เส้นทางงานข้อมูล


ข้อมูลข่าวสาร, การจัดการความรู้

จากการไป Workshop ASII ที่อินโดนีเซีย มีเรื่องนึงที่ผมนำมาใช้หากิน ตามการอบรมต่างๆ โดยเฉพาะการอบรมเรื่องของศูนย์ข้อมูล นั้นก็คือเรื่องของกระบวนการทำงานเรื่องข้อมูล โดยผมจะใช้ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ครับ

 

 

 

 1. เริ่มงานการรวบรวมข้อมูล
||
\/
2. วิเคราะห์ และ ติดตามข้อมูล (จัดหมวดหมู่ ดูแนวโน้ม)
||
\/
3. ทำข้อมูลให้กระจ่างและชัดเจนขึ้น
||
\/
4. เผยแพร่ข้อมูลหลัก
||
\/
5. เปิดให้มีส่วนร่วม
||
\/
6. หาทางเลือกในการแก้ปัญหา หรือ พัฒนา

ยกตัวอย่างเช่น งานของเครือข่ายสิ่งแวดล้อม (www.thaienvirovment.org ) บางท่านคงนึกออกว่าทุกๆ ปี เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจำทำหนังสือ สรุปสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประจำปีออกมา การทำงานก็ใช้กระบวนการแบบนี้เช่นกันนั้นก็คือ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี ซึ่งข้อมูลจะมาจากแหล่งหลักๆ 3 แหล่งด้วยกันก็คือ 1. ข่าวสิ่งแวดล้อมจากสื่อมวลชน 2. ข้อมูลทางวิชาการ 3. สถานการณ์จริงจากองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ

เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ระดับนึงแล้ว เราจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้ โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล และดูแนวโน้มของข้อมูลว่าจะออกมาทิศทางใด อาทิ การรวบรวมข้อมูลด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สิ่งที่พบก็คือ เรากำลังเผชิญกับ "ภาวะโลกร้อน" และต้องเจอกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น จากนั้นเริ่มทำข้อมูลที่รวบรวมมาให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งเรียบเรียงใหม่ ทั้งใช้ตาราง, กราฟ กรณีศึกษาที่ทำให้ข้อมูลชัดเจนและน่าเชือถือเป็นที่ประจักษ์ว่า โลกเราร้อนขึ้นอย่างไร เปรียบเทียบกับในอดีตแล้วเป็นอย่างไร สถิติภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างไร

เมื่อเราได้ชุดข้อมูลหลักแล้ว เราเริ่มทำการเผยแพร่ข้อมูลหลักนั้นก็คือการจัดทำหนังสือสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประจำปีนี้เอง จากนั้นเผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปในวงกว้าง แต่กระบวนการทำงานยังไม่จบแค่นั้น เพราะข้อมูลที่เผยแพร่ออกไป อาจจะยังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งอาจจะยังไม่ได้มีข้อเสนอที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา ดังนั้นทางเครือข่ายสิ่งแวดล้อมจึงจัดเวทีสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประจำปีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขุมชนมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งด้านนโยบาย หรือ เสนอกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา อาทิ เกิดนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ กิจกรรมดับไฟ 15 นาทีของกรุงเทพมหานครนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นว่า การทำงานข้อมูลที่เกิดผลสัมฤทธิ์นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลนั้นไปตัดสินใจเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในเรื่องนั้นๆ โดยต้องให้เกิดการมีส่วนร่วมเพื่อที่จะได้มีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด 

หมายเลขบันทึก: 96534เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เป็นประโยชน์ และน่าสนใจมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท