“จะทำอย่างไรดี เพื่อให้ลูกน้องรีบรายงานหัวหน้าทันทีที่เกิดปัญหาในงาน” (1)


CEO Disease คือความชัดเจนของข้อมูลที่ผู้บริหารได้รับจากบุคคลรอบข้างนั้นไม่ครบถ้วน เพราะว่าคนรอบ ๆ ตัวเขาไม่บอกข้อมูลที่สำคัญ

           วันนี้เป็นเรื่องบันทึกที่ได้จากการปฏิบัติของ คุณเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย อีกวาระหนึ่ง

จะทำอย่างไรดี เพื่อให้พนักงานรีบรายงานหัวหน้าทันทีที่เกิดปัญหาในงาน

           เรื่องมีอยู่ว่า
          
หน่วยงานหนึ่งมีงานนิทรรศการสำคัญเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่  พนักงานคนหนึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการเรื่องของโบรชัวร์   แต่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อโรงพิมพ์ไม่สามารถส่งงานได้ตามกำหนด  เนื่องจากกระดาษแบบที่ต้องการหมด  

พนักงานคนนี้รู้เรื่องตั้งแต่ 5 วันก่อนวันงาน แต่ไปบอกหัวหน้าใน 2 วันสุดท้าย   ทำให้หัวหน้าแทบจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้เลย

            เมื่อหัวหน้าถามพนักงานคนนั้นว่า ทำไมถึงไม่บอกแต่เนิ่นๆ  พนักงานตอบว่า  เกรงใจ เพราะเห็นว่าหัวหน้ากำลังยุ่งกับการเตรียมงานนิทรรศการ

             บังเอิญลูกน้องคนที่สนิทกับพนักงานคนนั้นบอกว่า  ที่เขาไม่บอกน่ะ นอกจากเกรงใจแล้ว  เขากลัวว่ามันจะดูไม่ดีในสายตาของนาย  เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเล็กๆ แบบนี้ได้  เขาจึงลองพยายามแก้ไขให้ถึงที่สุดด้วยตัวเองก่อน  เขามองโลกในแง่ดี โดยคิดว่าน่าจะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้เรื่องถึงหัวหน้า  เพียงแต่ว่าเรื่องที่เกิดมันหนักกว่าที่เขาคิด

              Mr. Daniel Goleman เรียกอาการนี้ว่า CEO Disease

              CEO Disease  คือความชัดเจนของข้อมูลที่ผู้บริหารได้รับจากบุคคลรอบข้างนั้นไม่ครบถ้วน เพราะว่าคนรอบ ๆ ตัวเขาไม่บอกข้อมูลที่สำคัญ  (โดยเฉพาะข้อมูลที่นายไม่พึงปรารถนาจะได้ยิน เช่น ข่าวร้ายต่างๆ) เพราะว่าผู้นำแสดงท่าทีว่าไม่ชอบฟังข่าวร้าย  

               ดังนั้น คนที่เขาจะบอกข้อมูลให้ผู้นำก็อาจจะกลัวไปเองว่า ขืนบอกไปแล้วมีหวังทำให้นายโกรธหรือหงุดหงิดเป็นแน่แท้ โดยเฉพาะหากนายเป็นคนที่ไม่เก็บอาการ หรือควบคุมอารมณ์ตัวเองด้วยแล้ว ยิ่งนายที่มีบุคลิกเป็นผู้สั่งการ หรือผู้บงการ หากใครขืนบอกข่าวร้ายบ่อย ๆ อาจจะถูกฟันในฐานะผู้ส่งข่าวสารได้

               เรื่องความเกรงใจก็เป็นเรื่องหนึ่ง  แต่หากสามารถสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง จนกระทั่งเกิดความเป็นกันเองขึ้นมาได้แล้วละก็  ความเกรงใจก็คงจะลดลงไปมาก ไม่เลวร้ายเหมือนเหตุการณ์นี้

               เคล็ด (ไม่) ลับ ในการสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง   (รอก่อน เพราะอยู่ตอนต่อไป)

คำสำคัญ (Tags): #expression#limelight#ข้อคิด
หมายเลขบันทึก: 94183เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท