เครื่องมือการสื่อสารและการสกัดความรู้


เครื่องมือการสื่อสารและการสกัดความรู้

สมาชิกภายในกลุ่ม CoP e-Learning ส่วนใหญ่เป็นนักคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์ คุณวิภัทร ศรุติพรหม จึงได้สร้างเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ขึ้นมาโดยประยุกต์ใช้งานมาจากกระดานสนทนาหรือหลายท่านเรียกว่า เว็ปบอร์ด

เว็ปบอร์ดแห่งนี้มีความสามารถที่จะส่งสำเนาข้อความของสมาชิกที่เพิ่มลงในเว็ปบอร์ดส่งไปยังสมาชิกท่านอื่นๆ ที่เป็นสมาชิก CoP e-Learning ผ่านทางอีเมลล์โดยอัตโนมัติ การใช้งานเว็ปบอร์ดสมาชิกส่วนใหญ่จะใช้สำหรับสื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่ม จะมีสมาชิกหนึ่งท่านทำหน้าที่เป็นผู้จัดการระบบส่งสำเนาข้อความผ่านทางอีเมลล์โดยอัตโนมัติ ซึ่งก็ทำหน้าที่ง่ายๆ คือ ใครติดต่อมาขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกก็เพิ่มที่อยู่อีเมลล์ของผู้สมัครเข้าระบบเท่านั้นเอง ซึ่งผมทำหน้าที่เหล่านี้อยู่

ปัจจุบันเรามีเครื่องมือในการสกัดความรู้ใหม่ซึ่งใช้ชื่อว่า “ mamboeasy ” สมาชิกทุกท่านสามารถเข้าไปสร้างเนื้อหาความรู้ในด้านต่างๆ ได้เอง โดยความรู้ที่ได้จะเป็นความรู้ที่มาจากคนจริงๆ ข้อดีของเครื่องมือชิ้นใหม่นี้เราสามารถสกัดความรู้จากสมาชิกได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น การติดตั้งโปรแกรม Pine บน Fedora Core 4 สมาชิกจะแสดงวิธีการติดตั้งโดยเป็นการแสดงลำดับขั้นตอนการติดตั้งจริงๆ

การจัดกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม CoP e-Learning มีการจัดขึ้น 3-4 เดือนต่อครั้ง ซึ่งเราเรียกกันภายในกลุ่มว่า ติว การติวกันในแต่ละครั้งเราจะใช้สถานที่หลากหลายไม่เป็นที่แน่นอนแล้วแต่ว่าสมาชิกท่านใดหรือหน่วยงานใดเสนอเป็นเจ้าภาพให้กับการจัดกิจกรรมบาง สถานที่การจัดกิจกรรมเราไม่มีสถานที่จัดที่แน่นอส่วนใหญ่คุณวิศิษฐ โชติอุทยางกูร แห่งคณะทันตแพทยศาสตร์รับอาสาเป็นเจ้าภาพให้ในเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ และเจ้าภาพที่จะต้องกล่าวถึงคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิ่มจิตต์ เลิศพงษ์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ที่กรุณาเป็นเจ้าภาพเรื่องค่าอาหารว่าง ค่าอาหารเที่ยง และอื่นๆ บางครั้งการติวมีสมาชิกมาไกลจากมอ.ตรังมาติวแบบเช้าไป-เย็นกลับ บรรยากาศการติวภายในกลุ่มไม่มีพิธีการอะไร บรรยากาศการติวแบบพี่สอนน้องจริงๆ และบ้างเรื่องที่พี่ไม่รู้ น้องก็สอนพี่ การติวที่ผ่านมามี 3 ครั้ง ครั้งแรกที่ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ วันที่ 2 มิ.ย. 2549 ครั้งที่สอง คณะทันตแพทยศาสตร์ วันที่ 2 ส.ค. 2549 และครั้งที่สาม คณะทันตแพทยศาสตร์ วันที่ 2 พ.ย. 2549 และก่อนจบการติวทุกครั้งเราก็จะมีการสรุปหรือภาษา KM ที่เรียกกันว่า AAR (After Action Review) ว่าสิ่งที่เราติวกันนั้นเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ใครไปต่อยอดหรือพัฒนาต่อครั้งถัดไปก็นำมาเสนอ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ และกล่าวขอบคุณเจ้าภาพทุกครั้ง
      และเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับ KM คือ บล็อก (Blog) สมาชิกหลายท่านได้เขียนบล็อกบน http://gotoknow.org

คำสำคัญ (Tags): #cop#e-learning#moodle#opensource
หมายเลขบันทึก: 96583เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยอดเยี่ยมเลยนะคะ สำหรับกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมา ถือได้ว่าชุมชน e-Learning เป็นตัวอย่างที่ดีมากของการรวมกลุ่มชุมชนแล้วมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดกัน ความรู้ที่ไหลเวียนแลกเปลี่ยนนำไปปรับใช้ หากได้นำมาเผยแพร่ในวงกว้างอย่าง GotoKnow ก็ยิ่งน่าจะได้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นนะคะ เชื่อว่าแวดวงมหาวิทยาลัยตางๆคงจะมีผู้สนใจใช้งานเรื่องเหล่านี้อยู่มากมาย

ขอบคุณคุณอำนาจที่นำมาบอกกล่าวเล่าให้รู้สึกดีๆ ชื่นชมและขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท