เข้าหน้าฝนแล้ว...มาทำความรู้จักกับโรคฉี่หนูกันเถอะคะ


โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis)

เข้าหน้าฝนแล้ว มาทำความรู้จักกับโรคฉี่หนูกันเถอะคะ

รคฉี่หนูคืออะไร?

โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) เป็นโรคที่มากับช่วงเวลาที่มีน้ำขัง หรือเกิดน้ำท่วมในประเทศไทย

โรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มสไปโรขีต ลักษณะเป็นขดเป็นเกลียว ขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ประมาณ 0.25 x 625 μm

Source: Perolat P, et al. (1998)

ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับโรคฉี่หนู?

1. เนื่องจากอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อพบมากในกลุ่มชาวไร่ ชาวนา ทำฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักๆของประชากรไทย นอกจากนี้ยังพบได้ในพนักงานทำความสะอาดท่อประปา คนที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ รวมถึงสัตวแพทย์

          การติดเชื้อ: ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ การติดต่อเกิดได้ในคน โดยมีสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น สัตว์กัดแทะ เช่น หนู, สุนัข, วัว, และ ม้า เป็นแหล่งรังโรค ซึ่งเชื้อเลปโตสไปร่าจะไปอาศัยอยู่ในท่อไตส่วนปลาย และมีการปล่อยเชื้อออกนอกร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ฉะนั้นเมื่อมีภาวะน้ำขังหรือน้ำท่วม เชื้อที่ถูกปล่อยออกมาจึงสะสมอยู่ในแหล่งน้ำนั้น และพร้อมที่จะแพร่กระจายไปยังคนเพื่อก่อโรค

          การติดต่อ: ผ่านทางบาดแผล โดยเชื้อจะไชเข้าบาดแผลเข้าเนื้อเยื่อ และสู่กระแสเลือด สุดท้ายไปยังไตซึ่งเป็นแหล่งรังโรค นอกจากนี้ยังมีรายงานการก่อโรคผ่านเยื่อบุตา

2. อาการของโรคฉี่หนูไม่มีอาการที่เด่นชัด อาการโดยทั่วไป มีอาการเหมือนเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ (undifferentiated febrile illness) ซึ่งอาการไข้ในกลุ่มนี้เกิดได้จากการติดเชื้อหลายชนิด เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียพวกริกเกตเซีย, ไข้หวัด (influenza virus), ไข้หวัดเดงกี่ (dengue virus), สครับ ไทฟัส (scrub typhus), และ มาลาเรีย ซึ่งพบเป็นโรคที่เกิดการระบาดได้ในประเทศไทย (endemic infection) อยู่แล้ว ฉะนั้นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ และร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ด้วยภูมิคุ้มกันของตนเอง จะเกิดอาการโรคฉี่หนู ซึ่งอาการที่เกิดตามมาได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดน่อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรงจะเกิดอาการดีซ่าน ไตวาย (icteric leptospirosis) หรือเรียกว่าอาการของโรค Weil’s disease

          การระบาด: พบการแพร่ระบาดทั่วโลก แต่พบมากในเขตร้อนชื้น อย่างเช่นประเทศไทย บราซิล อินเดีย นิคารากัว และ เปรู

การระบาดในประเทศไทยพบว่า ตั้งแต่ปี 2540 ประเทศไทยเกิดการระบาดอย่างรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีสใน 15 จังหวัด เขตภาคอีสานและก็แพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย การระบาดจะเกิดในฤดูฝน โดยระบาดมากในเขตชนบทแถบภาคอีสาน นอกจากนี้มีรายงานการติดเชื้อเลปโตสไปร่าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผู้ป่วยเดินย่ำน้ำในเขตตลาดสด

          การรักษา: ให้ยา doxycycline ขนาด 100 มิลลิกรัม โดยกินทุก 12 ชั่วโมงนาน 1 สัปดาห์ หรือ penicillin 1-1.5 MU ทุกๆ 4 ชั่วโมงนาน 1 สัปดาห์

ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกัน แต่มีกำลังพัฒนาอยู่ สำหรับประเทศที่ได้มีการทดลองใช้กันแล้วคือ ประเทศจีน คิวบา และรัสเซีย

          คราวนี้รู้จักโรคเลปโตสไปโรซิสกันแล้ว หวังว่าคงได้ให้ความรู้ไม่มากก็น้อยแก่ทุกๆท่านนะคะ ควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำในบริเวณที่มีน้ำขังนะคะ และระวังรักษาสุขภาพในช่วงหน้าฝนนี้ด้วยคะ.... 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.leptospirosis.org/

หมายเลขบันทึก: 95877เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับน้อง Li
  • ช่วงนี้เกษตรกรถูกน้ำที่ขังในไร่และนา
  • ถ้ามีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรจะช่วยได้มากทีเดียว
  • ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ

ฮิ ฮิ.................................... 

สบายดีนะครับSmiley Grad 4เข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมครับ

ขอบคุณพี่ขจิตและพี่ดลที่แวะมาเยี่ยมเยียนคะ

 

สวัสดีค่ะน้อง..กมลนารี

  • ครูอ้อยแวะเข้ามาอ่านบันทึกดีมีประโยชน์ค่ะ
  • วันหนึ่ง..ครูอ้อยจอดรถไว้  และเข้าไปประชุม  ฝนตกทั้งวัน  ครูอ้อยไม่รู้เรื่องเลย  จนกระทั่งถึงเวลากลับบ้าน  ครูอ้อยจึงเห็นว่า....รถของครูอ้อยจมอยู่ในน้ำตั้งครึ่งล้อน่ะค่ะ   ครูอ้อยต้องพับขากางเกงและเดินลุยไปที่รถ  เปิดประตูและโยนกระเป๋าเข้าไป  ส่วนตัวครูอ้อยก็ค่อยเข้าไปในรถ   หากระดาษทิชชู่เช็ดเท้า  พอขับรถกลับบ้าน  ก็คิดว่า  ....เมื่อถึงบ้านแล้วต้องล้างขา  อาบน้ำให้สะอาดที่สุดค่ะ...กลัวฉี่หนูจังเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • มาทักทายน้องสาว
  • ฝนตกมาก
  • กำลังจะไปอบรมให้ครูครับผม
  • อยากให้ครูอ้อยรักษาสุขภาพด้วยนะคะ ช่วงนี้ฝนตกประจำเลยคะ ไม่เฉพาะโรคฉี่หนูนะคะ ไข้หวัดอาจจะถามหาได้คะ
  • พี่ชายเราไม่ได้เจอกันหลายวันเลยคะ คิดถึงนะคะ
มาทักทายเพื่อนใหม่ครับ
ขอบคุณคะคุณย่ามแดง ยินดีที่ได้รู้จักคะ

แล้วอย่างนี้ถ้าเราซื้อหนูมาเลี้ยงอย่างหนุแกสบี้จะมีโอกาสติดเชื้อได้มั้ยค่ะ   ตอบด้วยนะค่ะ

 

ถ้าซื้อหนูแกสบี้มาเลี้ยง ซึ่งจัดว่าอยู่ในตระกูลสัตว์กัดแทะ (Rodents) ที่สามารถเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อเลปโตสไปร่าได้ หนูก็สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่คนได้

เราไม่สามารถบอกได้ว่าหนูที่ซื้อมามีเชื้อหรือไม่ เพราะหนูที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการของโรค นอกจากจะมีการตรวจทางซีโรโลยีหรือวิธีอื่นๆในห้องปฎิบัติการ

ฉะนั้น ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ในกรณีที่มีบาดแผล และล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ก่อนที่จะไปรับประทานอาหารหรือทำธุระกิจอย่างอื่น

การติดเชื้อโรคนอกจากจะได้รับเชื้อแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อยังขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และ ภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคลด้วยคะ

เพิ่งทราบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดเป็นโรคนี้ได้ ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์มากเลยครับ น้องรัก
ลาวรรณ์ ห้วยหงษ์ทอง

ขอบคุณที่ลงข้อมูลให้ได้ความรู้ เป็นเจ้าหน้าที่สธ.และมี CASE

ที่ต้องศึกษาพอดีเลย

ขอบคุณที่ลงเวบนี้ให้

โรคนี้เคยเป็นมาแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท