ไม่อยากขยับเพราะปวดแผล หรือ อยากอยู่เห็นหน้าพยาบาลกันนาน ๆๆนะ อิอิอิ


ทำไมต้องทำ " Early Ambulation" ด้วยยย... ปวดแผลนะ...

...... สวัสดีค่า.......หลังจากหายไปไม่กี่วันคงมีคนคิดถึงแน่เลย อิอิอิ ที่หายไปไม่ได้ไปไหนไกลหรอกคะยังคงอยู่แถว ๆ นี้หล่ะ (คอยเช็คเรทติ้ง) และวันนี้ได้นำเรื่องนี้มาฝาก การกระตุ้นให้ลุกจากเตียงหลังที่ทำการผ่าตัดวันแรก หรือที่เรียกว่า " Early Ambulation " ฟังดูแล้วน่ากลัวไหมคะ บางท่านอาจเคยสัมผัสความรู้สึกแบบนี้ สยอ....ง เพราะลำพังแผลผ่าตัดก็เจ็บและปวดอยู่แล้วถึงแม้นไม่มีการขยับตัว

      โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะปฏิเสธการขยับร่างกายภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากปวดแผล แต่ก็หล่ะนะพยาบาลซาดิสส์ (อะไม่ใช่) ที่ปฏิบัติงานก็บอกว่ามีความจำเป็นต้องทำพร้อมกับอธิบายเหตุผล 108 พันประการ เหมือนชักแม่น้ำทั้งห้า สรรหาเหตุผลว่าทำแล้วดีทำให้มีการฟื้นตัว และลดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ต้องอาศัยวิทยายุทธอย่างแรง+ ความสามารถพิเศษส่วนบุคคล(ที่สามารถลอกเลียนแบบได้ หุหุหุ) ทราบไหมค่ะว่ากลุ่มไหน บอกเลยดีกว่า กลุ่มเด็ก ๆ ที่ต้องได้รับการผ่าตัดนี่หล่ะคะ ทีมการให้การพยาบาลต้องมีความเข้าใจในความต้องการ และปฏิกริยา พฤติกรรมของพวกเค้า ในการที่จะทำอย่างไรให้พวกเค้าให้ความร่วมมือในการทำ การกระตุ้นให้ลุกจากเตียงหลังจากทำผ่าตัดวันแรก  ม๊ะมาดูกันว่าพวกเรามีวิธีอย่างไรที่ทำให้พวกเค้าให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

โดยส่วนใหญ่รพ.ของเรารับเด็กที่ผ่าตัดหัวใจ วิธีการกระตุ้นให้เค้า สนใจและให้ความร่วมมือนั้นอันดับแรก

1. ตามสูตรเราต้องมีการประเมินสภาพอาการก่อนเลยว่า พร้อมในการทำ Early ambulation หรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก้อไปต่อข้อ 2 กันเลย

2. จริง ๆ แล้วเรามีการพูดคุยกับตัวผู้ป่วยเด็ก ผู้ปกครองก่อนหน้าจะทำการ 1 วัน ทำการอธิบายให้ผู้ปกครองฟังถึงเหตุผลการทำ พร้อมกับทำสัญญาใจ ว่าในวันพรุ่งนี้ตอนเช้าเราจะมาลุกนั่งดูการ์ตูนกันนะคะ (พร้อมกับนำการ์ตูน หนังสำหรับเด็ก ที่ได้สะสมมา มาให้เลือกเลยว่าอยากดูเรื่องไหน...) เป็นงัยเคลิ้ม คารมพยาบาลอย่างเรา อิอิอิ จริง ๆ แล้วเป็นการสร้างแรงจูงใจ และเบี่ยงแบนความเจ็บปวด

3. ก่อนจะถึงวันพรุ่งนี้ วันนี้เราก็ติดสินบนด้วยให้ดูการ์ตูนที่เตียง 1 เรื่อง อิอิอิ ดูสีหน้าสนใจและยอมนั่งบนเตียง หลังจากนอนไม่ขยับ ซึ่งปฏิบัติการนี้ผ่านได้ด้วยดี การกระตุ้นให้เค้านั่งและขยับจะช่วยเรื่องของ การหายใจที่มีประสิทธิภาพ ปอดขยายตัวได้ดี ไม่แฟบ การขยับตัวจะช่วยในเรื่องช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ท้องจะไม่อืดแน่นท้อง แต่เราไม่หักโหมคะ

4. หลังจากตื่นนอน อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน ก็เริ่มมีการเรียกร้องจะดูการ์ตูนที่ได้สัญญากันไว้ พยาบาลก็ยิ้มเลยตามแผน และไม่รอช้าเดินไปลากทีวีพร้อมเครื่องเล่น มาให้ดูถึงเตียง นอกจากนั้นยังมีการสอนการไอที่ถูกวิธี ว่าไออย่างไรให้ไม่เจ็บมากและมีประสิทธิภาพ โดยการให้หายใจลึกๆ ประมาณ 2 ครั้งแล้วกลั่นไว้แล้วไอออกแรง ๆ พร้อมกับกอดผ้าห่มหนา ๆ แน่น เด็ก ๆ เค้าทำได้ดีและน่ารักมาก บางคนเดินไป ดูหนังก็นำหมอนเล็กที่เราเตรียมไว้ให้ไปด้วยเพื่อไอครับ (เค้าบอก)  นอกจากนั้นทางรพ.มีการจัดตารางในการผ่าตัดเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อง่ายและสะดวกต่อการดูแล เลยมีเพื่อนดูหลายเตียงบางที ผู้ป่วยผู้ใหญ่ก็มานั่งดูด้วย ก็เป็นบรรยากาศที่น่ารักไปอีกแบบ คุณว่าไหม

5. ก่อนหมดวัน พยาบาลได้พูดคุยและชื่นชม ว่าวันนี้เก่งมาก.... พรุ่งนี้เราจะลงมานั่งข้างเตียงกันนะคะ(หวานซะ .....เจ้าเลห์ อะไม่ใช่) และมีกิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจอีกหล่ะ น่านก็คือ มีสมุดวาดภาพ พร้อมสี (อุปกรณ์หลอกล่อ เพียบ อิอิอิ) บางคนวาดรูปพยาบาลสวยเริดเชียว และนำมาให้ไว้เป็นที่ระลึกหรือถ้าไม่ชอบเราก้อมี เกมส์ให้เล่น มีบอลให้ดูด (อันนี้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการบริหารปอดไห้แฟบคะ เรียกว่า "Deep Breathing exercise Device" เรียกกันติดปากว่า tri flow ) แต่ก่อนดูดต้องมีการสอนก่อนเสมอคะ เด็ก ๆ ก็สนุกกับการดูดลูกบอลขณะที่ดูการ์ตูนพร้อมผู้ปกครอง ( เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าบังคับให้ทำ ก็บริหารไปดูไป)

6. วันนี้เฟอร์นิเจอร์(อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาหรือเฝ้าติดตามอาการ)ถูกถอดออกหมดละ พวกเด็ก ๆ เค้าสามารถเดินไปไหนมาไหนได้ภายในหน่วยงานและเตรียมตัวย้ายออกจากงานผู้ป่วยวิกฤตไปที่งานผู้ป่วยใน วันนี้หล่ะ บางคนเริ่มร้องไห้เพราะไม่อยากย้าย น่าปลื้มใจจังเพราะเด็ก ๆ เค้าชอบและไม่ได้รู้สึกว่าพี่ ๆ พยาบาลทีนี่น่ากลัวแถมใจดีอีกต่างหาก เป็นปลื้มมมมมม มีบางรายหลังจากย้ายขึ้นไปแล้วแม่ต้องพาลงมาในตอนเช้า เนื่องจากนอนร้องไห้คิดถึงพี่พยาบาลที่ ICU อยากลงไปหาพี่ ๆ ที่ ICU มีความรู้สึกประทับใจคะที่เค้ารู้สึกดี ๆ แบบนี้

7. ก่อนกลับบ้านเค้าจะบอกผู้ปกครองว่าให้พามาลาพี่ ๆ พยาบาล และเมื่อมาตรวจตามนัด เค้าก็จะมาแวะเยี่ยมหามันเป็นความรู้สึกประทับใจคะว่าหลังจากกลับไปแล้วพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและสดใสตามวัย

         จากที่เขียนมาทั้งหมดอันเป็นการเล่าประสบการณ์ที่มีความประทับใจ รวมถึงเราเน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสมอ ในการได้ทำงานกับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือแม้แต่ผูใหญ่ก็ตาม  ถ้าเรามีใจในการให้บริการและระลึกอยู่เสมอว่าพวกเค้าก็เหมือนกับญาติ พ่อ แม่ หรือลูกของเราเมื่อเค้าเจ็บป่วยเค้าต้องการอะไรและเราต้องการได้รับการดูแลรักษาเอาใจใส่อย่างไร อย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อคือเราอยากได้รับการปฏิบัติอย่างไรก็ให้ปฏิบัติต่อผู้รับบริการเช่นนั้น

                                                                                                Dimples

 

 

หมายเลขบันทึก: 92068เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แบบนี้หละค่ะนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้เพื่อนๆนำไปต่อยอดทางความคิด

สวัสดีค่ะแวะไปเยี่ยมเยียนกันด้วยนะคะ จะไปcomment การทำนกับเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของ  มขที่นี่คะ

http://kmmed.kku.ac.th/phpBB/viewforum.php?f=19

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท