พลังงานทดแทน


พลังงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวิถีชีวิต ส่วนเรื่องไร่นาทิ้งไปก็คงไม่ได้กินข้าวแน่ แต่การทำไร่นาก็เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างแยกไม่ขาด

คำ พลังงานทดแทน ดิฉันสงสัยว่าจะเป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับ ภะญุปฮ่ะ ป่า ญาฆา คือไม่มีความหมาย ไม่มีเนื้อหาใด ๆ ในการได้ฟังของชาวบ้าน

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปีนี้และปีหน้า จะเป็นช่วงที่พวกเราจะพากันขับเคลื่อนเรื่องของพลังงานในเรื่องต่าง ๆ ให้มันมาอยู่ในกำมือของชาวบ้าน และอยู่ในไร่นา ตามพละกำลังที่สามารถจะทำได้ เนื่องจากทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุบชาวบ้านเสียจนกระอัก แต่อย่างไรก็ตาม(อาจารย์แสวง เคยถามว่า จะไม่ทำเกษตรอินทรีย์แล้วหรือ ) คงไม่ได้แยกส่วนแบบนั้น ตอนนี้เลิกทำไร่ทำนา หรือทำการเกษตรแล้ว ดิฉันคิดว่า เราเคลื่อนงานพลังงานทดแทน ในฐานะที่ เป็นมิติที่เป็นปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญอยู่ เป็นการสนองตอบต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ๑) เป็นโจทย์ที่จะสร้างการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมที่อยู่ในวิถีชีวิต๒) เป็นการเชื่อมร้อยสัมพันธภาพของกลุ่ม เรียนรู้ ทดลองเรื่องเดียวกัน แล้วเอามาคุยกัน ๓) พลังงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวิถีชีวิต ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต เรื่องไร่นาทิ้งไปก็คงไม่ได้กินข้าวแน่ แต่การทำไร่นาก็เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างแยกไม่ขาด๔

      

 

 

 

 เตรียมน้ำมัน

 

    ตรวจน้ำมัน         

  ทดลองใช้ดูซิ

การทำไบโอดีเซล ที่พวกสมาชิกของเราได้ทดลองทำตั้งแต่ปีที่แล้วได้สร้างให้

ชาวบ้านบางส่วนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตนเอง จากการทำสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ตนเองจะทำได้ด้วยมือ เคยแต่ซื้อเขามาตลอด ดังนั้นการแก้ไขปัญหาของตนเองที่เผชิญอยู่เฉพาะหน้าจาก

ปัญหาภายนอก กลไกภายนอก ได้ช่วยให้ชาวบ้านได้ลดค่าใช้จ่ายบางส่วน แต่ในระดับทีเหนือกว่านั้นที่เป็นผลสืบเนื่องมาด้วย กลับเป็นเรื่องของการตระหนักในขีดความสามารถในการพึ่งตนเอง อย่างไรก็ตามแม้จะได้รับการยืนยันจากผู้ที่ได้ทำการทดลองแล้ว ก็มีอีกหลายคนเกือบครึ่งต่อครึ่งที่ยังคงไม่มั่นใจในการที่จะใช้สิ่งที่ทำเองกับเครื่องจักร

เครื่องยนต์ของตนเองกลัวว่าเครื่องจะพัง บ้างก็เป็นปัญหาของแม่บ้านอยากใช้แต่พ่อบ้านซึ่งไม่เคยมาร่วมกิจกรรมกับเราไม่คิดว่ามันจะดี และเกรงจะทำให้เครื่องเสีย ดังนั้นในระดับอาจพอจะสรุปได้ว่า แม้ว่าความรู้นั้นจะได้จากการทดลองจากการวิจัยของผู้ที่มีความรู้ทั้งหลาย และทั้งที่เป็นไปเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ก็มิได้หมายความว่าชาวบ้านจะเปิดรับสิ่งนั้นได้ตามที่มันควรจะเป็นมากนัก พวกเราก็เลยพูดกันในหมู่ผู้ที่กล้าลองใช้ทั้งหลายว่า ก็ต้องปล่อยให้เพื่อน ๆ ของเราใช้น้ำมันแพงต่อไป

กระนั้นผู้นำในท้องถิ่นแท้ ๆ เมื่อเห็นชาวบ้านผลิตได้ก็เสนอแนะไปในซากความคิดแบบเดิม คือ ทำให้มันได้เยอะ ๆ สิ จะได้ขาย

ดิฉันสะใจ ที่แม่น้อยที่บ้านกลาง โต้ตอบไป
“ จะขายทำไม ของดีดี เราทำด้วยความตั้งอกตั้งใจ แบบนี้เราต้องใช้เอง ใช้ของดี เราต้องใช้ก่อน ขายทำไม”

จริงของแม่น้อย การจะขายไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฟันฝ่ากับความคิดแบบเดิมของผู้คน

“ ทำไมแพง “
“ทำไมสีไม่เหมือนกับน้ำมันทั่วไป”
“ทำไมกลิ่นไม่เหมือนกัน”
“ใช้แล้วเครื่องจะเป็นอย่างไร”

ทำไม ทำไมและทำไม ตามรูปแบบที่ถูกยัดเยียดไว้แล้วในหัว

ร้อยแปดคำถาม เพราะความคิดมันไม่ได้

มันมีรูปแบบของการบริโภคที่ถูกกำหนดไว้แล้วในหัว
ฉะนั้นก็บริโภคแบบนั้นไปก็แล้วกัน
พวกเราก็ทำในส่วนที่เราทำได้ และใช้ตามสำนึกที่เรารู้สึก ถ้าคนอื่นร่วมด้วยก็ดีไป แต่ถ้าไม่ร่วม ก็ต้องปล่อยเขาไปก่อน

การบอกเล่า การให้เหตุผล การชี้แจง ไม่ส่งผลมาก แต่ก็แปลก ว่า หากเป็นการโฆษณา หรือการมาหลอกลวงก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อจริง ๆ จัง ๆ พร้อมที่จะกระโจนไปพร้อมกับเขา

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่าน เคยได้ฟังทัศนะจากชาวบ้านหรือไม่ เรื่องของปุ๋ยเคมี ดิฉันเคยถามว่า
พ่อๆ แม่ๆ รู้ได้อย่างไรว่า จะเลือกใช้ปุ๋ยยี่ห้อไหนบ้าง แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร
ชาวบ้านบอกว่า
ก็ได้ยินมาจากวิทยุเขาบอกอย่างนี้!!!!

ส่วนผู้นำในท้องถิ่นแท้ ๆ เมื่อเห็นชาวบ้านผลิตไบโอดีเซลได้ก็เสนอแนะไปในซากความคิดแบบเดิม คือ ทำให้มันได้เยอะ ๆ สิ จะได้ขาย

ความคิดของผู้นำซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นแท้ๆ ยังคิดได้แบบนี้ ไม่ต้องไปหวังเลยกับผู้ที่ไม่ได้ใกล้ชิด ไม่รู้จักชนบท มันคงนึกภาพไม่ออกเลย มันถึงได้มีโครงการนั้น โครงการนี้ มาครอบชาวบ้านอยู่ร่ำไป

ทางฝ่ายผู้พิจารณาโครงการ ด้านสิ่งแวดล้อม ก็เห็นไปอีกแบบ
โครงการนี้เป็นเรื่อง พลังงาน น่าจะไปขอการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน

อ้าว.....แล้วการใช้น้ำมันที่มาจากพืช ปลอดเคมีภัณฑ์ การเผาถ่านให้มีประสิทธิภาพสูง การมีเตาหุงต้ม ช่วยประหยัดถ่าน ไม่ใช่การช่วยลดการตัดไม้ดอกหรือ?
การเอาน้ำมันเก่ามาสร้างให้เกิดผลผลิตใหม่ ...ไม่ใช่การช่วยลดมลพิษดอกหรือ?

งง .... งง....งง...

ดูเหมือนความสนใจในภาษา ในการเขียนมันมากไปหน่อย ทุกคนดูจะมุ่งตรงนั้น พอถึงตอนลงมือทำ ก็ปล่อยให้ทำไปตามยถากรรม

เขียน แล้วก็ ทิ้ง
อ่าน แล้วก็ ทิ้ง
วิพากย์วิจารณ์กันละเอียดยิบ ให้ข้อคิดอย่างเอาจริงเอาจัง แล้วก็ทิ้ง



ตอนลงมือทำ ก็จะเหลือแต่ชาวบ้านที่จะลงมือ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน


และส่วนหนึ่งชาวบ้านก็เป็นพวก

เขียน ก็ไม่ เขียน
อ่าน ก็ไม่ อ่าน

(กระนั้นดิฉันก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ให้อภัยได้ ก็คนมันอยู่ในวิถีอีกระบบหนึ่งนี่หว่า )

แต่ตอนลงมือทำ ทำสุดฤทธิ์สุดเดช ถูไถไปตามข้อจำกัดของตน ใช้กำลังเข้าแลก ดีนะว่ายังได้อาศัยปัญญาที่ส่งทอดต่อมาจากปู่ย่าตายายผสานกับการทำงานทดลองตรง ๆ ของพวกเขาที่ทำมาอยู่ตลอดชีวิต

กับผืนแผ่นดินที่ีทุกคนก็บอกว่า ทิ้งไร่ทิ้งนาไม่ได มิเช่นนั้นชาวบ้านจะโดดเดี่ยวล่อนจ้อนมากกว่านี้

ไม่รู้ว่า ๒ ส่วนนี้มันจะเชื่อมกันได้อย่างไร

เพื่อที่จะ นำไปสู่พัฒนาส่วนที่เป็นฐานที่แท้จริงของชะตากรรมพวกเราเอง  

หมายเลขบันทึก: 93324เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท