เล่าสู่กันอ่าน จากงาน YouMove


จากข่าวประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ : งาน YouMove เชิญชวน เข้าร่วม เสวนา การเซ็นเซอร์ต่างๆ ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2550  ผ่านมา  ต้องบอกว่างานนี้ เป็นงานที่เปิดมุมมองใหม่ เกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ได้อย่างหลากหลายและมีประโยชน์มากค่ะ <p>  งาน YouMove ในครั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ ประมาณ 40 คนค่ะ และได้ร่วมเปิดประเด็นการเสวนาได้หลากหลาย  ทำให้ได้เห็นมุมมองในเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ของสื่อต่าง ๆ มากมายค่ะ  ประกอบด้วยบรรยากาศสบาย ๆ ที่เต็มไปด้วยความเข้มข้นของการร่วมกันแสดงความคิดเห็น จึงทำให้งานนี้ หลาย ๆ ท่านที่ได้เข้าไปร่วมงาน ได้รับมุมมองและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสนุกสนานค่ะ</p><p>  เริ่มแรกของงาน  ผู้จัดงานได้เชิญคุณธนาพล มาเปิดประเด็นการเสวนาเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์หน้งสือค่ะ  โดยงานนี้คุณธนาพลได้เล่าถึงรับประสบการณ์เกี่ยวกับการเซ็นเซอร์เกี่ยวกับหนังสือ และเปิดประเด็นที่น่าสนใจ  เช่น แนวทางการเซ็นเซอร์สิ่งที่จะเขียนด้วยตัวเอง เป็นต้น</p><p>  วิทยากรท่านที่สอง คือ คุณซีเจ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ท่านได้เล่าเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านได้พบมาเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ค่ะ  และประเด็นที่น่าสงสัยของการเซ็นเซอร์หนังสือต้องห้ามค่ะ </p><p>  วิทยากรท่านที่สาม คือ อาจารย์จิตร์ทัศน์ ค่ะ อาจารย์ได้มาพูดเกี่ยวกับมุมมองของการเซ็นเซอร์เว็บไซต์  ซึ่งได้พูดในเชิงเทคนิคเกี่ยวกับการ block เว็บไซต์ และประเด็นที่น่าสนใจคือ การ block เว็บไซต์จะได้ผลหรือไม่ </p><p>   วิทยากรท่านที่สี่ คือ ดร.ไพบูลย์ ค่ะ ซึ่งท่านได้พูดประเด็นเกี่ยวกับกฏหมายสำหรับการกำกับดูแลเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต  สำหรับประเด็นนี้ได้มีการยกกรณีตัวอย่างของการฟ้องร้องกันในต่างประเทศให้ได้เห็นตัวอย่างกัน เพื่อทำความเข้าใจกันมากขึ้น และได้พูดคุยถึงประเด็นการใช้อำนาจในการปิดเว็บไซต์ต่าง ๆค่ะ </p><p>   วิทยากรท่านที่ห้า คือ คุณโดม ซึ่งเป็นวิทยากรที่ได้เสนอและเล่าประสบการณ์ที่ได้พบมาเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์บนระบบอินเตอร์เน็ตค่ะ และมุมมองจากผู้ประกอบการในธุรกิจผู้ให้บริการ ISP  เกี่ยวกับการบล็อกเว็บไซต์ต่าง ๆ ค่ะ </p><p>   จากการเปิดประเด็นเสวนาของวิทยากรทั้ง 5 ท่านแล้ว ยังมีผู้ร่วมงานท่านอื่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นการเซ็นเซอร์อีกมากมายค่ะ  งานนี้ต้องบอกว่า ไปแล้วคุ้มค่ะ เพราะได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ  เพื่อเปิดโลกการเรียนรู้ให้กว้างยิ่งขึ้น </p><p>   คราวหน้าหากมีงานดี ๆ อย่างนี้ จะนำมาประชาสัมพันธ์ให้ได้ทราบกันอีกนะค่ะ  เพื่อเป็นประโยชน์ของการสร้างสรรค์สังคม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันอย่างสนุกสนานค่ะ </p>

หมายเลขบันทึก: 95864เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณน้องมะปรางที่เล่าเรื่องงานดีๆแบบนี้ให้เราได้ร่วมรับรู้นะคะ ถ้าไม่ลำบากเกินไปและพอมีเวลา ขอแบบย่อยๆย่อๆมาเพิ่มด้วยได้ไหมคะ ฟังแต่ละหัวข้อแล้วน่าสนใจมากๆค่ะ ทำให้อยากรู้ว่าท่านว่ายังไงกันบ้าง

รูปใหม่น้องมะปรางสวยเข้มเหมือนตัวจริงแล้วค่ะ (รูปเก่าออกแบบสวยหวานน่ะค่ะ) 

สวัสดีครับ

หมู่นี้เปลี่ยนรูปหน้ากันบ่อย หล่อๆ สวยๆ ทั้งนั้น อยากเอาแบบมั่ง 

แวะมาดื่มน้ำชาครับ

น่าเสียดายนะครับ...  ที่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมฟังด้วย  ผมสนใจ  ประเด็นหัวข้อของท่าน  ดร.ไพบูลย์ มากครับ...  (กฏหมายสำหรับการกำกับดูแลเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต)  สิ่งนี้ดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรสำหรับบางคน..   แต่จริง ๆ  แล้วเป็นเรื่องที่น่าคิดครับ...  "ตัวหนังสือเพียงบรรทัดเดียว...  ก็สามารถสร้างปัญหาให้คนทั้งชาติ"  นะครับ...  ขอบคุณครับ
  • พี่โอ๋ค่ะ  ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ลงรายละเอียดลึก ๆ ไม่ได้ เพราะที่จดมาก็ไม่ละเอียดสักเท่าไหร่ เกรงว่าถ้าเล่าไปแล้วอาจจะทำให้เนื้อหาผิดพลาด เลยขอสรุปสั้น ๆ เพื่อให้เห็นภาพค่ะ
  • คุณสิทธิรักษ์ ลองเปลี่ยนภาพดูบ้างก็ได้นะค่ะ จะได้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ
  • คุณ ตั้ม ค่ะ ไม่ต้องห่วงค่ะ งานในลักษณะนี้ ยังมีโครงการจะจัดขึ้นอีก  หากได้รับข่าวมาอย่างไรจะแจ้งให้ทราบผ่านบล็๋อกประชาสัมพันธ์เช่นเคยค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นว่า จะเริ่มงานใหม่ มิ.ย 2550 ขอต้อนรับค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท