ขำกลิ้งลิงกับหมา (รายการคลายเครียดที่เหมาะกับสังคมในยุคปัจจุบัน)


ปังคุงฉลาดจริงหรือเปล่า งานนี้ทางทีมงานญี่ปุ่นเล่นมุข "จัดฉาก" หรือไม่ (เดี๋ยวเราตามไปพิสูจน์ความเป็นจริงกันดีกว่า ...ที่จะปล่อยหรือเก็บความสงสัยเอาไว้เฉยๆ...)

วันนี้เรารวบรวมผลวิจัยการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของ "ชิมแปนซี" ลิงสายพันธุ์เดียวกับปังคุงมาเป็นข้อมูล เพื่อช่วยคลี่คลายความสงสัยต่างๆ
จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เท่าที่มีในปัจจุบัน นักชีววิทยาเชื่อว่า ในอดีตกาลย้อนกลับไปไกลถึง 6 ล้านปีก่อน "มนุษย์" และ "ลิงใหญ่" มีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่ต่อมาได้วิวัฒนาการแยกจากกันเป็นสายพันธุ์ลิงใหญ่และสายพันธุ์มนุษย์อย่างเด็ดขาด ลิงใหญ่ที่ว่านี้ก็คือ ชะนี อุรังอุตัง กอริลล่า และชิมแปนซี ต้นตระกูลของปังคุง ดาราเด่นประจำรายการ "ขำกลิ้งลิงกับหมา" นั่นเอง

ชิมแปนซีนั้น มีรหัสพันธุกรรมเหมือนมนุษย์ถึง 96 เปอร์เซนต์ และยังแยกย่อยออกเป็น 2 พันธุ์หลัก ชิมแปมซีทั่วไป "Pan Troglodytes" กับ ชิมแปนซีแคระ "Pan Paniscus" หรือ "โบโนโบ"

ลิงชิมแปนซี พบมากในแอฟริกาและพื้นที่เขตป่าฝนมีอายุขัยราว 50-60 ปี แบ่งเวลาใช้ชีวิตอยู่เท่าๆ กัน ทั้งบนพื้นดินและบนต้นไม้ อุปนิสัยชอบอยู่รวมกลุ่มกันเป็นฝูงแบบหลวม ตั้งแต่ 10 ตัวไปจนถึง 100 กว่าตัว แต่ละฝูงจะหวงแหนอาณาเขตของตัวเองอย่างมาก เป็นเหตุให้เกิดการตะลุมบอนบ่อยครั้งกับลิงฝูงอื่นที่รุกล้ำเข้ามา

ลิงเพศผู้จะเป็นใหญ่ในฝูง และมีชีวิตยึดติดอยู่กับแม่ของมันจนวันตาย ตามปกติแล้ว ชิมแปนซีเพศเมียจะออกลูกครั้งละ 1 ตัว เมื่อคลอดออกมาแล้ว ลูกลิงจะยืนได้ด้วยตัวเองภายใน 6 เดือน แต่จะยังติดสอยหอยตามแม่ไปจนถึงอายุ 3 ปี จากนั้นเริ่มแยกจากอกแม่เมื่ออายุ 4 ปี และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 8-10 ปี

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ความฉลาดที่ชัดเจนที่สุดของชิมแปนซีก็คือ มันสามารถใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และเรียนรู้จากสิ่งที่เคยทำไปแล้วในอดีตนับเป็นความฉลาดที่คล้ายกับมนุษย์ แม้จะยังห่างกันหลายเท่าก็ตาม

หนึ่งในความฉลาดเฉลียวของชิมแปนซี ได้แก่
การเรียนรู้ที่จะนำเอาวัตถุรอบๆ ตัวตามธรรมชาติ มาดัดแปลงเป็น "เครื่องมือ" เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต ยกตัวอย่างเช่น นำเอา "หิน" กับ "ท่อนไม้" มาใช้เป็นอาวุธ และใช้หินเป็นเครื่องมือกะเทาะ หรือทุบเปลือกพืชต่างๆ ก่อนกินเข้าไป
นอกจากนั้น ยังนำเอา "ไม้" หรือ "กิ่งไม้" มาใช้เป็นเครื่องมือจับ "ปลวก" จากรังจอมปลวกมากินได้ด้วย


ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2547 คณะนักวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ติดกล้องวิดีโอเฝ้าบันทึกพฤติกรรมของชิมแปนซีในหลายพื้นที่ทั่วแอฟริกา จนพบว่า
พวกมันมีวิธีการจัดหาเครื่องมือเพื่อจับปลวกมากินอย่างเป็นระบบ นั่นคือ ชิมแปนซีจะเลือกกิ่งหรือท่อนไม้ที่เหมาะสมสำหรับเสียบเข้าไปในรังจอมปลวก เมื่อทะลวงจนเป็นรูเรียบร้อยแล้ว ก็จะสอดใบไม้ที่มีความเหนียวเข้าไปด้านใน เพื่อดึงปลวกออกมาจากรูอย่างง่ายดาย ขณะเดียวกัน ลูกชิมแปนซีก็จะมานั่งดูวิธีการหาเหยื่อของลิงรุ่นใหญ่ เพื่อจดจำ-ลอกเลียนแบบนำไปใช้ต่อไป และพบด้วยว่า มันเรียนรู้วิธีการนำกิ่งไม้ธรรมดาๆ มาทำเป็น "หอก" ใช้แทงฆ่าสัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหาร

อาหารของชิมแปนซีมีนับร้อยๆ ชนิด
ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ใบหญ้า พืชพรรณต่างๆ รวมทั้งแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็กิน "เนื้อสัตว์" ด้วยกันเช่นกัน
ขณะยังเป็นลูกลิง พวกมันจะกินผลไม้ทุกชนิด แบบไม่เลือกหน้า ไม่เลือกว่าสุกหรือดิบ อย่างไรก็ตาม เมื่อเติบโตขึ้นมา ชิมแพนซีจะเลือกกินเฉพาะผลไม้ที่ "สุกแล้ว" เท่านั้น

เวลาอยู่ไกลแหล่งน้ำ และต้องการหาน้ำดื่ม นักวิจัยพบว่า มันจะใช้วิธีเคี้ยวใบไม้จนยุ่ยเหมือนฟองน้ำ แล้วนำไปวางไว้ตามซอกหิน เพื่อคอยดักซึมซับหยดน้ำมาดื่มอีกที

ชิมแปนซียังสามารถ "แสดงสีหน้า" เพื่อบ่งบอกอารมณ์ต่างๆ ให้ลิงตัวอื่นรู้ เช่น ยามอารมณ์ดี เรียวปากจะดูเหมือนเวลาคนยิ้ม แต่ปากอ้าเล็กน้อย / ถ้าทำปากยื่นออกไปตรงๆ แสดงว่าต้องการอาหาร / ถ้าปากยื่นเผยอขึ้นไปด้านบน แปลว่ายอมแพ้คู่ต่อสู้ / ถ้าอ้าปากค้าง หมายถึงกำลังตื่นตกใจ หรือตื่นเต้นอย่างรุนแรง / หรือถ้าต้องการแสดงความเป็นศัตรูก็จะแยกเขี้ยวยิงฟัน ขนตรงใบหน้าตั้งชัน เพื่อข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม

ปัจจุบัน ประชากรชิมแปนซีลดลงอย่างน่าวิตก เพราะผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเปิดทางให้มนุษย์เข้าไปสร้างถิ่นฐานและทำการเกษตร อีกทั้งยังล้มตายเพราะโรคระบาด เช่น "อีโบลา" และถูกจับมาใช้ในการทดลองทางการแพทย์เพื่อผลิตยาให้กับมนุษย์

ชิมแปนซี คุณจ๋อแสนรู้

1. "ชิมแปนซี" เรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือทุบเปลือกถั่วให้แตกแล้วนำเนื้อในออกมากิน โดยนำถั่วไปวางบนหินแล้วใช้ก้อนหินขนาดพอๆ กับฝ่ามือทุบเปลือกจนแตก
2. "ชิมแปนซี" ที่ผ่านการฝึกฝน สามารถจดจำเสียงคำพูดสั้นๆ ของมนุษย์ และเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ ได้ เช่น เมื่อพูดว่าวงกลม เจ้าลิงชิมแปนซีชื่อ "คันไซ" ตัวนี้ก็ชี้ไปที่รูปวงกลมได้อย่างถูกต้อง
3. กิ่งไม้และท่อนไม้ถือเป็นสิ่งของประจำตัวของลิงชิมแปนซีเลยก็ว่าได้ เพราะใช้ได้ทั้งเป็นของขบเคี้ยวและเครื่องมือคุ้ยเขี่ย และล่าเหยื่อ
4. ลิง "ชิมแปนซี" ในสวนสัตว์ฮอนโนลูลู ใช้กิ่งไม้เขี่ยรังจอมปลวกเพื่อไล่ปลวกข้างในออกมากิน


..เมื่อคุณเห็นถึงความน่ารักแสนรู้ของเจ้าลิงชิมแปนซีนี้แล้ว คุณจะรักมันมากขึ้นหรือเปล่า?..

หมายเลขบันทึก: 95965เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนะคะ 

เพิ่งดูสารคดีของอังกฤษ เมื่อวานนี้เอง เขาเชื่อว่า ชิมแปนซี มี DNA เหมือนมนุษย์ถึง 99.4%  แต่เมื่อไปติดตามหลายๆอย่าง จนไปพบนักวิจัยอีกท่าน ซึ่งฝึก ลิง "โบโนโบ" ซึ่งฉลาดกว่า ชิมแปนซี (อย่างปังคุง) ได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อมีการฝึกมันรู้จักการสื่อสารด้วยเสียง และภาพอักษร ค่ะ

ปัจจุบัน....มีการค้นพบลิงที่ฉลาดที่สุดในโลก พันธุ์ "คาปูชิน" (ได้ดูสารคดีแล้วจำชื่อไม่ได้ แต่มาเห็นในหนัง จำได้เลยค่ะ) ถ้าใครดูหนังเรื่อง Night at the musuem ลิงตัวป่วนพระเอกตลอดเรื่อง นั่นแหละค่ะ  ในสารคดีจะทดสอบความฉลาดของมัน  ที่แน่กว่าใครคือ มันเป็นลิงที่รักพวกพ้อง รู้จักการแบ่งปัน และ มีความเท่าเทียมกัน (ต้องยุติธรรม) ทำอย่างไร หรือคะ ในสารคดี เขาพิสูจน์ค่ะ

ครั้งแรก  วางกล่องมีถั่ว อยู่ในกล่อง แต่ปิดฝาด้วยสก๊อตเทปที่รูกล่อง แล้ว มีหินคมๆ อยู่ใกล้ๆ พอปล่อยเจ้าลิงคาปูชิน มันใช้หินเจาะที่สก๊อตเทป หยิบ ถั่วมากินได้

ครั้งที่ 2  วางกล่องมีถั่ว เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป็นลิงตัวใหม่  และมีห้องติดกัน มีหินก้อนนั้น และปล่อยลิงตัวแรก (ที่รู้วิธีเจาะ แต่ไม่มีกล่อง) ระหว่าง 2 ห้อง มีช่องให้มือลอดผ่านได้เท่านั้น   เจ้าลิงตัวใหม่ ไม่มีที่เจาะ แต่เจ้าลิงตัวแรก มีแต่หิน  มันส่งหินให้ค่ะ แล้วเจาะเอาถั่วออกมาได้  ที่น่าทึ่งคือ ลิงที่เจาะกล่องได้ แบ่งถั่ว ให้ตัวที่ให้หินค่ะให้มากกว่า ที่ตัวเองกิน น่าทึ่งมาก (ดูสารคดี ชิมแปนซีวันนี้ มันไปเอากล้วย แต่ไม่แบ่งเพื่อนค่ะ)  เทปนี้ แสดงว่า คาปูชิน รู้จักการแบ่งปันค่ะ

ครั้งที่ 3 คนดูแล นำเหรียญ (แทนเงิน) วางในมือลิง แล้วให้มันส่งคืน จึงจะให้ถั่ว กลับคืน มันก็ทำตามและได้กินถั่ว (ในขณะที่อีกตัวนั่งมอง) ทำครั้งที่ 2 ก็ให้ถั่ว ครั้งที่ 3 ให้องุ่น  จากนั้น ปล่อยตัวที่นั่งมอง มา และทำเหมือนเดิม ให้ถั่ว พอทำซ้ำ มันไม่เอาถั่วค่ะ มันทิ้งเลย พอตัวแรกมาอีก ผู้ดูแลจะให้องุ่น เจ้าตัวหลังที่ยังไม่เคยได้องุ่น ไม่ยอม มาง้างมือ และเอาองุ่นไป เทปนี้แสดว่า คาปูชิน ต้องการความยุติธรรม ในเมื่อตัวแรกได้องุ่น มันก็ต้องได้องุ่น  น่าทึ่งมั้ยคะ

ตอนดูหนังหัวเราะให้ความกวน ของมัน และไม่สงสัยเลยว่ามันจะป่วนได้ เพราะความฉลาดนั่นแหละค่ะ

ลองอ่านคร่าวๆ ได้ที่
http://www.wellingotnzoo.com/animals/animals/primates/capuchin.html

ชอบดูรายการนี้เหมือนกัน น่ารักมาก ก็ยังคิดอยู่เหมือนกันว่าก่อนการถ่ายทำต้องมีการซ้อมกันหรือเปล่า  แต่ถึงอย่างไร ปังคุงกับเจมส์ก็ยังคงน่ารักทั้งคู่แหละค่ะ

ขอบคุณ คุณหุยมากๆค่ะ ที่นำสาระความรู้ที่มีประโยชน์มาฝากกัน

เมื่อคืนนี้ก็ได้ดู ปังคุงซื้อถ้วยกาแฟ ไปเป็นของฝากให้คุณมิยาซาว่า หลังจากไถลไถล ไปซื้อขามมากินเองซะเยอะแยะเลย

 

ขอขอบคุณอาจารย์ kanokporn...

  • ขอขอบคุณสำหรับบันทึกที่น่าสนใจมากครับ...
หลาน ๆ ติดกันมากค่ะ ทำให้เราได้นั่งดูและร่วมหัวเราะพร้อมกันค่ะ อิ อิ  คืนนี้มีอีกแล้วจะนั่งดูค่ะ

ขอบคุณ นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ มากๆค่ะ ที่ให้ความสนใจและสละเวลามาอ่านเรื่องราวบนบันทึกเล่มนี้

*ขอบคุณค่ะ*

          -กนกพร ตฤปอัชฌา-

^ขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจและเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นกันค่ะ^

อืม..เป็นบันทึกที่ได้ความรู้มาก ๆ เลย 

คนเราพัฒนาการมาจากลิง นี้เอง ถึงว่า เด็กบางคนเกิดมาเลยซนเหมือนลิง 55 (ล้อเล่นค่ะ)

ซิมแปนซี ที่ฉลาดนี้เพราะ มี DNA เหมือนมนุษย์ถึง 99.4%  นี้เอง งั้นคนที่.....(ซน).เพราะมี DNA เหมือนซิมแปนซี 99.4% รึเปล่าน๊ะ 55 (อะล้อเล่นอีกล่ะค่ะ)

ปังคุงกะเจมส์น่ารักดี ดู ปังคุงกะเจมส์ ก็ได้ยิ้มได้หัวเราะดีค่ะ

ขอบคุณบันทึกการเรียนรู้นี้ สาระดีดีจากปังคุงค่ะ น่าสนใจ น่าสนใจ ;p

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท