33 ปี ผลสุดท้าย ก็หยุดส่งเพราะตัวแทนลาออก

กรมธรรม์ ฉบับที่ 4  ทำเมื่ออายุ 36 ปี เหตุผลไม่เหมือนเดิม เพราะไปทำที่บริษัท  บอกเขาว่าจะมาขอทำประกันชีวิต บริษัทแรกไม่ทำให้ เขาคงงง  มาทำที่บริษัทไทยประกันชีวิต พอดีเจอกับคนรู้จัก เขาก็สัมภาษณ์มากพอควร เพราะเขาสงสัยว่าเหตุไฉน  ใยเจ้าจีงอยากทำประกัน  แต่เหตุผลง่ายนิดเดียวเพราะมีเงินเหลือเก็บ  ฝากธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ยน้อยเมื่อคำนวณดูแล้ว ได้ดอกเบี้ยจากการประกันชีวิต แถมยังได้สิทธิในการคุ้มครองชีวิตด้วยจึงตัดสินใจทำประกันชีวิตดีกว่า

กรมธรรม์ ฉบับที่ 5 - 6  (อายุ 39 ปี)เพื่อนชวน พอดีว่าเขาต้องการปิดยอด ก็เลย  OK เพื่อน 2 คน ทำต่างบริษัทกัน ก็ได้ไปคนละ กรมธรรม์

กรมธรรม์ ฉบับที่ 7 - 8 (อายุ 39 ปี)ทำเพราะว่าอยากจะให้แน่ใจว่าเมื่อตายไปแล้วจะมีเงินเหลือให้กับหลานชายที่เรารัก พอจะสร้างเนื้อสร้างตัวได้ (หลานชายจบวิศวได้ทำงานแผนกช่างไฟฟ้า ที่เทสโก้โลตัส ประสบอุบัติเหตุ ขาพิการเนื่องจากลิฟท์ที่ทำงานตกลงมา กระแทกพื้นเส้นประสาทขาดกระดูกสันหลังแตก)

กรมธรรม์ ฉบับที่ 9 - 12 ทำเมื่ออายุ 40 ปี เหตุผลที่ทำเพราะไม่สบายมาก พอดีพบ  CYST ที่เต้านม คิดไปเองว่าอาจจะเป็นเซลมะเร็ง คราวนี้คงแย่แน่ๆ   หากเมื่อวันหนึ่งเราตายไป นอกจากความเสียใจแล้ว เขายังต้องขาดที่พึ่งด้วย จึงตัดสินใจเดิมพันกับชีวิตว่า  ถ้าหากวันใดต้องตาย คนที่อยู่ข้างหลังต้องไม่ลำบาก และที่ทำหลายฉบับ เพราะคนที่เรารักมีมากมายหลายคนต้องการมอบให้เป็นรายบุคคล  ให้ถือคนละกรมธรรม์ จะได้ไม่ยุ่งยากเวลารับเงิน

ผ่านมา 2 ปี ยังไม่ตาย ต้องรักษาตัว โชคดีที่ไม่ชอบนอนโรงพยาบาล  ซื้อสัญญาเพิ่มในกรมธรรม์ไว้ก็ไม่ได้ใช้หรอก  แต่ที่ซื้อทิ้งไว้ก็เผื่อว่าถ้าวันไหนทรุดหนักก็จะได้ไม่ต้องลำบากคนเฝ้า  อยู่ รพ.เอกชนดีกว่า  เพราะ รพ.สุราษฎร์ธานี  ผู้ป่วยมาก  กว่าจะได้คิวห้องพิเศษ 5 วันจึงจะได้ ญาติก็จะลำบาก  คนไข้ก็หดหู่ใจเพราะไม่มีคนปรับทุกข์  นี่คือการวางแผนชีวิตในอนาคต  ถ้าหากไม่ตาย พออายุ 60  ปี ก็มีเงินเป็น 10 ล้าน  ก็ดี ไม่ต้องโกงใคร  และถ้ารอแต่บำเหน็จก็เหนื่อยใจได้นิดเดียวเอง  ทำประกันชีวิตชัวร์สุดแล้วค่ะ  แต่อย่างหนึ่งอยากจะบอกว่า  คนที่จะทำประกันชีวิตนั้นต้องคำนวณด้วยนะคะว่ารายได้ต่อปี เท่าไหร่  เพราะเงินที่เอามาทำประกันชีวิตได้ต้องเป็นเงินที่เหลือจริงๆ ไม่เช่นนั้นก็จะลำบากมากๆ  ทำแล้วไม่ต้องคิดอะไร  คิดอย่างเดียวพอ  ว่าเราทำเพื่อคนที่เรารัก

ขอบคุณพี่อุบลครับที่แวะเข้ามาทักทายและแลกเปลี่ยน

จริงๆ ประเด็นนี้ช่วงแรกๆ ผมไม่ได้คิดอะไรมากเท่าไหร่ แต่พอมาจับงาน Primary Care และงานคุ้มครองผู้บริโภค ช่วงที่เรียนที่จุฬาฯ ผมเกิดแนวคิดเชิงวิชาการในรเองดังกล่าวนี้ อยู่ 2 ประเด็น

1. ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ช่วงนี้งานประกันชีวิตเริ่มเข้าสู่ชุมชน ตัวแทนประกันบางราย เน้นนะครับว่าบางราย ต้องการทำยอด รายละเอียดบางอย่างลุง ป้า น้า อา ไม่ทราบ รู้เพียงผลประโยชน์หลังจากเสียชีวิต ทั้งที่ในด้านยการคุ้มครองผู้บริโภค รายบละเอียดทุกอย่าง โดยเฉพาะในส่วนที่ผมสนใจ คือ ด้านการคุ้มครองสุขภาพ เป็นส่วนที่สำคัญที่ต้องทราบข้อมูล โดยเฉพาะในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางนโยบายสุขภาพ ที่อาจจะทำให้บางคนตัดสินใจทะประกันสุขภาพเพิ่ม แต่มีหลายกรณีที่พอมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้เอาประกันกับบริษัทมักจะมีปัญหาในการเบิกจ่ายกัน

2. ในประเด็นด้านสุขภาพ ในฐานะคนทำงานสายนี้ โดยเฉพาะในการจับประเด็นของ Primary Care ที่เราพยายามสร้างหลักประกันที่เหมาะสมตามความจำเป็น อย่างที่เราคุยกัน กับแนวคิดของการประกันสุขภาพ ซึ่งบางครั้งผมตั้งคำถามกับเพื่อนที่แสนดีของผมเพื่อเป็นการท้าทายและเปิดกว้างทางความคิดในเชิงวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันครับ

แต่สำหรับประเด็นอื่นๆ ในการลงทุน และออมทรัพย์กับบริษัทประกันตรงนั้นผมไม่ได้ติดในอะไร เพราะเป็นไปตามระบบอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องขอบคุณเพื่อนที่แสนดีของผม และพี่อุบล รวมถึงท่านอื่นๆ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ด้วยความเคารพรัก

โดน บริษัทไทยประกันชีวิต หลอกเข้าไปทำงาน

การที่กำลังหางานอยู่ จะต้องลงสมัครงานไว้ในเว็บสมัครงานทั่วไป แต่นั่น ! หมายถึงเราต้องระวังมากขึ้นในเรื่องของการนัดสัมภาษณ์งาน พอเราลงสมัครงานในเว็บไว้ปุ๊บ วันรุ่งขึ้นก็จะมีคนโทรมานัดสัมภาษณ์เรา ว่า . . “โทรจาก ไทยประกันชีวิต จะนัดสัมภาษณ์งาน มีงานทำหรือยัง . . .” คุยกับเรา เล้าโลมจิตใจเรา กล่อมเรา ใช้จิตวิทยาในการพูดให้เราเชื่อ โดยบอกเราว่าเป็นงานประสานงานเอกสารทั่วไปของบริษัท บางคนจะบอกว่าเป็นผู้บริหารศูนย์ ต่างๆ นาๆ แล้วแต่บทพูดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ถ้าเราถามกลับไปว่ามีเงินเดือนมั๊ย ก็จะตอบกลับมาว่า ให้ไปสัมภาษณ์คุยกันดีกว่า แล้วมันก็จะรีบปิดการนัดโดยเร็ว โดยการที่ให้เราไปที่สาขาที่โทรมา จะมีอยู่ประมาณ 3 สาขา คือ อโศก , ศาลาแดง , ลุมพินี พอไปตามนัด กรอกใบสมัครเสร็จก็จะให้ไปสัมภาษณ์ เราก็จะถูกคนสัมภาษณ์ กล่อมหรืออาจจะพูดสัมภาษณ์ในแบบจูงใจ น่าสนใจในงานตรงนี้ เสร็จ วันรุ่งขึ้นก็จะมีการนัดให้เริ่มงาน คือการอบรมนั่นเอง การอบรมจะอบรมอยู่ 2 อาทิตย์ พออบรมเสร็จ ก็จะให้ภาคสนามตรงนี้แหล่ะ ! ตอนแรกๆ ไม่ได้บอกเราจะมีการหาลูกค้า หรือการขายประกัน หาค่าคอม 20,000 บาท เพื่อให้เราบรรจุ หรือขึ้นเป็นหน่วยบางคนหาได้ก็ขึ้นหน่วย หลังจากนั้นก็จะต้องโทรหาคนมาสมัครงาน โดยจะมีคนในนั้นคอย search หาคนสมัครงานในเว็บที่พวกเราลงสมัครงานทิ้งไว้นั่นเอง เค้าก็จะจดมาให้เราโทรหาโดยใช้บทพูดเหมือนตอนที่เราโดนนั่นเอง ถ้าเราหาคนเข้ามาไม่ได้เลย เราก็จะไม่มีรายได้อะไรเลย บางคนหาได้ก็มีรายได้จากการที่ให้น้องที่เข้ามาอบรมเสร็จ ออกภาคสนามไปหาลูกค้า เราก็จะได้รายได้จากตรงที่น้องขายประกันมา (เหมือนลูกโซ่เลยใช่มั๊ย) นั่นหมายความว่า ถ้าใครมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะต้องเป็นภาระทุกเดือน ทุกเดือน ค่ากิน ค่าที่พัก ค่าเดินทาง หนี้สินต่างๆ ในเดือนนั้นๆ เราก็จะไม่มีรายได้เลยที่จะไปจ่ายในส่วนต่างๆ เลย อยู่อย่าง อด ๆ อยาก ๆ ก็เลยคิดว่าคนที่ทำงานประจำอยู่แล้วไม่ควรที่จะย้ายงานเข้ามาทำในที่นี้เลย ขอเตือน อย่าหลงเชื่อคนนัดสัมภาษณ์ ว่าจะให้เราเป็นผู้บริหาร ในบริษัทนี้ ยังไงเข้าไปเราไม่ขายก็ต้อง หาคนมาสมัครงานเหมือนเรา โดนเหมือนเรา รู้สึกมัน “บาป” มาก เอาคนที่มีอนาคตดีดี ต้องเข้ามา ทำงานที่หลอกลวงประชาชน

รบกวนคุณกิตติพงศ์ พลเสน ถ้าได้อ่านข้อความฉบับนี้แล้ว ช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ด้วย ขอบคุณ

เรียน คุณโดนหลอก

ผมคงไม่สามารถแก้ปัญหาที่ว่าได้ด้วยตัวผมครับ และก็ต้องยอมรับว่าปัญหานี้เพิ่มมากขึ้นในทุกรูปแบบ และขยายวงออกไปในหลายธุรกิจ เพราะการแย่งงานในตลาด อย่างไรก็ตามถ้ามีโอกาสขยายความต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จะให้ข้อมูลไปเท่าที่จะทำได้ครับ

ขอบคุณครับ,

โห เราไม่เข้าใจกลยุทธ์การรับคนเข้าทำงานเป็นหัวหน้าหน่วยอย่างนี้ เลย และก็ไม่ชอบด้วย อีกอย่างเราเป็นตัวแทนเหมือนกัน เราชอบบอกกันตรง ๆ ซื่อ ๆ น้องสนใจแนะนำการขายประกันเป็นการชวนเขามาออมเงิน ออมไปด้วยคุ้มครองชีวิตให้ด้วย เป็นการบอกต่อ มันดีอย่างไร และปิดการตัดสินใจของเขา ย้ำถึงข้อดี ของประกัน ย้ำถึงประโยชน์ และโครงการนี้มันจะแก้ปัญหาความกังวลใจ เก็บไว้ลงทุน อาจจะตามความฝันท่องเที่ยวก็ได้ ทำไมต้องใช้กลวิธี --เลี่ยงไป --เลี่ยงมา คนชอบขายประกันก็มี คนทำประกันก็เยอะ (เราคิดว่ามีนะ คนที่อยากทำประกัน บางทีหาตัวแทนที่จะขาย แต่ไม่เจอ คนขายประกันก็ไปตื้อขายกับคนที่ซื้อไว้เยอะแล้วหรือเต็มวงเงินการออม) แต่ที่พฤติกรรมลูกค้า หรือพฤติกรรมคนที่ถูกชวนมาขายประกัน อคติ ก็เพราะมันมีวิธีที่ไม่ตรงไปตรงมา ขนาดเราเป็นตัวแทนเอง เรายังไม่ชอบเลย

เราเชื่อว่าตัวแทนที่ยึดมั่นในความดี ศักดิ์ศรี และจรรยาบรรณ ผลประโยชน์ลูกค้าต้องมาอันดับ แรก ยังมีอีกเยอะ ค่ะ

อยากให้ คนที่โทรไปรีคูท น้อง..ที่มาเป็นตัวแทน ลองใช้เวลาคุย เพื่อขายอาชีพตัวแทน นานสักหน่อย แล้วสรุปไปเลยว่านี้เป็นอาชีพตัวแทน ท้าทายอาชีพไปเลย

คิดว่าบางคนที่ สายเลือดเป็นตัวแทนต้องมีอยู่บ้าง..หาคนที่ใช่ ดีกว่า เพราะคนบางคนที่ไปตามการนัดของคุณเขามีความหวัง บางคนต้นทุนต่างกันนะ บางคนไม่มีเงินที่เป็นทุนเริ่มทำงานกันคุณในเรื่องแบบนี้ฯ เขาต้องเสียเวลา เสียเงิน และเสียความรู้สึก ฯลฯ

ช่วงนี้เหนื่อยหน่อยนะคนไทย เป็นกำลังใจให้ทุกคน

คนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ เรายังผ่านมาได้ เราต้องผ่านได้เช่นกัน นะค่ะ สู้ ..สู้

....... จากตัวแทนไทย.......ชีวิต

การประกันชีวิตเป็นการพนันชนิดหนึ่งที่เดิมพันกันด้วย สุขภาพ แขน ขา และชีวิต ด้วยเงื่อนไข ถ้าเกิดเหตุ จะได้รับเงิน คุณจะอธิบายตรงนี้อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท