จับภาพ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่กรมทางหลวงชนบท


วันนี้ ได้มีโอกาสไปติดตามก.พ.ร. ไปจับภาพกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่กรมทางหลวง และกรมการค้าภายใน ซึ่งสองที่ีนี้เป็นสองใน สี่หน่วยงานรัฐที่เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของการนำเรื่องการมีส่วนร่วม

ของประชาชนมาพัฒนางานเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของประชาชน

ที่มาที่ไปของการไปจับภาพครั้งนี้ก็เนื่องจากสคส.และก.พ.ร. เขาจะร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของส่วนราชการที่เป็นต้นแบบเรื่อง

การมีส่วนร่วมที่ว่านี้แหละค่ะประมาณ เดือนมิถุนายนนี้ โดยจะเปิด โอกาสให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานเข้ามาเรียนรู้ แต่ก่อนที่จะพาต้นแบบของเราขึ้นเวที นั้นก็ต้องไปสัมภาษณ์กันตัวต่อตัวว่าที่ทำไปนั้นมีขั้นตอนกระบวนการ

อย่างไรเพื่อดึงทักษะและเทคนิคออกมาก่อนที่จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีจริงค่ะ

 มีอ้อ กับ ทีมคุณกลิ่นจันทร์ ไปจับภาพการมีส่วนร่วม แต่น้ำ (มีวาระแอบแฝง)แอบไปดมกลิ่นการจัดการความรู้ค่ะ

ที่แรกที่เราไปกันช่วงเช้าก็คือกรมทางหลวงชนบท ที่ได้เกินคาดก็คือ เริ่มต้น ท่าน ประศักดิ์ บัณฑนาค ผอ.สำนักกรมทางหลวงที่๒ สระบุรี ก็ได้เล่าถึงกระบวนการการจัดการความรู้ให้เราฟังก่อนที่จะไปถึงเรื่อง การมีส่วนร่วมเสียอีก (ทั้งๆ ที่เราบอกแล้วน่ะ ว่าเป็นวาระแอบแฝง) แต่ท่านก็กรุณาเราเป็นอย่างดี จนเห็นภาพว่า ที่นี่เขานำการจัดการความรู้ไปเป็นเครื่องมือการพัฒนาจริงๆ และที่สำคัญเป็นแบบฉบับที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย  แต่ตอนนี้ท่านได้โอนภารกิจนี้มาให้กับคุณ เจริญ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทำแล้ว ก็เลยถือโอกาสจีบเพื่อไปจับภาพในภายหลัง

 

หลังจากท่านได้เล่าเรื่องการจัดการความรู้แล้ว ก็เล่าถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กรมทางหลวงชนบทได้ทำ สิ่งที่เราไม่คาดคิดเลยก็คือว่า กรมทางหลวงชนบท เขาแคประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมากน่ะ ทั้งๆที่เพิ่งทำมาปีที่๒เอง สิ่งที่กรมทางหลวงเปลี่ยนบทบาทตัวเองก็คือ จากสั่งการหยิบยื่นให้ประชาชน มาเป็นการสนับสนุนให้ร่วมคิดร่วมทำ  และในที่สุดก็จะมีบทบาทไปเสริมพลังให้ประชาชน  โดยกระจายอำนาจให้ประชาชนรับผิชอลและตัดสินใจ มีทางเลือกที่เปิดกว้าง มากขึ้น

 

โดยแนวทางในปี ๕๐ นั้ เขาไปคัดสรรพวกองค์กรพัฒนาเอกชน อ.มหาลัย ผอ.สถาบันพัฒนาชุมชนมาเป็นคณะทำงานภาคประชาชน เพื่อฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง คือ ภาพเมื่อก่อนที่เราเห็นก็คือ รัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชน เข้ากันไม่ค่อยจะได้แต่กรมฯนี้กลับดึงเข้ามามีส่วนร่วม

อีกอันหนึ่งก็คือมีการเปิดช่องทางให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นก่อนการสร้างถนน โดยการจัดเวทีสาธารณะ ที่ไ่ม่เหมือนภาคราชการอื่นๆ จัดเช่น มีการคำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละชุมชน โดยจะใช้เวลาที่ชาวบ้านสะดวกมากกว่าเวลาที่กรมฯสะดวกซึ่งแม้จะเป็น

วันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องจัดเวทีให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น มีการคำนึงถึงบรรยากาศการทำเวที โดยสร้างความเป็นมิตรกับชาวบ้าน และไม่ได้เป็นการเกณฑ์ชาวบ้านมาแบบสั่งการ

นอกจากนี้ยังมีคำ คำหนึ่งที่ได้ยินจากท่าน ประศักดิ์ ก็คือ การตัดถนนผ่านชุมชนหนึ่งเส้น จริงอยู่ที่มันทำให้คนที่ต้องการขึ้นไปภาคอีสานหรือภาคเหนือสะดวก

สะบายมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงเทศกาล แต่ถ้าถนนนั้น มันตัดไปแล้วมันอาจจจะส้รางผลกระทบต่อชุมชน เช่น เด็กหรือชาวบ้านที่เคยใช้วิถีชีวิตอยู่ช่วงนั้นหากต้องเดินข้ามไปมา หรือมีโรงเรียน เสี่ยงต่อการเกิดอุลัติเหตุ กรมฯ รู้สึกเห็นใจชาวบ้านมากกว่า อะไีรอย่างนี้เป็นต้น

นี่คือเรื่องที่น่าประทับใจสำหรับกรมนี้ ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กรมนี้ดำเนินงาน ซึ่งดีมากๆ แ่ต่คงจะไม่ได้เอามาเล่าในเวทีนี้ใครสนใจ  สามารถเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีนี้ได้ ซึ่งนอกจากสองกรมนี้แล้วยังมี กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กับอีก๑ จังหวัด(จำไม่ได้) ช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายน เวทีนี้จะเกิดขึ้นแน่นอนค่ะ  

 

 

หมายเลขบันทึก: 95678เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท