การเสริมทักษะแก่แกนนำผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง


การเสริมทักษะ ความรู้แก่แกนนำผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

โครงการเสริมทักษะแกนนำผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในการดูแลสุขภาพเพื่อนสมาชิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง       

   วันที่ 25 – 26 เมษายน 2550 กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวได้จัดโครงการเสริมทักษะแกนนำผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในการดูแลสุขภาพเพื่อนสมาชิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามแผนโครงการบริการประทับใจไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อให้เพื่อนสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ได้รับเลือกให้เป็นแกนนำสุขภาพ ได้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเข้าไปทำหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพให้กับเพื่อนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชมรมโรคเรื้อรัง หรือในชุมชน ให้มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคได้ โดยจัดในกลุ่มผู้ป่วยของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธฯ 17 แห่ง จำนวน 170 คน  ทางคณะทำงานได้จัดการอบรม 2 วัน

วันแรกของการอบรมจัดในรูปแบบของการเรียนรู้ภาคทฤษฏีในห้องเรียน

โดยหัวข้อที่เรียนรู้

  1. โรคเบาหวานและการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยได้เชิญ พญ.ศุธินี คำปิวทา  แพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม เป็นวิทยากรในการให้ความรู้
  2. โรคความดันโลหิตสูงและการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยพญ.ผาสุข ทาหาร แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
  3. อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยพญ.สาวิตรี ตันเจริญ
  4. การดูแลเท้าและการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยคุณเปรมสุรีณ์ แสนสม พยาบาลผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้าเบาหวาน

หลังการเรียนรู้ในวันแรก วันที่ 2  ของการอบรม

          ทางคณะทำงานได้จัดรูปแบบของการเรียนรู้ โดยใช้การฝึกปฏิบัติเป็นการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเพื่อนแกนนำด้วยกัน และเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนไม่ให้มีความเครียดมากไป ( บรรยากาศดีๆสิ่งดีๆมักจะเกิดขึ้นเสมอ )    เราจึงเปลี่ยนสถานที่การจัดกิจกรรมมาเป็นที่ สวนน้ำพรมพิรามรีสอรต์

ขอขอบคุณทีมงาน,ทีมพี่เลี้ยงและวิทยากรทุกท่านที่ทำให้งานสำเร็จ

                ทางทีมงานของเราโชดดีมากที่วันนั้นเราได้รับเกียรติจาก     ดร. วัลลา  ตันตโยทัยและคณะ ( เป็นช่วงพอดีกับที่อาจารย์ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ) ท่านจึงแวะมาทักทายลูกศิษย์ ( เก่า ) คือ คุณรัชดา ,   คุณเปรมสุรีณ์ , คุณทับทิม ท่านจึงช่วยแนะนำ( แบบ...อยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ ) และดูการทำกิจกรรมของเรา

ละลายพฤติกรรม " ร้อง เล่น เต้น รำ" ( ครบสูตร )

          กิจกรรมฝึกปฏิบัติเราได้แบ่งเป็น 3 ฐาน

1.     ฐานแลกเปลี่ยนกัน หัดวัดความดันโลหิต โดยเราให้แกนนำจับคู่กัน แล้วสลับกันหัดวัดความดันโลหิต พร้อมให้พวกเขาบอกค่าความดันโลหิตที่วัดได้แก่เพื่อนพร้อมแปลผล และบอกถึงการปฏิบัติตัวตามค่าความดันโลหิตที่วัดได้ โดยมีทีมงานของเรา มีพี่เลี้ยงคือ เจ้าหน้าที่ PCU ของแกนนำนั้นแหละค่ะคอยดูแลแนะนำ

เปลี่ยนกันบอก เปลี่ยนกันแนะนำ เปลี่ยนกันทำ

2.     ฐานแลกเปลี่ยนกันเจาะเลือดปลายนิ้วโดยเราให้แกนนำจับคู่กัน แล้วสลับกันหัดเจาะเลือดปลายนิ้วให้กับเพื่อน  พร้อมให้พวกเขาบอกค่าของระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้ แก่เพื่อนพร้อมแปลผล และบอกถึงการปฏิบัติตัวตามค่าน้ำตาลที่เจาะได้ โดยมีทีมงานของเรา มีพี่เลี้ยงคือ เจ้าหน้าที่ PCU ของแกนนำนั้นแหละค่ะคอยดูแลแนะนำ เช่นกัน

 

3.     ฐานจับคู่นวดเท้า เช่นกัน เราให้แกนนำ จับคู่กันแล้วดูเท้าเพื่อน นวดเท้า เพื่อน  แล้วบอกผลของการดูตรวจ สภาพทั่วไปของเท้าเพื่อนที่จับคู่ว่ามีรอยบาดแผล มีตาปลา มีหนังบ้างหรือไม่ หากมีแนะนำเพื่อนให้กลับไปปฏิบัติดูแลเท้าให้ดีต่อไป แต่....ฐานนี้จะพิเศษกว่าฐานอื่น เนื่องจากตรวจเพื่อนแล้ว....ต้องกลับมาตรวจตัวเองด้วย เพราะฐานนี้เน้น... ต้องดูแลเท้าตัวเองให้ดีที่สุด....

ทีมพี่เลี้ยงประจำ PCU ร่วมกันคิดด้วยจะได้ไปช่วยกันทำคะ...

  หลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติ จากนั้นเราให้แกนนำของแต่ละ PCU รวมกลุ่มกันช่วยกันระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยน ความรู้กัน ในเรื่องของสิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ แผนการที่จะนำความรู้ที่ได้รับ ไปดูแลสมาชิกผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชมรมและชุมชน       

   ผลจากการระดมความคิดของแกนนำ

·        เรื่อง สิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ พวกเขาคิดว่าการมาอบรมครั้งนี้คงจะทำให้พวกเขาต้องง่วงนอน แอบหลับในห้องเรียน หรือไม่ก็แอบขึ้นรถหนีกลับบ้านก่อนเลิกอบรม แต่มาจริงๆกลับไม่เหมือนอย่างที่คิด สิ่งที่เขาได้รับเป็นสิ่งใม่ที่พวกเขา ยังไม่เคยได้รู้มาก่อน ทั้งในเรื่องของการเจาะเลือดปลายนิ้วที่มีเคล็ดลับในการให้เจ็บน้อยที่สุดคือให้เจาะบริเวณข้างๆบริเวณใกล้ๆจมูกเล็บ และกดนิ้วนานๆก่อนที่จะเจาะให้ชาๆก่อน แล้วจึงเจาะ และคราวนี้จะได้ไปบอกเพื่อนคนอื่นต่อ ทังที่เป็นเบาหวานหรือไม่เป็น ไม่ให้กลัวการเจาะเลือดอีกต่อไป และการที่เจาะเลือดคนอื่นก็ทำได้ง่าย หากฝึกบ่อยๆก็จะมีความมั่นใจมากขึ้น

·        เรื่องการนวดเท้าบริหารเท้า ตรวจเท้าด้วยตัวเอง ซึ่งเขาไม่เคยได้นวดไม่เคยได้บริหาร ออกกำลังกายเท้ามาก่อนเลย ไม่เคยคิดว่าเท้าสำคัญอย่างไร และเรื่องที่พวกเขาชอบมากๆ พวกเขาไม่เคยได้ยินประโยคนี้มาก่อน ผู้ป่วยเบาหวานต้องดูแลเท้าเท่ากับดูแลหน้าหรือมากกว่าดูแลหน้าตัวเองเสียอีก เป็นประโยคที่คุณเปรมสุรีณ์ สอน    ผู้ป่วยในเรื่องของการดูแลเท้าการที่เรา ดูแลรักษา ถนอมใบหน้าของเราอย่างไร ก็ให้ดูแลเท้าอย่างนั้น แล้วเท้า...จะอยู่คู่กับคุณตลอดไป ( ประทับใจมั๊ก..มั๊ก ) คราวนี้จะกลับไปดูเท้า ( คนที่บ้าน )ให้สวยกว่าหน้าอีกด้วย

·        เรื่องของการฝึกวัดความดันโลหิต แกนนำได้ฝึกวัดทั้งแบบเครื่องวัดแบบอัตโนมัติและแบบปรอท แกนนำที่ใช้เครื่องแบบปรอทเวลาบอกค่าระดับความดันได้ถูกต้องจะดีใจและภูมิใจมากเพราะการวัดความดันโลหิตแบบเครื่องปรอทจะยากพอสมควร บางครั้งไปช่วยวัดความดันโลหิตผู้ป่วยในชุมชนก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าแปลผลถูกต้องหรือไม่ แต่ถ้าเป็นเครื่องแบบอัตโนมัติจะมั่นใจมากหน่อย ความผิดพลาดที่เกิดกับตัวเขาเองมีน้อยแถมท้าย....ยังบอกว่า อย่างนี้ ทางPCU หรือทางโรงพยาบาลพุทธฯ น่าจะสนับสนุนเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติให้พวกเขาด้วยเพื่อที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนช่วยวัดความดันโลหิตแก่ผู้ป่วยหรือคัดกรองสุขภาพประชาชนในพื้นที่ 

                สุดท้ายก่อนจะเสร็จสิ้นการฝึกอบรม เราให้แกนนำเขียนสัญญาใจให้กับทีมงานว่าหลังจากนี้พวกเขาจะปฏิบัติตัวอย่างไรและจะทำอย่างไรเพื่อคนอื่นๆ เราได้สัญญาใจอันใหญ่กับที่ทำงานอ่านแล้วสุขใจ......

ใจหลายๆดวง รวมเป็น หนึ่งเดียวเพื่อสุขภาพของทุกใจ

ขอบคุณ ดร.วัลลา  ตันตโยทัย ผู้ที่ทำให้พวกเราได้รู้จักคำว่า         "แลกเปลี่ยน เรียนรู้"

คำสำคัญ (Tags): #แลกเปลี่ยน
หมายเลขบันทึก: 96902เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
     คนต้นแบบเหล่านี้คือเพื่อนผู้ร่วมดูแลสุขภาพของเรา สิ่งที่อุ๋ยและทีมทำจะพิสูจน์ให้เห็นว่าความร่วมมือระหว่างพวกเราชาวสาธารณสุขกับประชาชนผู้มีน้ำใจเหล่านี้จะทำให้เกิดผลดีต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องมั่นคง
นับว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานทีเดียวนะอุ๋ยในวันนั้น เหมือนเป็นเวทีของชาวบ้านจริงๆอีกอย่างที่สำคัญคือเราได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนการดูแลสุขภาพของตนเองและขยายการดูแลไปยังเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงและในชุมชนได้ด้วย กลายเป็นจิตอาสาที่มากด้วยน้ำใจ เป็นกำลังให้นะจ้ะ
  • น้องอุ๋ย...ยังจำ2วันนั้นได้ดี
  • พวกเรารับรู้ได้ถึงความสุข ความสนุกสนาน ความสามัคคี ความตั้งใจ ความสนใจ การช่วยเหลืออาทร การแบ่งปันกัน ของสมาชิกทั้งทีมคือทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมากๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในการนำไปสู่การดูแลตนเองและคนใกล้ตัว ให้มีสุขภาวะที่ดีแม้เป็นความดันโลหิตสูง และเบาหวาน...เราได้ขยายผลลงสู่ชุมชนอีกครั้งแล้วนะ...งานนี้ขอบอกผู้ร่วมกิจกรรมบอกว่ายังไม่อยากกลับบ้านอยากทำกิจกรรมต่ออีกนะ และบอกว่าอยากให้มีกิจกรรมลักษณะนี้มากๆเพราะได้ประโยชน์จริงๆ....ว่าไง อุ๋ย...มีกำลังใจพัฒนางานอีกเพียบใช่ม๊ะ
  • ติดตามผลงานมาตลอดอยากบอกว่านอกจากบล็อกสวย ดูสบายตาแล้ว ลีลาการเล่าเรื่องก็น่าสนใจ
  • ขอรำลึกถึงเหตุการณ์วันนั้นด้วยคนนะ ขอบอกว่าพี่รัตน์เกือบเป็นลมที่ฐานเท้าของพี่อ้อ ดีว่ามีลูกอมของพี่นู๋ทิมมาช่วยไว้ได้ทัน
  • แกนนำของบ้านกร่างที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นประทับใจมากๆและจะนำความรู้มาสู่ชุมชนด้วยนะ แล้วจะนำภาพการพัฒนาของแกนนำมาให้ได้ดูวันข้างหน้านะ
     เราว่าการทำงานแบบนี้ถ้ามีใจเป็นตัวกำหนด เป้าหมายคือประชาชนในความดูแลของเราเป็นสำคัญ ผลลัพธ์จะเต็มไปด้วยความงดงาม อย่าได้ท้อถอยเลยนะ พวกเราจะร่วมเดินทางไปด้วยกัน

ดีใจมากที่ทำกิจกรรมอย่งผ่านพ้นไปด้วยดี

เรื่องจริงของโรคเบาหวาน

สวัสดีครับจากทีได้พบวิธีการรักษาเบาหวานแบบหายขาดของคุณ

ธิดา อึ้งนภารัตน์ ที่ละเวปไซต์ได้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว หลังจากได้นำมาให้

ญาติๆลองทานดูพบว่าจริงอย่างในเวปบอกครับ น่าอัจศจรรย์มากดูไม่

น่าเชื่อว่าสมุนไพรไทย เมื่อเข้ายาเป็นสูตรโบราณแล้วจะสามารถรักษา

ให้เบาหวานหายขาดได้ ผมมีตัวอย่างคนไข้มานำเสนอดังนี้

ชื่อ ที่อยู่ปัจจุบัน ระยะเวลา ระดับน้ำตาล

ก่อน หลัง

1. นางเวียงนอม มีหวายหลึม 31/1ม.9 เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด 25 200 160

2.นางคำ บุปผาสร้อย 19ม. ต.ปาผาจ.ร้อยเอ็ด 15 300 108

3.นางทองใบ ศรีหนองจิก 221ม5ต.ดงลานอ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 3 300 90

4.นายอาทร รุ่งผดุง 158ม4ต.ดงลานอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด 10 220 106

5.นางบุญโฮม เจริญเขต 73 ม6 เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด 5 250 150

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างครับ ยังมีอีก 22 ท่านที่ไม่ได้ลงราย

ละเอียดไว้ ปัจจุบันที่ไปตรวจทุกๆ 3 เดือน ตรวจแบบนี้มา 2 ปีแล้วก็ยังไม่

พบว่ากลับมาเป็นโรคเบาหวานอีก

ซึ่งผมอยากทุกท่านได้ช่วยกันเผยแพร่ให้กับท่านอื่นๆที่เป็นและ

กำลังทรมานกับโรคเบาหวานให้หายขาดได้หากท่านอยากทราบถึง

ข้อมูลดังกล่าวท่านสามารถติดต่อโทรมาปรึกษาได้ที่ คุณ ธิดา ที่เบอร์

083-3459197

หากหายแล้วให้ยกมือท่วมหัวและระลึกถึงปู่ที่มาช่วยให้

ท่านหายขาดจากโรคร้าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท