RFID เทคโนโลยีลดต้นทุน


RFID เป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ มีประโยชน์มหาศาล ถูกนำไปใช้ในงานต่าง ๆ มากมายเช่น การใช้ในห้องสมุดเพื่อตรวจสอบการนำเข้าออกของหนังสือ การนำไปใช้ในการรับส่งสินค้าเพื่อตรวจสอบการนำสินค้าเข้าออก การใช้ในห้างสรรพสินค้าเพื่อตรวจสอบการนำสินค้าออกจากห้าง แต่ทำไมเมื่อมีประโยชน์มากมายจึงมีการขยายตัวในการใช้น้อย

RFID เป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ  มีประโยชน์มหาศาล ถูกนำไปใช้ในงานต่าง ๆ มากมายเช่น การใช้ในห้องสมุดเพื่อตรวจสอบการนำเข้าออกของหนังสือ การนำไปใช้ในการรับส่งสินค้าเพื่อตรวจสอบการนำสินค้าเข้าออก การใช้ในห้างสรรพสินค้าเพื่อตรวจสอบการนำสินค้าออกจากห้าง แต่ทำไมเมื่อมีประโยชน์มากมายจึงมีการขยายตัวในการใช้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น    ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการลดต้นทุน  แต่องค์กรธุรกิจอยากได้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิตมากกว่า

ประเด็นวิพากย์คือ เทคโนโลยีลดต้นทุน กับเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต ท่านจะเลือกแบบใด

 

เทคโนโลยี RFID 

รู้จักกับ..อาร์เอฟไอดี

อาร์เอฟไอดี คือเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้เพื่อระบุตัวตนโดยคลื่นวิทยุ โดยจะประกอบไปด้วย ชิพหรือวงจรไอซี และลวดทองแดงที่ทำหน้าที่เป็นเสาอากาศ (Antenna) และตัวเครื่องอ่านสัญญาณวิทยุ และเซิร์ฟเวอร์

หลักการทำงานของเทคโนโลยีชนิดนี้ เมื่อชิพผ่านเข้าไปในพื้นที่ที่สามารถอ่านสัญญาณวิทยุได้ (Read Zone) ระบบจะสามารถเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยระบบไร้สายผ่านคลื่นวิทยุ โดยเครื่องอ่านจะอ่านข้อมูลจากชิพอาร์เอฟไอดี และส่งข้อมูลไปยังระบบเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะมีแอพพลิเคชั่นอยู่ในนั้นว่า ถ้าเป็นข้อมูลในแบบนี้จะทำอย่างไรกับตัวของที่ติดชิพ ตัวเครื่องอ่านสัญญาณวิทยุนี้จะสามารถรับสัญญาณวิทยุจากชิพได้ในพื้นที่ที่มีรัศมีตั้งแต่ 10 เซนติเมตรจนถึง 3 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับชิพที่ใช้ และสามารถกำหนดได้จากชิพว่าจะให้เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือ 2 ทางกับเครื่องอ่านก็ได้ และด้วยรัศมีการอ่านที่ไกลสุดเพียง 3 กิโลเมตรนี้ ทำให้สิ่งของติดชิพที่อยู่นอกพื้นที่จะไม่ถูกอ่านข้อมูล


เทียบข้อดี-เสียระหว่างอาร์เอฟไอดีกับบาร์โค้ด

อาร์เอฟไอดี จะสามารถอ่านข้อมูลได้เลย โดยไม่ต้องนำตัวของไปจ่อกับเครื่องทีละชิ้นๆ แบบบาร์โค้ด และด้วยความที่เป็นการส่งสัญญาณวิทยุทำให้อ่านข้อมูลได้ทีละมากๆ อ่านข้อมูลของได้ทีเดียวทั้งหมด ชิพสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ด ปลอมแปลงได้ยากกว่า ป้ายอาร์เอฟไอดีสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ข้อเสีย การใช้งานขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่นำไปใช้ คือปรับตามสภาพการใช้งาน ราคาสูงกว่าบาร์โค้ดมาก

http://www.nectec.or.th/bid/mkt_info_tech_RFID.htm

 

://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=M3222111&issue=2211

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2211 22 เม.ย. - 25 เม.ย. 2550

เทคโนฯ'อาร์เอฟไอดี' รัฐ-เอกชน ตื่นกระแสแห่ใช้งานจริง 
เทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หรือ อาร์เอฟไอดี (RFID: Radio Frequency Identification) กำลังเป็นเทคโนโลยีฮิตฮอต ที่ถูกจับตามอง เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์หลากหลาย แต่ในบ้านเราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่งเริ่มต้นขึ้นมาอย่างจริงจัง หลังจากปีที่ผ่านมาเกิดโครงการนำร่องการใช้งานอาร์เอฟไอดีขึ้นมาเพื่อจุดประกายให้เอกชนนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้งาน นอกจากนี้ปลายปีที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช. ยังได้อนุมัติให้ใช้คลื่นวิทยุ หรือคลื่นความถี่ ยูเอชเอฟ ระหว่าง 920-925 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อการใช้งานอาร์เอฟไอดี

++RFIDเทคโนโลยีมากด้วยคุณสมบัติ

ดร.นัยวุฒิ วงษ์โคเมท กรรมการผู้จัดการ บริษัทไออี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาระบบระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หรือ อาร์เอฟไอดี กล่าวว่าวันนี้บริษัทใหญ่ๆ ในทุกอุตสาหกรรมมีการนำอาร์เอฟไอดี ไปประยุกต์ใช้งาน แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากนัก คือเพียง 20-30 บริษัทเท่านั้น แต่ก็มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเชื่อว้าปีนี้หลายบริษัทมีแผนลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าว และน่าจะส่งผลให้มีการเติบโตของตลาดรวมประมาณ 20-50%

การนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ไปประยุกต์ของภาคอุตสาหกรรมต่างๆนั้น ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมอาหาร มีการนำไปใช้งานด้านความปลอดภัยอาหารและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (food safety and traceability) และการเพิ่มผลผลิต ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตนำอาร์เอฟไอดี ไปประยุกต์ใช้งานด้านการวางแผนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพการผลิต (QC) ตลอดจนกระบวนการผลิตต่างๆ ส่วนทางด้านโลจิสติกส์นั้นมีการนำไปใช้ในการขนส่งสินค้า การตรวจสอบสถานะสินค้า และรถขนส่ง รวมถึงการจัดคิวรถขนส่ง

นอกจากนี้ดร.ณัฐวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า ภาครัฐถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เอกชนนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้งานมากขึ้นด้วย โดยปีที่ผ่านมาได้เกิดโครงการนำร่องในการติดชิปอาร์เอฟไอดี ในวัว และสุกร เพื่อเก็บประวัติของสัตว์ อาทิ เพศ อายุ น้ำหนัก และประวัติการให้วัคซีน หรือโครงการนำร่องในการนำอาร์เอฟไอดี มาใช้ในอุตสาหกรรมส่งออกกุ้ง

สำหรับโครงการภาครัฐที่สำคัญทีนำไปใช้ปีนี้ คือ โครงการติดตั้งชิปอาร์เอฟไอดีในสุนัขของกรุงเทพมหานคร เพื่อบ่งชี้ว่าใครเป็นเจ้าของ โดยขณะนี้กทม. มีการจัดซื้อไมโครชิฟ ล็อตแรกแล้ว 50,000 ชิ้น พร้อมกับเครื่องอ่าน นอกจากนี้ยังมีโครงการอีโลจิสติกส์ ข้าวหอมมะลิ ที่มีการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอที ไปใช้งานเพื่อตรวจสอบและลดต้นทุนการขนส่งข้าว รวมถึงโครงการนำไมโครชิปอาร์เอฟไอดี ไปประยุกต์ใช้งานทดแทนรหัสแท่ง (barcode) ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ส่วนการพัฒนาของเทคโนโลยีของอาร์เอฟไอดีในประเทศไทยปีนี้นั้นคาดว่าจะมีการพัฒนาในหลายส่วน โดยจะมีไมโครชิปรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ และคุณสมบัติการทำงานที่ดีขึ้นออกมาสู่ตลาด ซึ่งความสามารถในการอ่านข้อมูลระยะที่ไกลมากขึ้น , มีหน่วยความจำที่มากขึ้น และมีความสามารถในการวัดอุณหภูมิของชิป ขณะเดียวกันระบบงาน หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานบนเทคโนโลยีดังกล่าวก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น

กรรมการผู้จัดการ บริษัทไออี เทคโนโลยีฯกล่าวเพิ่มเติบว่าแม้ว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกทช. จะมีการอนุมัติให้ใช้คลื่นวิทยุ หรือคลื่นความถี่ ยูเอชเอฟ ระหว่าง 920-925 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อใช้งานอาร์เอฟไอดีแล้ว แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทยอยู่ เนื่องจาก กทช. ยังไม่อนุมัติเพิ่มเติมในส่วนของกำลังส่ง หรือเพาเวอร์ อีกทั้งขั้นตอนการขออนุมัตินั้นภาคเอกชนยังต้องใช้เอกสารจำนวนมาก

++จุดได้เปรียบRFIDสายพันธ์ไทย

ขณะที่นายกานต์ โอภาสจำรัสกิจ วิศวกรออกแบบอาวุโส บริษัทซิลิคอน คราฟท์ จำกัด ผู้ออกแบบไมโครชิปอาร์เอฟไอดีของไทย กล่าวว่าปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาสู่ตลาด 2-3 ตัว อาทิ ชิปสำหรับทำเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ,ชิปอาร์เอฟไอดี ย่านความถี่ 13 เมกะเฮิร์ตซ์ สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและการวิจัย ซึ่งเชื่อว่าปีนี้ภาคอุตสาหกรรมจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยจุดได้เปรียบของชิปที่ผลิตในประเทศไทยนั้นคือราคาต่ำกว่านำเข้าจากต่างประเทศ 30-50%

นอกจากนี้บริษัทยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชิปอาร์เอฟไอที สำหรับติดตั้งในหอย และปลา เพื่อติดตามเลี้ยง การให้อาหาร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานในภาวะแวดล้อมจริงอยู่ คาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานเชิงพาณิชย์ประมาณกลางปีนี้ ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างการออกแบบชิป สำหรับใช้ติดตั้งบริเวณหัวกุ้ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ และคาดว่าประมาณปลายปีจะสามารถพัฒนาชิป ย่านความถี่ยูเอฟเอช 900 เมกะเฮิร์ตซ์ สำหรับโครงการที่ต้องการการอ่านข้อมูลระยะไกล อาทิ ใช้ติดตามรถยนต์ ออกมาสู่ตลาด

"ตอนนี้องค์กรสนใจอาร์เอฟไอดีมากขึ้น โดยเริ่มมีการออกแบบโปรเจ็กต์ ออกแบบการนำอาร์เอฟไอดีไปใช้รองรับกระบวนการทำงาน อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าตลาดยังใหม่ ต้องใช้เวลาในการให้ความรู้กับองค์กรในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปประยุกต์ใช้งาน ซึ่งคาดว่ากลางปีน่าจะมีโครงการที่นำอาร์เอฟไอดี ไปใช้งานเชิงพาณิชย์เกิดขึ้น"

++ฟังคำตอบจากผู้พัฒนาและให้บริการ

น.พ.สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอเดนทิไฟ จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกล่าวว่าต้องยอมรับว่าการเติบโตของอาร์เอฟไอดีไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ จะเห็นได้จากวอลล์มาร์ทเริ่มชะลอแผนการผลักดันให้ผู้ผลิตสินค้าที่ส่งของให้วอลล์มาร์ททุกรายติดป้ายอาร์เอฟไอดีทั้งหมดภายในปีนี้ออกไป เนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจริงในเชิงธุรกิจนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นจำนวนมาก

ส่วนในไทยนั้นที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งเริ่มต้นโครงการนำร่องการใช้งานเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปแล้ว แต่ใน 10 รายนั้นจะมีการใช้งานจริง 1-2 ราย เนื่องจากในการใช้งานจริงนั้นจะต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่ทั้งหมด ประกอบกับปีนี้เศรษฐกิจของประเทศมีการชะลอตัว ภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนเครื่องมือสร้างผลกำไร มากกว่าเครื่องมือลดต้นทุนอย่างอาร์เอฟไอดี

อย่างไรก็ตามตลาดอาร์เอฟไอดีในเมืองไทยช่วง 1-2 ปีนี้ยังมีการเติบโตขึ้น โดยในแง่ของจำนวนยูนิตนั้นมีการเติบโตจาก 2-3 ปีที่แล้ว 10 เท่า แต่ในแง่ของรายได้อาจเติบโตขึ้นประมาณ 3-4 เท่าๆ นั้น เนื่องจากราคาของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีนั้นลดลง


สำหรับตัวอย่างการนำอาร์เอฟไอดีไปใช้งานปีนี้ คือ บริษัท ซีทีแอล โลจิสติกส์ ของปูนซีเมนต์ไทย ที่นำไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับระบบโลจิสติกส์ ตั้งแต่กระบวนการส่งของ- ถึงเก็บเงิน ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการทำงาน จาก 1 เดือนเหลือเพียง 3 วัน นอกจากนี้จะเริ่มเห็นการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ไปประยุกต์ใช้ในการบริการลูกค้าระดับพรีเมี่ยม และบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมองว่าเทคโนโลยีในตลาดกลุ่มนี้นั้นจะพัฒนาสูงขึ้นไปอีก ซึ่งอย่างที่เห็นในตลาดประเทศที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือในการชำระค่าสินค้าและบริการ 

 

คำสำคัญ (Tags): #rfid#กรณีศึกษา
หมายเลขบันทึก: 91766เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ทำงานที่ห้องสมุดค่ะ ได้ฟังเกี่ยวกับ RFID มาหลายครั้งดูแล้ว RFID น่าจะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะยาว แต่ในระยะเริ่มแรก ในการเปลี่ยนระบบจากที่เคยใช้บาร์โค้ด มาเป็น RFID คงต้องใช้"ทุน" ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในการปรับระบบ

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด ปีนี้กำลังเริ่มใช้ระบบ RF ก่อน (ยังไม่มี ID) เนื่องจากตัว RFID ยังแพงอยู่ ซึ่งระบบบริหารจัดการคลังสินค้า และ supply Chain ของบริษัท ใช้ระบบ ISIS ของบริษัทไมโครลิสติกส์ ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวยังต้องยิง Bar Code อยู่ แต่สามารถใช้จัดการระบบคลังสินค้าได้เลยไม่ต้องมานั่งคีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ อีก ปัจจุบัน บริษัทฯ มีสินค้าเป็นหมื่น SKU ทำให้ช่วยลดงานของพนักงานลงไปได้เยอะ แต่ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานด้วย เช่น รถมารับสินค้าต้องมารับสินค้าเร็วขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนการคีย์เอกสาร และการออกเอกสารออกไป ซึ่งจะเห็นได้ว่า RFID เป็นเทคโนโลยี่ที่นำมาช่วยในระบบ Supply Chain (SCM) และ Logistics Management ได้อย่างดี ทางหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมศุลฯ ก็กำลังจะนำระบบ RFID มาควบคุมตู้คอนเทนเน่อร์และสินค้านำเข้าและส่งออกด้วยเช่นกัน ทำให้ทราบสถานะ ตำแหน่งของตู้และสินค้าได้อย่างดี และยังสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดการตู้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีกต้วย ซึ่งในอนาคตคาดว่าตัว ID ดังกล่าวจะถูกลง ประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าเราต้องซื้อ Hardware และ Software ที่นำมาใช้กับ RFID ด้วยเช่นกัน ก็จำเป็นต้องดูว่า จะคุ้มหรือไม่ แต่ในระยะยาวแล้วถือว่า คุ้มแน่นอน ต้องเป็นอะไรที่ต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนครับ

 ฉัตรพล มณีกูล

RFID is no doubt one of the technologies which we can't never overlooked. Passive tag can operate without battery. However, it is not widely use as expect because Thai companies have not really pay attention to this technology. In other country such as Korean, it used in the products at the supermarket. It can help to indicate the expired date of the products. Of course, logistic and SCM are two areas that really can get benefit from this technology. Since it is cheap and small, it can widely use anywhere.  Moreover, if it intigrated with CRM, then one can collect the customer behavior data in order to analyse and predict customers'behavior precisely.
วุฒิพงศ์ รงคปราณ๊
เทคโนโลยี RFID  เทียบข้อดี-เสียระหว่างอาร์เอฟไอดีกับบาร์โค้ด ดูจากข้อเสียของRFIDแล้วคือราคาสูงเท่านั้น ซื่งต่อไปเทคโนโลยีจะพัฒนาขึ้นและจะทำให้เรื่องราคาลดลง  ส่วนข้อดีคุ้มมากๆ  และจะถือว่าเป็นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนไปพร้อมๆกัน เช่น DHL and FDX ที่สามารถติดตามพัสดุได้ทุกที่  เป็นลดต้นทุนและเพิ่มความมั่นคงในระบบ

ใครที่เคยอ่านหนังสือเรื่อง "1989" เขียนโดย George Orwell คงจะรู้สึกเหมือนผมว่า สังคมที่รัฐจะเข้ามาควบคุมเฝ้าดูทุกฝีก้าวของประชาชน เช่นที่บรรยายไว้ในหนังสือดังกล่าวกำลังจะเป็นจริงด้วยเทคโนโลยี RFID

ลองคิดดูซิว่าถ้ามีผู้นำเผด็จการอย่างฮิตเล่อร์จับพลเมืองฝังชิพ RFID ในร่างกายตั้งแต่เกิด รัฐจะสามารถติดตามเฝ้ามองใครก็ได้ตลอดเวลา ความลับส่วนบุคคลไม่ต้องพูดถึง ทันทีที่คนแปลกหน้าสองคนเจอกันครั้งแรก ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี reader แบบพกพาอยู่กับตัว จะสามารถอ่าน RFID อีกฝ่ายหนึ่งและส่ง ID ไปดึงข้อมูลส่วนตัวใน database ที่อยู่ใน server เท่านั้นเองก็รู้ประวัติทุกอย่าง โกหกกันไม่ได้ เหมือนกับการเช็คข้อมูล credit เวลาไปกู้เงินที่ธนาคาร

นี่คือปัญหาสังคมที่จะตามกันมาเหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ มีคุณก็มีโทษ คงหนีไม่พ้นที่ต้องหาเทคโนโลยีที่จะป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ต่างจากเมื่อมี computer virus ก็จะมี anti-virus programs แต่ที่สำคัญที่สุดต้องมีธรรมาภิบาลของภาครัฐ และผู้บริหารประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องรัฐศาสตร์ เรื่องการเมือง

ผมจึงมีความเห็นว่า RFID คงเหมาะที่จะใช้กับประเทศที่มีการพัฒนาทางการเมือง และสิทธิมนุษยชนดีแล้ว ถ้าตกอยู่ในมือของรัฐเผด็จการ ระวังให้ดีครับ จินตนาการของ George Orwell ที่วาดภาพไว้ในหนังสือ "1989" กำลังจะเป็นจริงแล้วครับ !!

สรรชัย กิติยานันท์

RFID นับเป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ  มีประโยชน์มาก  ถ้าเปรียบกับการใช้ในอนาคต  แต่ในปัจจุบันคาดว่าต้นทุนในการติดตั้งยังคงมีราคาแพง ถ้าเปรีบเทียบตามหัวข้อประเด็นวิพากย์  เทคโนโลยีลดต้นทุน กับเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต ในเทคโนโลยีทั้งสองชนิดนั้น เป็นความสำคัญทั้งสองชนิดในกระบวนการบริหารการผลิต จะขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้โดยการเพิ่มผลผลิตนั้จำเป็นในการขยายขอบเขตของตลาดแต่การเพิ่มผลผลิตโดยสามารถลดต้นทุนได้จะทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์มาก  ระบบRFIDนั้นจะเป็นประโยชน์ในส่วนของ การบริหารสินค้าคงคลังและในส่วนของLogistics Management ได้เป็นอย่างดี  แต่คงต้องดูลักษณะของงานที่นำไปใช้ว่างานนั้นต้องการความรวดเร็วมากเพียงใด  เช่น ห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่มีลูกค้ามาก  การใช้RFID เพื่อควรรวดเร็วหรือในการเช็คstock เพื่อป้องกันการเสียโอกาสทางการตลาด หรือสนับสนุน CRM เพื่อดึงดูดลูกค้า ดังนั้นระบบRFID  ก็จำเป็นต้องดูว่า จะคุ้มหรือไม่ และเหมาะสมกับระบบงานหรือไม่

ปิยะทิพย์ เอี๋ยวพานิช

อ่านหลายๆ ความเห็นข้างต้น จึงขอตั้งคำถามว่า  

  1. ราคาค่างวดในการลงทุน RFID จะถูกลงอย่างรวดเร็วเหมือนอุปกรณ์อิเลคโืทรนิคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีโืีทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ PC หรือไม่
  2. การออกแบบของระบบ สะดวก/ง่ายต่อบุคลากรของบริษัทหรือหน่วยงานหรือไม่อย่างไร
  3. การทดแทนเครื่องมือในการลดต้นทุน ส่งผลให้เิกิดผลทางสังคม หรือจะมีคนตกงานหรือไม่

ปัจจัยนี้อาจทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ ไม่อยากจะลงทุน

แต่เมื่ออ่านความเห็นของพี่วิชิตแล้ว หากระบบนี้ทำให้เกิดตามติดตัวของประชาชนได้จริง ก็รู้สึุกกลัวทันทีนะคะ  

เป็นที่แน่นอนว่า หากข้าพเจ้ามีทางเลือกระหว่าง เทคโนโลยีในการลดต้นทุน หรือเพิ่มผลผลิต ผลในการตัดสินใจของข้าพเจ้า

ย่อมพิจารณาจาก สภาวะทางการแข่งขันของธุรกิจ หากธุรกิจของเรามีการแข่งขันในตลาดสูง การเพิ่มผลผลิตของเราอาจไม่ส่งผลต่อยอดขายได้มากนัก ข้าพเจ้าก็จะให้ความสนใจกับเรื่องการลดต้นทุน แม้ว่าต้องลงทุนมากก็ตาม ในทางกลับกัน หากธุรกิจนั้นการแข่งขันมีน้อย เราเป็นหนึ่งในไม่กี่รายผู้ผลิต ข้าพเจ้าย่อมเลือกเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตมากกว่า

 

สมศักดิ์ จังตระกุล
ประเด็นนี้น่าสนใจและขอฟันธงว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะสมกับการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมสินค้ามากกว่าที่จะเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะเป็นการลดต้นทุนจากการใช้คนมาเป็นกำลังในการตรวจตราหรือควบคุมสินค้าต่างๆ ในสิงคโปร์นิยมมากเช่น ที่จอดรถโดยการจ่ายเงินผ่านระบบ RFID จะลดต้นทุนในการจ้างคนมาเฝ้ารับเงินเป็นอย่างมาก และรวดเร็วเป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้ใช้บริการด้วย
ธีระ เทิดพุทธธรรม
กรณีดังกล่าว หากต้องพิจารณาว่าระหว่างเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนกับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตนั้น ในมุมมองทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน เทคโนโลยีเพื่อการลดต้นทุนน่าที่จะเหมาะสมกว่า เพราะจะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ หรือเป็นการตัดทอนค่าใช้จ่ายบางประเภทลง แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต ช่วยตอบผมด้วยว่าผลผลิตที่ได้ คืออะไร ซึ่งหากผลผลิตเป็นรูปแบบของสินค้าและบริการ แน่นอนว่าการเพิ่มผลผลิตในปริมาณมาก (Economy of Scale) ส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยได้จริง แต่ธุรกิจจะมีความสามารถในการกระจายสินค้าและบริการได้หรือไม่ เพื่อก่อให้เกิดผลกำไร ภายใต้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาวะทางการเมืองที่ไม่แน่นอนในประเทศไทย 
วิมลวรรณ ตันติวงศ์

มีความเห็นว่า RFID เป็นทั้งเทคโนโลยีที่ทั้ง ลดต้นทุนและผลผลิต แต่ตอนนี้ค่าใช้จ่ายยังอาจสูงอยู่ และอาจต้องใช้เวลาในการที่จะนำมาใช้อย่างจริงจัง แต่อีกสักระยะค่าใช้จ่ายลดลง คงมีการใช้มากขึ้น และคิดว่าคนไทยก็สามารถผลิตได้เองและได้ดี ณ ตอนนั้นก็คงได้รับความนิยม ดังนั้นอย่ามองข้ามความสำคัญของ RFID นะคะ

นพ.สุวินัย บุษราคัมวงษ์ 495022
เคยได้ยินมาว่าในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ RFIDในการติดตามตัวผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในรพ.ท้งเพื่อป้องกันการหนีและกรณีฉุกเฉินเผื่อไปหมดสติอยู่ที่ไหน ก็นับว่าเป็น TECH ที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตามเหตุที่ไม่แพร่หลายส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเรื่องราคาและอ่อนโฆษณา TECH ที่ใช้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตคงเป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้านที่ต่างก็เป็นวงจร ทั้งต่างเป็นเหตุเป็นผลกัน และเกื้อกูลกัน หากเริ่มที่อันใดอันหนึ่ง ในที่สุดก็จะโยงไปถึงอีกอันจนได้ ถ้าใช้ TECH ลดต้นทุนไปเรื่อยๆกิจการก็จะมีทุนทรัพย์เหลือพอจะนำ TECH ที่ใช้เพิ่มผลผลิตมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นความเห็นส่วนตัวคิดว่าน่าจะส่งเสริมการตลาดของ TECH นี้ให้มากขึ้น เมื่อผลิตกันมากใช้กันมากก็น่าจะทำให้ต้นทุนลด ตามเกณฑ์อุปสงค์อุปทาน
รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ
 RFID เคยดูแต่ภาพยนตร์ที่มีการฝังไมโครชิป แล้วตามล่ากันอย่างเมามัน(ไม่รู้ว่าเรื่องเดียวกันหรือปล่าว)  การพัฒนาของเทคโนโลยีของอาร์เอฟไอดีในประเทศไทยมีมาอย่างไรไม่เคยได้ศึกษา แต่มีความคิดเพียงว่าอะไรก็ตามที่พัฒนาขึ้นมาแล้วควรมีการบริหารจัดการที่ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกำจัดเมื่อไม่ต้องการแล้ว เพราะTechnology สมัยนี้เปลี่ยนแปลงเร็วเหลือเกิน จนลืม Life Care จากผลของTechnology 
นางสาวยุพา ทองช่วง

ถ้าให้เลือกระหว่างเทคโนโนโลยีลดต้นทุนผลิตกับ  เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต จะเลือกเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต เพราะเป็นวิธีท่สามารถทำได้ ในปริมาณการผลิตเดิม  และไม่ต้องเผชิญปัญหาด้านการตลาด  การแข่งขัน และอีกหลายส่วนท่เกี่ยวข้อง

เชื่อว่านวัตกรรมนี้น่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากหากนำมาใช้น่าจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน และลดการใชกำลังคนได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่าการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้นั้นจะส่งผลต่อราคาของสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ เพราะหากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยอ้างถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้นั้น ก็คงเป็นการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างจะเอาเปรียบผู้บริโภค  ดังนั้นองค์กรธุรกิจคงจะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย

เทคโนโลยี RFID โรงพยาบาลบ่อทอง จ.ชลบุรี ใช้ในการควบคุมุสต็อกยา ตัดยอด รายเดือนได้สะดวก รวดเร็ว ใช้มานานแล้วได้ผลดีด้วย ลดต้นทุนไม่ต้องจ้างลูกจ้างหลายคนเพื่อเช็คสต็อคยา ที่ปริมาณเพิ่มขึ้นจากโครงการ รักษาฟรีทุกโรค 

RFID เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก ในความที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้ราคาต้นทุนสูง แต่พอมองที่ประโยชน์ในการใช้แล้วให้ผลคุ้มค่ามาก คิดว่าในอนาคตประเทศไทยคงมีใช้กันอย่างแพร่หลาย

 โดยเฉพาะในวงการแพทย์ อย่างอเมริกา ญี่ปุ่น นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ใน การIdentify ผู้ป่วย โดยใช้ barcode ควบคู่กับการใช้wirst band หรือที่เรียกว่า wirst band barcode หาตำแหน่งผู้ป่วยที่มีการสูญหายหนีออกจากโรงพยาบาล หรือ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล  ซึ่งทำให้อำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างมาก และเชื่อว่าอีกไม่นานเมื่องไทยเองก็คงนำมาประยุกต์ใช้

สิ่งสำคัญถึงแม้เราจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆๆเข้ามากมายที่ขาดไม่ได้คือ knowledge ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังคงต้องใช้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่คอยกำกับควบคุมมาตรฐานของการใช้  เทคโนโลยีใหม่นี้อาจมีใช้ไม่แพร่หลายนักจึงอาจไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน ที่พบในปัจจุบันจึงเห็นผลดีมากกว่าผลดี ผลเสียในปัจจุบันก็คือ ต้นทุนทางเทคโนโลยีที่แพง

 

นายทวี นริสศิริกุล 493010
ระบบคลื่นวิทยุเป็นระบบที่สะดวกประหยัดมากมาทดแทนระบบบาโคดได้ และมองไม่เห็นต้องใช้เครื่องอ่าน เป็นประโยชน์ต่อภาพรวมมากมาย
ชาตจุมพล ยุธานหัส - Christian University - class Seminar in Information, Knowledge and Technology Management
 RFID เป็นเทคโนโลยีที่จะเป็นมาตราฐาน ในหลายสาขาในอนาคตเหมือนกับ Barcode ประเทศไทยคงหนีไม่พ้นที่ต้องนำมาใช้ไม่เร็วก็ช้าโดยเฉพาะระบบการจัดส่งสินค้าในอนาคตซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าโดยตรง   ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดนยุทธศาสตร์และนโยบายการในการจัดการ RFID ทั้งระบบ  ผมมีความเห็นว่าต้องทำอย่างไรเมื่อนำ  RFID มาใช้แล้วไม่เพิ่มต้นทุนของสินค้าของผู้ผลิตสินค้ารายย่อย (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) และไม่ต้องลงทุนมากในการนำ RFID มาใช้  เพราะในปัจจุบัน การใช้ Barcode ก็เป็นปัญหากับผู้ผลิตสินค้ารายย่อยเหมือนกัน รัฐบาลน่าส่งเสริมให้มีการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวที่กับ RFID ในประเทศ เพื่อให้ต้นทุนในการในนำ RFID มาใช้มีราคาต่ำเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันไม่ว่าเป็นบริษัทขนาดใดก็สามารถนำมาใช้ได้
นายธนเดช นัชธนวินท์

ข้าพเจ้าต้องยอมรับความจริงอย่างลูกผู้ชายว่าเป็นคนที่มีความรู้น้อยในเรื่อง IT เนื่องจากไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านนี้โดยตรงชีวิตประจำวันก็เพียงแต่ใช้งานทั่วๆไปอยู่บ้างเท่านั้น ในเรื่องของเทคโนโลยี RFID นี้ก็ได้ยินเป็นครั้งแรก จากท่าน อ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข หลังจากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าระบบ RFID จึงมีความรู้สึกว่าเป็นระบบที่สุดยอดจริงๆในการช่วยเหลือในการทำงานด้าน Logistics มีความสะดวกในการจัดระบบสินค้าคงคลัง และระบบการจัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อประเทศไทยได้นำระบบนี้มาใช้ก็เท่ากับเป็นการพัฒนาให้ประเทศมีความทันสมัยเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ และยังส่งผลต่อภาคธุรกิจ และภาครัฐ ในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานอีกด้วย ทั้งนี้ขาพเจ้าคิดว่ามันน่าจะเป็นทั้งเทคโนโลยีลดต้นทุน กับเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต เนื่องจากเมื่อมีการใช้กันเป็นอย่างมากแล้วต้นทุนของRFID อาจแพงกว่าระบบ Barcode ก็จริงแต่การใช้งานที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ลดต้นทุนด้านอื่นๆในการทำงาน และยังเพิ่มผลผลิตจากการทำงานอีกด้วย

ธนเดช นัชธนวินท์ นักศึกษา Phd. CTU

 

จากการอ่านบทความข้างต้น รู้สึกทึ่งมากกับเทคโนโลยี RFID และคาดว่าอีกไม่นานในระบบธุรกิจใหญ่ ๆ จะนำมาใช้เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา อย่างในห้างสรรพสันค้า การขนส่งสินค้า และอื่น ๆ ซึ่งในระบบธุรกิจที่มีเงินทุนคงไม่ต้องเป็นห่วงในการนำระบบนี้มาใช้น่าจะขับเคลื่อนไปได้ดี ส่วนภาครัฐที่จะนำเทคโนโลยี RFID มาใช้บริหารจัดการและแก้ปัญหาในประเทศก็น่าจะทำได้แต่จะดีแค่ไหนคงยากจะเดา ขอยกตัวอย่างปัญหาที่ดูเล็ก ๆ แต่กลับเป็นปัญหาเรื้อรังและไม่สิ้นสุด คือการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงของผู้คนในประเทศให้ตกไปเป็นภาระของวัด โรงเรียน มูลนิธิ ต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นภาระที่ต้องใช้เงินมากมายมหาศาลในแต่ละปี หากรัฐสามารถฝังชิพสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงทุกตัวก็จะเป็นการควบคุมได้ หรือแม้กระทั่งการฝังชิพนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ เช่น ฆ่า ขมขื่น เพราะเท่าที่เห็นนักโทษเหล่านี้ส่วนหนึ่งเมื่อพ้นโทษออกมาแล้วก็มาก่อคดีซ้ำ ๆ อีก ซึ่งคงต้องมีมาตรการพิจารณาอย่างยุติธรรมที่สุดเพราะมันเป็นกรณีใช้กับคน หรือแม้กระทั่งติดตั้งระบบนี้กับทรัพย์สินที่มีค่าเช่น รถยนต์ ใช้กับวงการแพทย์ แต่ถ้ามันมีราคาที่สูงก็คงจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง นอกจากนี้การเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยี RFID ยังไม่แพร่หลายมากนักซึ่งยังมีอีกหลายแง่มุมที่ต้องทำความเข้าใจว่าแท้จริงแล้วประโยชน์ที่ผู้คนจะได้รับมีอะไรบ้างเพื่อเป็นการผลักด้นให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจ สนับสนุนหรือกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท