Hydrocephalus.... พยาบาลดูแลอย่างไร (ตอนที่ 2)


"การพยาบาลโรคใดๆๆก็ตาม หลักของการดูแลคงนี้ไม่พ้น กระบวนการพยาบาล ที่พยาบาลทุกคนคงต้องตระหนัก"

ต่อจากตอนที่แล้ว....การพยาบาลสำหรับเด็กที่เป็น Hydrocephalus ต้องทำอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นพยาบาลคงต้องใช้กระบวนการพยาบาล คือ

1. Assessment : ประเมินภาวะการพยาบาลที่จำเป็นและสำคัญคือ การวัดรอบศีรษะ การประเมินอาการ IICP เช่น กระหม่อมหน้าโป่งตึง กระหม่อมบุ๋มถ้าในกรณีที่มีการผ่าตัดแล้วเปิดให้น้ำไขสันหลังไหลมากเกินไป  pusle pressure กว้าง ร้องเสียงแหลม ซึม อาเจียนพุ่ง ฯลฯ ปริมาณน้ำไขสันหลังที่ออกภายหลังการผ่าตัด

2.Nursing Diagnosis : ถ้าเรานึกถึงการคิดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ค่อนข้างจะลำบาก และถ้าเป็นพยาบาลก็คงไม่ค่อนอยากจะเขียน ซักเท่าไหร่ ทำอย่างไรให้การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลให้ง่ายเข้าเมื่อต้องให้การพยาบาลภาวะ hydorcephalus เช่น

- อาจเกิดภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูงเนื่องจากทางเดินของน้ำไขสันหลังอุดกัน

- อาจเกิดภาวะติดเชื้อเนื่องจากมีการอุดตันของการใส่สาย v-p shunt

-เสี่ยงต่อภาวะการเกิดแผลกดทับเนื่องจากการเคลื่อนไหวของศรีษะลำบาก

-ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปจากการมีศรีษะโต ฯลฯ

3. Planning:  ส่วนใหญ่จะพิจารณาตามอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นหลัก

ถ้าก่อนผ่าตัด ต้องมีการวางแผนเตรียมผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจก่อนผ่าตัด การวางแผนป้องกันการติดเชื้อ การวางแผนในการป้องกันภาวะ IICP

ถ้าหลังผ่าตัด ต้องวางแผนป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สาย V-P shunt การวางแผนป้องกันการกดทับจากศีรษะโต การวางแผนป้องกันภาวะ IICP

ถ้าก่อนกลับบ้าน ต้องวางแผนให้ครอบครัวมีความเข้าใจในการดูแลเมื่อกลับบ้านถ้าผู้ป่วยมีการใส่สาย V-P shunt การดูแลและสังเกตอาการ IICP การดูแลเกี่ยวกับการได้รับ Antibiotic ฯลฯ

4. INtervention: มีตั้งแต่การวัดรอบศรีษะทุกวันเวลาเดียวกัน การประเมินและสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ก่อให้เกิดภาวะ IICP การบันทึกสารน้ำไขสันหลังเพื่อที่จะให้ NSSทดแทนในปริมาณที่สารน้ำออกมา การพลิกตะแคงศรีษะหรือใช้ผ้านุ่มรองศีรษะ การ Clam สาย ventriculostomy ถ้าต้องการให้เด็กลุกนั่งหรือเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว ฯลฯ การดูแลเหล่านี้แค่เป็นการพยาบาลเบื้องต้นที่ยังไม่ครอบคลุมการดูแลแบบองค์รวมหรือการดูแลแบบครอบครัวมีส่วนร่วม

5. Evaluation : พยาบาลต้องมีการประเมินผลและมีการปรับเปลี่ยนการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอภายใต้การประเมินให้รอบครอบและให้ครอลคลุมตามหลักการพยาบาลหรือหลักทฤษฎีการพยาบาลที่เชื่อถือกันเอง

ท้ายที่สุดแล้ว "การพยาบาลโรคใดๆๆก็ตาม หลักของการดูแลคงนี้ไม่พ้น กระบวนการพยาบาล ที่พยาบาลทุกคนคงต้องตระหนัก" เพราะจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กตัวน้อยที่มีความผิดปกติได้ในที่สุด

 

คำสำคัญ (Tags): #การพยาบาลเด็ก
หมายเลขบันทึก: 92266เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
ขอบคุณมากค่ะที่ให้กำลังใจ

ขอบคุณมากเลยค่ะ พอดีว่าหนูจะได้ทำcare conference เรื่องนี้อยู่ค่ะ

ดีใจมากคะที่ได้ข้อมูลนี้ ทำ care conference อยู่พอดี ขอบคุณค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคใรระบบทางเดินอาหารควรดูแลอย่างไรบ้างค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องโรคHydrocephalusด้วยค่ะ

การดูแลเด็กที่ทำผ่าตัด vp shuntควรดูแลอย่างไรบ้างค่ะ

ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลหลังทำvp shunt ค่ะเพราะลูกสาวเพิ่งทำมา

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆน่ะครับ กำลังทำ case con เรื่องนี้อยู่พอดีเลยครับ

อยากทราบว่าการดูแล Reservior จะกดได้บ่อยหรือไม่เพราะเกิดความขัดแย้งกันในหน่วยงาน มีหลายทฤษฏี กดบ่อยดีป้องกันการอุดตัน หรือไม่ดีเป็นอันตราย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้คะ มีประโยชน์มากเลยคะ ดูเว๊บนี้ประจำเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท