การศึกษาที่ซื้อต้นแบบ ( Franchise)


ในอีกแง่มุมหนึ่งถ้าหากผู้คนในสังคมไทย มีความรู้ไม่เพียงพอต่อการเผชิญกับสถานการณ์การศึกษาที่ซื้อต้นแบบ ( Franchise ) คำถามสำคัญคือสังคมไทยกับระบบการศึกษาไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างไร
                       ได้มีโอกาสอ่านรายงานผลการวิจัย   เรื่อง   ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทย ใน  5   ปี   ข้างหน้า    ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา        มีสาระสำคัญ ส่วนหนึ่ง ที่ควรคิด    ซึ่งในรายงานผลการวิจัย กล่าวไว้ว่า                              ยังพบว่ามีผู้เรียนจำนวนมากเรียนเพื่อทำข้อสอบให้ผ่านหรือเพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้ได้  มากกว่าเรียนเพื่อรู้และเข้าใจ  ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากระบบการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนท่องจำและสอบผ่าน  ส่งผลให้การปลูกฝังการรักการเรียนรู้อาจไม่สำเร็จเท่าที่ควร โดยมีผู้เรียนจำนวนมากตกอยู่ในสภาวการณ์เช่นนี้ รวมทั้งพบว่า สภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขัน  ทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ  ในขณะที่ระบบการศึกษายังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนได้เท่าที่ควร เนื่องด้วยการจัดการเรียนการสอน ยังมุ่งสอนให้คนคิดตามผู้สอนป้อนความรู้(Feeding  of  Knowledge ) มากกว่าให้คิดสิ่งใหม่ๆ  นอกจากนั้นยังพบว่า การสอนคุณธรรมจริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ  ด้วยการละเลยประกอบกับการไม่ได้มีผู้สอนที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคุณธรรมจริยธรรม   และเห็นว่า การขยายตัวด้านการลงทุนทางการศึกษาที่แข่งขันมากขึ้น จนกลายเป็นการแข่งขันระดับเวทีโลก โดยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลก พยายามทำการตลาดการศึกษาไปยังประเทศต่างๆรวมถึงไทยด้วย  ในขณะที่คนในสังคมไทยต่างต้องการหลักสูตรการศึกษาที่มีคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือระดับสากลเพื่อนำไปใช้พัฒนาความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ส่งผลให้มีแนวโน้มการนำเข้าหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรมแบบสำเร็จรูปที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้านจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ  ซึ่งมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยสถาบันการศึกษาที่นำเข้าหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการขององค์กร  ตลาดแรงงานและความต้องการของผู้เรียน  ซึ่งเรียกการจัดการศึกษาแบบนี้ว่า  การศึกษาที่ซื้อต้นแบบ ( Franchise)                        

                    ในทัศนะของผม   เห็นว่า   การศึกษาที่ซื้อต้นแบบ ( Franchise)    หากพิจารณาอย่างรอบคอบและครบในทุกมิติ    จะเห็นว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นกับบริบท   ในอีกแง่มุมหนึ่งถ้าหากผู้คนในสังคมไทย มีความรู้ไม่เพียงพอต่อการเผชิญกับสถานการณ์การศึกษาที่ซื้อต้นแบบ   (   Franchise   )   

คำถามสำคัญคือสังคมไทยกับระบบการศึกษาไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างไร    
หมายเลขบันทึก: 93097เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ระบบต้องปรับตัวเข้าหาสังคมครับ ไม่ใช่ให้สังคมปรับตัวเข้าหาระบบ

การศึกษาของฝรั่งนั้นดีก็จริงอยู่ แต่มันถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับคนและสังคมของเขา ไม่ใช่ของเรา

สำหรับคำถามของครู คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

 

ท่าน ผอ....

ประเด็นนี้ สำคัญมาก...

ประเด็นการศึกษาของไทยคงจะอีกนาน.............

เจริญพร

  • การศึกษาของเราเป็นการศึกษาแบบการเรียนเพื่อสอบครับ ผอ
  • ระบบการสอบและการสอนไม่สอดคล้องกัน
  • สอนอีกแบบสอบอีกแบบ
  • เราสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแต่ข้อสอบของการเข้าศึกษาต่อ การเข้ามหาวิทยาลัยเป็นแบบหนึ่ง
  • ค่อนข้างแย่ครับ
  • ขอบคุณครับ ผอ

ผอ. ศักดิ์พงศ์ ครับ

ผมเองก็ทราบข่าวและตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้อยู่ตลอดครับ ในประเด็นที่ว่าสังคมไทย เอาความรู้สำเร็จรูปของนอกมาใช้ แล้วไม่ปรับ ไม่แต่ง ผมไม่ได้หมายถึงแค่การศึกษา แต่มันมาทั้งระบบเลยครับ ระบบความคิด ความเชื่อ คุณค่าในการใช้ชีวิต การศึกษาเป็นเสมือนต้นทาง ซึ่งเราก็เห็นกันอยู่ว่ามีโรงเรียนนานาชาติอยู่มากมายเหลือเกิน ทำอย่างไรดี? ผมคิดๆๆ ด้วยปัญญาน้อยนิดของผม ผมนำปัญหานี้เปิดประเด็นคุยกับมิตรรัก ที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยสร้างครอบครัว ผมให้คำตอบพวกเขาเบาๆ ว่าก็ต้องเริ่มที่ครอบครัวนั่นล่ะ หลายๆ คนเห็นด้วย ผมไม่เห็นทางที่จะขยายความเข็มแข็งทางความคิดที่ดีไปกว่านี้เลยครับ ถ้าเริ่มได้ก็ค่อยๆ ขยายได้

บ้านเรามีโรงเรียนทางเลือกอยู่หลายแห่ง เท่าที่ผมทราบก็มี โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนสัตยาไส โรงเรียน Panyotai Walforf โรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้เ้น้นการเรียนรู้หลากหลาย และส่งเสริมความถนัดของเด็ก

ถ้าจะถามว่าโรงเรียนแบบนี้จะสู้กระแสโรงเรียนนานาชาติได้ไหม ผมตอบกับตัวเองว่าคงจะยาก หมายความว่าจะให้โด่งดังเป็นที่นิยมนั้น เห็นจะไม่มีทาง แต่ผมเชื่อว่าชุมชนในโรงเรียนแบบนี้จะยั่งยืนครับ และหวังว่าจะเป็นแรงผลักดันเพื่อสร้างความเข้าใจกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะเป็นคำตอบที่ ผอ. ถามไว้ก็ได้

อันนี้หนังชีวิตครับ คงต้องดูกันหลายตอนทีเดียว

P
นาย ขจิต ฝอยทอง เมื่อ อ. 29 เม.ย. 2550 @ 01:23 (242007)
  • การศึกษาของเราเป็นการศึกษาแบบการเรียนเพื่อสอบครับ ผอ
  • ระบบการสอบและการสอนไม่สอดคล้องกัน
  • สอนอีกแบบสอบอีกแบบ

ใช่ค่ะ  เห็นด้วยค๊า...น้องชาย

ส่วนการทำงานทีว่า...ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน  นี่พี่หนิงก็ชักมองไม่เห็นอ่ะค่ะ  สงสัยพี่อาจจะสายตาสั้นมากไป  555

  • ก่อนอื่นต้องขออภัย, ที่ต้องออกตัวว่าไม่ใช่นักวิชาการ  จึงอาจไม่สันทัดต่อเรื่องเช่นนี้นัก  กระนั้นก็ยังยืนยันว่า "บทความ หรือทัศนะเหล่านี้เป็นคำถามประวัติศาสตร์"  ที่เกิดขึ้นและยังคงอยู่กับแวดวงการศึกษาไทย
  • (1) .... ผมเห็นสอดคล้องกับทัศนะอาจารย์ขจิตที่กล่าวอย่างตรงไปตรงมาและกระชับ แต่ชัดเจนเหลือทนต่อความหมาย นั่นก็คือ "การเรียนเพื่อสอบ" ..   ใจจดใจจ่อ อยู่กับเป้าหมายของการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเป็นที่ตั้งชี้วัดด้วยผลคะแนน  โดยที่ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงสาระของการศึกษาที่ต้องพัฒนาการเรียนรู้ทักษะชีวิตอย่างแท้จริง   การเรียนจึงมุ่งสู่การท่องจำและท่องบ่นกับตำราเป็นส่วนใหญ่  ไม่มีการใคร่ใยดีต่อการเรียนรู้นอกหลกสูตรที่ล้วนเป็นแนวทางที่สามารถนำมาประยุกต์ต่อเติมต่อการเรียนเหล่านั้นได้อย่างดียิ่ง  จนกลายมาเป็นวาทกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตออกสู่สังคม  คือ "คนเก่งและคนดี"  แต่ที่เจ็บปวดที่สุดก็คือ  ท้ายที่สุดแล้วการเรียนและการสอบบางครั้งก็ไม่สัมพันธ์กันเอาซะเลย
  • (2)  ผมมองสังคมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาว่าขณะนี้กำลัง "อุดม"  ไปด้วยวิถีแห่งธุรกิจทางการศึกษา  มุ่งผลิตคนตามกระแสตลาดโลกาภิวัตน์ เป็นสำคัญ  ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรที่เกิดขึ้น  - เปิดรับอย่างมากมายและทำเงินอย่างมหาศาลต่อสถานศึกษานั้น ๆ ก็ล้วนแล้วเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับภาวะสังคมเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งบัญชี, การตลาด,  การเงิน, บริหาร ฯลฯ  ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่าสังคมได้ "วิวัฒน์"  ไปสู่ภาวะเช่นนั้นจริง  ...เป็นความนิยม ค่านิยมและแฟชั่นทางการศึกษา  แต่สาขาที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ มนุษยวิทยา  ปรัชญา หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมกลับดูกร่อยไปถนัดตา  ทั้ง ๆ ที่สาขาเหล่านี้สำคัญต่อการพัฒนาเจตคติที่ดีของการอยู่ร่วมและทำงานในสังคม มากเป็นพิเศษ   ครั้นดูสถิติผู้จบการศึกษาไปแล้ว  กลับกลายพบว่าบัณฑิตตกงานมากที่สุดก็คือสาขาที่มีการเปิดเรียนอย่างถล่มทะลาย  (ศึกษาจากกรณี กยศ.)     
  • (3)... กรณีข้อ 2 ที่ผมสะท้อนนั้นก็อาจมองในมุมที่ว่าสถานศึกษาเปิดสอนตามคามต้องการขององค์กร หรือตลาดแล้ว  แต่ปัยหาสำคัญก็คือ ต่างคนต่างเปิดรับอย่างหลากหลายจนล้นตลาด  และส่งผลต่อการล้นงานไปด้วยเช่นกัน
  • (4)  ผมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของผู้เขียนที่เกริ่นถึงปัญหาการเรียนการสอนด้านคุณธรรมที่ยังไม่เข้มแข็ง  ทั้งการขาดความรู้และแบบอย่างที่ดีจากผู้สอน หรือแม้แต่ผู้เรียนเองก็มีทัศนคติในเรื่องนี้อย่างเบื่อหน่าย  ก็ย่อมส่งผลให้การเรียนขาด ๆ เขิน ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย  หรือแม้แต่เชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยห้องเรียน...แต่เอาเข้าจริง ในชีวิตจริงก็ละเลยไปอย่างเปล่าเปลือง  และยิ่งสังคมรายรอบอ่อนแอต่อเนื่องเหล่านี้ก็ยิ่งพลัดหลงไปสู่วังวนนี้อย่างน่าใจหาย
  • (5) ท้ายที่สุด  ผมก็ยังอยากจะยืนยันว่า  ระบบการศึกษาควรต้องปรับเข้าสู่ระบบของสังคม  ซึ่งมีรากเหง้าที่ชัดเจนอยู่แล้ว ...  และการเรียนที่เม็กดำ ก็คือกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมของระบบการศึกษากับระบบของสังคมที่ชัดเจน  และมีพลัง
  • แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้ระบบการศึกษาได้สร้างกระบวนการที่เข้มแข็งก็คือ  โลกแห่งภาษา  ซึ่งบ่งชี้ให้รู้ว่า ปัจุบันสังคมเป็นสังคมสองภาษา  การศึกษาก็ต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เข้มแข็งทั้งภาษาแม่  และภาษาอื่น ๆ...
  • ขอบพระคุณนะครับที่ให้เวทีต่อการแสดงทัศนะ  ที่อาจจะดูเหมือนไม่เกี่ยว้องเลยก็ตาม ..(ตามประสานักกิจกรรมที่ไม่ใช่นักวิชาการ)
  • ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ
  • และขออนุญาตไปราชการส่วนตัวต่างจังหวัดต่อไป....(ยิ้ม ๆ )

บางครั้งเรือจ้าง เปลี่ยนลำเรือ ที่คิดว่าลำใหม่มันดีกว่า แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเรือลำใหม่ เป็นอย่างไร

ระหว่างการเปลี่ยนลำเรือ ข้ามจากเรือเก่าไปเรือใหม่ โดยไม่ได้คิดวางแผน หรือคิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนลำเรือ

และอาจเกิดการตกน้ำ หรือข้ามเรือไม่ได้

จะกลับไปเรือลำเก่า หรือลำใหม่ ก็ลำบาก

เกิดการเสียเวลา ที่ต้องรับคนลงเรือ ที่เค้าต้องรอ หรือไม่มั่นใจกับเรือลำใหม่ อาจได้รับแต่คำชมกับเรือลำใหม่เท่านั้น

วันนี้เรือจ้าง มองว่าเรือตัวเก่ากันเยอะ เรือลำใหม่ๆสวยๆ น่าสนใจก่อน

แล้วเรือลำเก่าไม่ดีแล้วหรือ

.

แวะมาทักทายครับ

  • การเรียนในปัจจุบัน มีปัจจัย หลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ครู  นักเรียน สื่อ  บรรยากาศ ผู้ปกครอง ท้องถิ่น หรือแม้ผู้สนับสนุนการศึกษาต่างๆ ล้วนแต่มีผลต่อการเรียนทั้งสิ้น โดยเฉพาะสภาพท้องถิ่น นี้เป็นปัจจัยสำคัญ ในการที่นักเรียนจะมีความสนใจ ในการเรียน เพื่อให้รู้และเข้าใจ หรือเรียนเพื่อเอาเฉพาะวุฒิการศึกษา  (ตามความคิดของผมนะครับ)

ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบแฟรนไชส์มาหลายปี  แฟรนไชส์มีส่วนดีคือง่าย แค่ทำตาม ไม่ต้องคิดมาก  แต่ข้อเสียคือ  ถ้าระบบมันเข้มงวดมากเกินไป  ก็ปรับเข้ากับท้องถิ่นไม่ได้

สนใจปรับปรุงมาตรฐานแฟรนไชส์ไทย  เชิญร่วมกันสร้างมาตรฐานที่  http://gotoknow.org/franchiseclinic

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท