สมองคน กับ คอมพิวเตอร์


ถ้าเราเอา   " ๒๓ +  ๒ =  ? "  ไปให้เด็ก ป. ๔  ดู  สิ่งเร้านี้จะ "เข้าไปในสมองเด็กทางตา"  และเรา"เชื่อ"ว่า มันจะเข้าไปถึงสมอง  และ "เชื่อ"ว่า สมองจะ "คิด"  --  สมองเป็น "ผู้คิด" ---  แล้ว "ตัดสินใจ" ตอบสนองออกมาทางปากว่า "๒๕ ครับ" 

ถ้าเราถามต่อไปว่า "เธอกำลังทำอะไรอยู่"  เด็กจะตอบว่า "ผมกำลังคิดอยู่ครับ"  ---  "เธอรู้ได้อย่างไรว่าเธอกำลังคิด"  ---  "ผมรู้สึกตัวว่าผมกำลังคิดอยู่" (รู้สึกตัวนี้คือ Conscious)

คราวนี้เราเอาโจทย์ข้อเดียวกันนี้ไปป้อนคอมพิวเตอร์บ้าง   มันก็จะตอบออกมาว่า ๒๕  เหมือนกัน  แสดงว่าคอมพิวเตอร์ก็"คิด"ได้ "เหมือนสมอง?"

แต่ คอมพิวเตอร์ "ไม่รู้สึกตัว" เลยว่ามันกำลังทำอะไรอยู่ !

สมองกับคอมพิวเตอร์จึง "เหมือนกัน" ในแง่ที่คิดได้คำตอบเหมือนกัน  แต่ "ต่างกัน" ตรงที่ คอมพิวเตอร์ "ไม่รู้สึกตัว" แต่คน "รู้สึกตัว"

และเราเรียกว่า คอมพิวเตอร์"ไม่มีจิต"  ในขณะที่เรียกว่าคน "มีจิต" !!

ฉะนั้น  "ผู้คิด" ก็คือ "ก้อนสมอง"(วัตถุ) ในกรณีคน  และ "เครื่องคอมพิวเตอร์"(วัตถุ) ในกรณีคอมพิวเตอร์!!!

หาใช่ "สิ่งที่เราเรียกว่าจิตไม่ ?!!! "

หรือว่า "เราใช้คำว่าจิตผิดเป้าหมายไป ?"

หรือว่า "ก้อนสมอง(วัตถุ) กับ ความรู้สึกตัว(อวัตถุ) คือสิ่งเดียวกัน??"

เออ --  แล้วมันจะเป็น "สิ่งเดียวกัน" ได้อย่างไร ???

หมายเลขบันทึก: 92122เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว....

เข้ามาเยี่ยม...

+ + - -

+ - + -

- + + -

+ - - +

....ฯลฯ.....

เจริญพร

 

นมัสการพระคุณเจ้า

??? ----  คงจะขัดใจจนพูดไม่ออก  เหมือนมีอะไรมาจุกคอหอย ละ ซิ ครับ  แฮ ๆ ๆ ๆ ......

ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

มิใช่ อย่างนั้น อาจารย์..

คอมพิวเตอร์ การประมวลผลจะเริ่มต้น ด้วย สัญญาณ + และ - ซึ่งจะถักทอเป็นความหมายขึ้นมาในที่สุด โดยการแปลความหมายจากสัญญาณทำนองนี้ เช่น +-     +-+-      ++----   +++---  ทำนองนี้ ซึ่งคอมพิวเตอร์แปลง + และ - เป็น 0 กับ 1 .... ทำนองนี้

สมองของคนมีประจุไฟฟ้าเบื้องต้น เป็น +- แต่ซับซ้อนมากกว่าจะแปลความหมายออกมาได้ ทำนองนี้

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ อาตมามีความเห็นว่ามีธรรมชาติเหมือนกัน... 

ถามว่าจิตอยู่ที่ไหน บางฝ่ายบอกว่า จิตจะเป็นตัวควบคุมสิ่งเหล่านี้ หรือสั่งสิ่งเหล่านี้ให้ทำงาน...

ส่วนพุทธปรัชญา ไม่ยอมรับความเป็นจิตโดยปรมัตถ์ แต่ยอมรับเพียงกลุ่มของธรรมชาติที่สมมุติขึ้นเป็นจิตเท่านั้น...

เมื่อมาถึงจุดนี้ ก็จะไปถึงหลักการอธิบายในเชิงสาเหตุ ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์บอกว่า

ผลอย่างเดียว มาจากเหตุอย่างเดียวก็มิใช่... ผลอย่างเดียวมาจากเหตุหลายอย่างก็มิใช่... ผลหลายอย่างมาจากเหตุอย่างเดียวก็มิใช่... แต่หลักการในการอธิบายว่า ผลอย่างเดียวมาจากเหตุอย่างเดียว มีอยู่

จากข้อความนี้ ยังมีอีกอย่าง คือ ผลหลายอย่างมาจากเหตุหลายอย่าง   นั่นคือ มติแห่งพุทธปรัชญา 

นั่นคือ พุทธปรัชญาเชื่อว่า ขณะปัจจุบันที่เรียกว่า ปรากฎการณ์ เป็นผลมาจากเหตุหลายอย่าง มิใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง... และคำว่า ปรากฎการณ์ เป็นเพียงที่ประชุมขึ้นมาของผลหลายๆ อย่าง แล้วก็ถักทอหรือสังเคราะห์ขึ้นมาให้ปรากฎประดุจว่าเป็นเพียง หนึ่งเดียว คือ จิต ...ประมาณนี้

แต่ อาตมาขี้เกียจอธิบาย เพราะบางอย่างก็ไม่มีพื้นฐาน   จึงใส่เพียง +- +- โดยคิดว่าอาจารย์คงจะเข้าใจ...

พักหลังนี้ อาตมาเบื่อกับอภิปรัชญาเหล่านี้ ถ้าว่าอาจารย์ไม่บอกว่า มีอะไรมาจุกคอหอย ..อาตมาคงจะไม่เรียงร้อยถ้อยคำนี้ขึ้นมา (...........)

เจริญพร 

นมัสการพระคุณเจ้า

อันที่จริงผมก็คิดเช่นนั้นครับ  คือ คิดว่า  + - + --  ก็คือ 1 - 0 , 1 - 0-0, .........  แต่หยอกล้อเล่น  เพราะคิดอยู่ในใจว่า  ท่านต้อง อึด อัด ใจ แน่ ๆ ครับ ??

คุณ "Man in Flame" ครับ

ผมเข้าไปเยี่ยมมาแล้วครับ น่าสนใจมากครับ  ผมได้แสดงข้อคิดเห็ไว้เล็กน้อยครับ  รู้สึกดีใจที่คุณเข้ามาเยี่ยมครับ  และทึ่งอย่างยิ่งในความคิดอันเฉียบแหลมของคุณครับ  ข้อเขียนอย่างนี้ผมอยากให้มีมากๆครับ

เรียน ดร.ไสว

     ดิฉันได้ติดตามอ่านบทความของท่านตลอด บทความของท่านอ่านแล้วเข้าใจได้ในขั้นตอนเดียวไม่ต้องมาทำความเข้าใจหลังจากอ่าน  อยากถามว่าไหวพริบมีความเกี่ยวข้องกับสมองและจิตหรือเปล่าค่ะ อยากถามมานานแล้วค่ะแต่มัวคอยคิดว่าเดียวท่านอาจารย์ก็เขียนมาให้อ่าน แต่ตอนนี้ทนไม่ไหวอยากรู้มากค่ะ หวังว่าอาจารย์จะให้ความกระจ่างแก่ผู้ไม่รู้ด้วยค่ะ

 

ผมขอโทษครับที่เข้ามาดูช้าไปเป็นเดือน คำถามว่า "ไหวพริบ" เกี่ยวข้องกับ "สมอง" หรือ"จิต" หรือเปล่า ? เกี่ยวข้องครับ คำว่า ไหวพริบ จัดอยู่ในกลุ่มของปัญญา แต่มีลักษณะพิเศษเพิ่มเข้ามา คือ "ความเร็วของการคิด รวมกับ การคิดหลายทิศทาง หรือ ความคิดสร้างสรรค์" ถ้ามองอย่าง ถ้ามองอย่างนักสรีรวิทยา ไหวพริบเป็นกิจกรรมของสมอง ถ้ามองอย่าง Cognitivist ไหวพริบ เป็นลักษณะหนึ่งของปัญญา แต่มีลักษณะพิเศษออกไป ดังกล่าวข้างบนนี้ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท