แนวคิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (1)


บทนำและแนวคิดพื้นฐานการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

            การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่มีความพยายามที่จะใช้สื่อเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  จากครูสู่นักเรียน  โดยการวิจัยสื่อแต่ละชนิดว่าส่งผลอย่างไรต่อผู้เรียน  สื่อแต่ละชนิดส่งผลแตกต่างกันหรือไม่  คุณลักษณะแต่ละชนิดภายในสื่อส่งผลต่างกันหรือไม่  การใช้และการนำเสนอสื่อว่ามีผลอย่างไร  ตลอดจนการนำทฤษฎี  แนวคิดอื่นมาผสมผสานเข้ากับสื่อมีผลอย่างไร  ซึ่งเห็นได้ว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีพัฒนาทั้งในทางวิธีการและความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยี  ที่สามารถทำการวิจัยได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

แนวคิดพื้นฐาน               

        จากจุดเริ่มของศาสตร์ทางด้านโสตทัศนศึกษา  หรือเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นสื่อที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการที่ส่งผลต่อการรับรู้  และเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก  การวิจัยได้มุ่งเน้นที่การตรวจสอบสื่อเหล่านั้นว่าส่งผลต่อผู้เรียนในด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง  ซึ่งสรุปแนวคิดสำคัญได้  ดังนี้

        1.       สื่อส่งผลต่อรับรู้หรือไม่  อย่างไร

        2.       สื่อส่งผลต่อการจำ  การระลึกได้หรือไม่  อย่างไร 

        3.       สื่อส่งผลต่อเจตคติมากน้อยเพียงใด  เช่น  ความชอบ  ความสนุก  เป็นต้น 

        4.       สื่อส่งผลต่อการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด  และอย่างไรฯลฯ               

         ในการวิจัยสื่อในแนวคิดนี้  ได้ทำการวิจัยสื่อแต่ละชนิดแยกออกอย่างอิสระ  เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนว่า  สิ่งที่เกิดในตัวผู้เรียนเกิดจากผู้เรียนได้มีประสบการณ์ผ่านจากสื่อนั้นจริง

หมายเลขบันทึก: 92175เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อาจารย์ ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกับอาจารย์ครับ

ยินดีเช่นกันครับ หวังว่าจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคตต่อไป

หัวข้อวิชาชีพ ... น่าสนใจครับ (แอบตามอาจารย์รุจโรจน์มาครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท