“จะทำอย่างไรดี เพื่อให้ลูกน้องรีบรายงานหัวหน้าทันทีที่เกิดปัญหาในงาน” (2)


เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบแจ้งคนที่เกี่ยวข้องทราบ หาทางออกร่วมกัน ลงมือแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วก็สื่อสารให้คนอื่นรับรู้ วันหลังคนอื่นจะได้ไม่เกิดปัญหาแบบเดียวกันซ้ำขึ้นอีก แบบนี้เรียกว่า การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management

จะทำอย่างไรดี เพื่อให้ลูกน้องรีบรายงานหัวหน้าทันทีที่เกิดปัญหาในงาน” (1)  

เคล็ด (ไม่) ลับ ในการสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง  

       นอกจากการลดประเด็นความเกรงใจ (หรือลามไปถึงความเกรงกลัวด้วย) แล้ว   น่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง ให้เกิดความเป็นกันเองด้วย

             เช่น อาจเริ่มต้นด้วยการร่วมกินข้าวกลางวันหรือเย็นกันบ้าง  ระหว่างกินข้าว ก็พูดคุยเรื่องสัพเพเหระกัน  เรื่องส่วนตัวบ้าง  แต่พึงระวังอย่าให้ส่วนตัวมากเกินไปละกัน

             เมื่อมีความเป็นกันเองมากขึ้น  ให้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวพนักงานนั้นในการพูดคุยกับเขาบ้างในระหว่างที่อยู่ในองค์กร

             ลองใช้นโยบายเปิดประตู  เพื่อว่าหากใครมีปัญหา  ก็สามารถเข้ามาปรึกษาได้    แต่ทั้งนี้ ก็ต้องคอยสังเกตสีหน้าท่าทางของหัวน้าเองว่า พร้อมที่จะอยู่ในอารมณ์ของการรับฟังปัญหาของลูกน้องที่จะนำปัญหาเข้าไปบอกได้หรือไม่

             การเดินออกไปทักทายพูดคุยกับพนักงานบ้างวันละครั้ง 2 ครั้ง  แทนที่จะนั่งง่วนอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Manage by Walk Around หรือ MBWA  ก็จะช่วยลดช่องว่างลงได้มาก  

 

             การพูดคุยสัพเพเหระนั้น อาจจะดูเหมือนทำให้เสียเวลาทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการช่วยสร้างเสริมสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว  ซึ่งจะพบว่า ไม่เป็นการเสียเวลาเลย

             เมื่อ หัวหน้า กับ ลูกน้อง มีความเป็นกันเองแล้ว  เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา เขาก็จะรีบรายงานให้ทราบทันที เพราะว่าหัวหน้าคุยด้วยง่าย และไม่แสดงอารมณ์ขุ่นมัวเมื่อฟังปัญหา

             ส่วนเรื่องการมองโลกในแง่ดีของพนักงาน  โดยหวังว่าปัญหาต่าง ๆ สามารถแก้ไขได้โดยตัวเอง ไม่ต้องบอกนาย จนกระทั่งมันสายไปนั้น    หัวหน้าต้องสอนให้ลูกน้องคิดใหม่ว่า อย่ากลัวว่าจะเสียหน้า หรือถูกมองว่าไม่มีความสามารถแก้ปัญหาเล็ก ๆ ได้   แต่ที่จริงแล้ว การทำงานผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง หากไม่ผิดเลยก็คือการไม่ทำอะไรเลย

             อยู่ที่ว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบแจ้งคนที่เกี่ยวข้องทราบ หาทางออกร่วมกัน ลงมือแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วก็สื่อสารให้คนอื่นรับรู้ วันหลังคนอื่นจะได้ไม่เกิดปัญหาแบบเดียวกันซ้ำขึ้นอีก   แบบนี้เรียกว่า การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management   เพราะเป็นการเรียนรู้จากความผิดพลาด และนำความรู้นั้นไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ทำแบบนี้องค์กรของเรา ก็จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Organization ขึ้นมาได้  

        หากหัวหน้าชมเชยพนักงานที่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วลงมือแก้ พร้อมทั้งสื่อสารให้เพื่อนทราบ พวกเขาก็จะเปลี่ยนมุมมองจากการเสียหน้า กลายเป็นการได้หน้า เพราะทำให้องค์กรและเพื่อนได้ความรู้ขึ้นมา

คำสำคัญ (Tags): #expression#limelight#แนวคิด
หมายเลขบันทึก: 95603เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณแกบ

เรื่องการรายงานปัญหาให้หัวหน้าทราบ โดยส่วนตัวมีผู้บังคับบัญชามาแล้วมากกว่าสิบคน ที่เป็นสายตรง และมีทั้งที่เหนือกว่านั้น แต่บางทีเราต้องไปติดต่อด้วย จากประสบการณ์หัวหน้าเองมีส่วนสำคัญมาก ส่วนใหญ่ถ้าลูกน้องไม่กล้าบอก เพราะเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อบอกปัญหา หัวหน้าจะแสดงปฏิกิริยาทางลบ  แต่หัวหน้าบางคน พอลูกน้องบอกก็รีบช่วยกันหาทางแก้ไขทันที ต่อไปลูกน้องก็กล้าที่จะบอก

ต้องร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย ในหน่วยงานต้องตั้งกฎกติกา มารยาทร่วมกันตั้งแต่มาเป็นนายลูกน้อง ว่าสไตล์การบริหารงาน การจัดการภายในเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจกันแต่แรก ความเป็นกันเองของลูกพี่ ลูกน้องสำคัญมากอย่างที่คุณแกบพูดถึงจริงๆ ค่ะ โดยเฉพาะในสังคมไทยเรื่องความสัมพันธ์นี่สำคัญมากจริงๆ ค่ะ 

สวัสดีค่ะ  คุณ citrus

การใช้ความสัมพันธ์เป็นตัวช่วยในการเดินเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยดี เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมทุกสังคม   ซึ่งพึงระวังให้ใช้ในทางบวก ในทางที่เป็นคุณ  ดีกว่าใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเอง  คุณ citrus คงเห็นด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท