เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(9)


เป็นการเรียนที่สนุกไม่หลับเลยเพราะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนตลอด

เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(9)

เช้าวันที่ 22ตื่นนอนเจ็ดโมงเช้าเช่นเดิมแต่กว่าจะอาบน้ำเสร็จก็เกือบแปดโมงเช้าเพราะบ้านอยู่กันสี่คนมีห้องน้ำห้องเดียวเสร็จแล้วก็ไปกินอาหารเช้าที่ร้านตรงข้ามเช่นเดิมแต่วันนี้เร็วกว่าเมื่อวานเพราะสั่งอาหารไว้ก่อนโดยผมทานแบบเดิมเป็นไข่ดาว ขนมปังและหมูแฮม ประมาณ 8.45ก็นั่งรถแท็กซี่ไปเรียนที่เดิมโดยหมอจอห์นสอนเทคนิคการสอนนักศึกษาแพทย์เพื่อให้สามารถทำหัตการได้อย่างถูกต้องเป็นการเรียนแบบมีการปฏิบัติประกอบด้วย มีการเขียนแผนการเรียนการเรียนขีดความสามารถและความมั่นใจ การสอนนักศึกษาแบบ 4ขั้นตอนและทดลองสอนโดยหมอจอห์นให้ทดลองสอนเรื่องการทำการแทงไขกระดูกเพื่อให้ยาหรือสารน้ำในเด็กกรณีที่แทงน้ำเกลือไม่ได้อาจารย์สอนให้ทำมีพี่เสรีเป็นนักเรียนทดลองคนแรกทำแบบสี่ขั้นตอนต่อมาก็มีพี่สุวรรณาและพี่กฤชส่วนผมก็ได้สังเกตการณ์หลังการเรียนการสอนจะต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับตามกฎเพนเดิลตัลด้วยเข้าให้ทดลองแทงโดยซื้อขาไก่มาให้ทำหลายขาหลังจากนั้นก็มีการฝึกปฏิบัติเรื่องการสร้างสถานการณ์ผู้ป่วยจำลองหรือScenariosตอนก่อนเริ่มเรียนมีเกมส์ตัวเลขให้เล่นและหลังเรียนก็มีอีกรอบหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าหากทำหลายๆครั้งทักษะจะดีขึ้นเป็นการเรียนที่สนุกไม่หลับเลยเพราะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนตลอดทำให้เริ่มเรียนรู้และฟังภาษาอังกฤษได้มากขึ้นสำเนียงคนออสเตรเลียจะเปลี่ยนไปบ้างเช่น Games ออกเสียงเป็นกามส์  ตัวเอจะออกเสียงคล้ายจะเป็นอาจึงต้องตั้งใจฟังมากเพราะถ้าเผลอไปจะฟังไม่รู้เรื่องเรียนจนเที่ยงครึ่งก็กินอาหารกลางวันเหมือนเมื่อวาน

      ประมาณบ่ายสองโมงก็เดินทางไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลศูนย์แทมเวอร์ธ(TamworthBase Hospital) เป็นโรงพยาบาลขนาด 270เตียงซึ่งคุณหมอจอห์น เฟรเซอร์ ทำงานอยู่และคุณเดวิด บริ๊กส์เคยเป็นซีอีโอพอไปถึงโรงพยาบาลก็ไปที่ศูนย์การศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลได้มาร่วมทำกับโรงพยาบาลแทมเวอร์ธได้พบกับคุณBranka Baracได้พาไปดูห้องเรียนที่สอนนักศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพมีห้องเทเลคอนเฟอเรนซ์ มีห้องหุ่นสำหรับสอนทักษะทางคลินิกที่ทั้งแพทย์พยาบาลและวิชาชีพต่างๆสามารถใช้เรียนได้ ทั้งหุ่นเด็ก ผู้ใหญ่ส่วนของร่างกายที่น่าสนใจก็คือหุ่นคนผู้ใหญ่ที่นอนบนเตียงที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการมีชีวิตการหายใจ การเต้นของหัวใจได้โดยการควบคุมจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นศาสตราจารย์ปีเตอร์ โจนส์ จากคณะสาธารณสุขชนบท(Rural Health)ได้มาบรรยายให้ฟังเกี่ยวกับการเรียนการสอนสาธารณสุขชนบทเสร็จแล้วได้ไปฟังการบรรยายของหมอปีเตอร์ ฟินเลย์สันผู้อำนวยการด้านบริการทางการแพทย์ได้พูดถึงระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลเครือข่ายอีก20 โรงพยาบาลซึ่งเขาต้องบริหารจัดการทั้งเครือข่าย บางโรงพยาบาลห่างออกไปเกือบ500 กิโลเมตร  พอเสร็จแล้วเดวิด บริ๊กส์พาเราไปดูที่แผนกห้องฉุกเฉินต่อแต่เนื่องจากเวลาล่าช้าไปทำให้คนที่จะบรรยายไม่อยู่รอเรา

            คุณเดวิด บริ๊กจึงพาเราไปดูต่อที่หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟูได้ฟังบรรยายและดูงานรวมทั้งได้ดูสระว่ายน้ำที่ทำขึ้นเพื่อการออกกำลังกายและรักษาโรคด้วยเกือบหกโมงจึงได้กลับที่พักและออกไปกินอาหารเย็นโดยเดวิดพาไปที่ร้านอาหารจีนชื่อMarrigoldinn restuarant ทางร้านจัดร้านได้สวยงามแม้จะเป็นร้ายไม่ใหญ่โตมีพนักวานเสิร์ฟเป็นคนออสเตรเลียแต่ใส่เสื้อแบบจีนก็ดูน่ารักดีอาหารอร่อยมากเช่นกัน ทานอาหารได้สักพักหนึ่งหมอจอห์นเฟรเซอร์ก็มาร่วมรับประทานอาหารด้วยจนประมาณสองทุ่มครึ่งก็กลับที่พักกันด้วยรถแท๊กซี่ส่วนสองสาวคือพี่สุวรรณากับหมอเดือนขอออกไปช็อปปิ้งก่อนที่ร้านวูลเวอร์ธส่วนหนุ่มๆและอาจารย์ทั้งสามท่านกลับที่พักก่อนแต่พอถึงที่พักอาจารย์ประวิทย์ยังไม่ยอมให้พักโดยให้มาประชุมระดมสมองเพื่อสรุปบทเรียนที่ได้จากการเรียนและดูงานเพื่อเตรียมไว้สำหรับทำรายงานกว่าจะเสร็จก็เกือบห้าทุ่มผมต้องรีบซักเสื้อผ้าเพราะใส่ไปหลายชุดแล้วแต่มีเครื่องซักผ้าอบผ้าให้ก็เลยสบายหน่อยแต่กว่าจะอบเสร็จก็เกือบตีหนึ่งช่วงที่นั่งรอก็ได้คุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ประวิทย์ไปด้วยการมาครั้งนี้ผมจึงรู้สึกว่าเหนื่อยกว่าอยู่เมืองไทยอีกยังไม่มีเวลาเดินสำรวจเมืองแทมเวอร์ธเลยเพราะเลิกเรียนเย็นก็ได้เวลาไปทานข้าว

              พอกลับจากทานข้าวก็มีประชุมอีกคิดว่าน่าจะได้อะไรๆคุ้มค่าสำหรับงบประมาณของมหาวิทยาลัยที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนี้โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทการคัดเลือกคนเข้ามาเรียนแพทย์ การศึกษาต่อเนื่องการพัฒนาแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวโดยใช้โรงพยาบาลที่ให้บริการอยู่เป็นแหล่งเรียน การจัดรับบริการสุขภาพที่สามารถนำมาประยุกต์กับเมืองไทยได้เป็นต้นซึ่งผมจะได้หาโอกาสบันทึกออกมาเป็นเรื่องๆไปและทำให้หมอบ้านนอกอย่างผมได้เรียนรู้สิ่งที่มีประโยชน์และจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

               รายละเอียดที่สำคัญของการเรียนการสอนแบบสี่ขั้นตอนและกฎของเพนเดิลตั้นผมจะได้นำมาเล่าในตอนต่อไปครับ

 

Phichet

Amberoo apartment

Tamworth, NSW

21 Nov 2005
 

หมายเลขบันทึก: 9118เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท