เล่าให้อ่าน จากบูธ “กุดขาคีม” ในงาน KM Forum 2


การเลือกคนเข้ามาเป็นทีมนำ จะเลือกจาก “แกนนำ” เพราะเป็นทุนเดิมที่คนอื่น ๆ ในชุมชนให้การยอมรับและนับถืออยู่ก่อนแล้ว

     ที่บูธ “กุดขาคีม” ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 1 1-2 ธ.ค.2548 ผมประทับใจสิ่งหนึ่งที่เห็นในทันที คือ จิ๊กซอแผนที่ที่ทราบว่าชุมชนได้ร่วมกันสำรวจ วาด ลงรายละเอียดโดยคนใน (ดังภาพ) ประทับใจครับ ผมเชื่อลึก ๆ ว่าตอนที่ลงมือทำแผนที่นี้กันขึ้นมีผลพวงที่ได้เป็น Impact อีกมากมาย เช่น ความสามัคคีของคนในชุมชน การค้นพบศักยภาพของชุมชนเพิ่มเติม หรือการเห็นโอกาสในการพัฒนาชุมชน นอกจากเป้าหมายที่จะนำแผนที่นี้มาใช้ประโยชน์ที่ตั้งไว้ในครั้งแรก

     ที่นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้กิจกรรมในโครงการวิจัย “กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เป็นตัวเดินเรื่องในการสร้างความรู้ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กุดขาคีม อยู่ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โจทย์ของชาวกุดขาคีม คือ การจัดการกับแหล่งน้ำของชุมชนโดยองค์กรชุมชน สืบเนื่องมาจากผลพวงของการพัฒนาทำให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเดิมใช้ประโยชน์ไม่ได้ดังเดิม โดยเฉพาะจากการสร้างเขื่อนราศีไศล

     การเลือกคนเข้ามาเป็นทีมนำ จะเลือกจาก “แกนนำ” เพราะเป็นทุนเดิมที่คนอื่น ๆ ในชุมชนให้การยอมรับ และนับถือแกนนำเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว แกนนำเหล่านี้เข้ามาเป็นนักวิจัยหลัก ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้เวทีย่อยที่เรียกว่า “โสแหร่” เติมเต็มข้อมูลที่ทีมนักวิจัยหลักได้มาแล้วแต่ขาดไปในแต่ละส่วน เวทีโสแหร่ จะเป็นการพูดคุยกันอย่างธรรมชาติโดยมีผู้รู้คอยให้ข้อมูลในอดีต เวทีก็นำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ก่อนร่วมกันหาข้อสรุปถึงเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงนั้น

     ชุมชนกุดขาคีมได้ใช้วิธีการสร้างความรู้โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเอง นำมาใช้ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ พัฒนา สร้างขุมความรู้ และต่อยอดเพิ่มเติม จากนั้นก็วนใหม่อย่างไม่รู้จบ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะทำให้ชุมชนพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน

     ขอบคุณตัวแทนที่ได้ให้ผมได้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอข้อมูลไว้ เพื่อได้นำมาประยุกต์ใช้และได้ถ่ายทอดต่อ ซึ่งอาจจะไม่ได้สักเท่าไหร่ของของจริงที่ชุมชนนี้มีอยู่

หมายเลขบันทึก: 9071เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาระกิจบางอย่างที่ได้รับมอบหมายพาให้ครูส้มมีโอกาสได้ไปงานนี้  และได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับน้องไกรทอง-NGO หนุ่มน้อยและพ่อคานซึ่งเป็นแกนนำของชุมชน  เมื่อได้ฟังเรื่องราวของกุดขาคีมแล้วต้องชวนพรรคพวกไปเยี่ยมถึงถิ่นสุรินทร์  เพื่อสานต่อเรื่องราวของชุมชนนี้  เพื่อนำแรงบันดาลใจที่อุบัติ  และความรู้ที่ได้รับ  มากระจายต่อให้กับพี่น้องผองเพื่อนต่อไป

ปล.ประทับใจแผนที่นี้อย่างยิ่งเช่นกันค่ะ

     ครูส้มครับ เปิด blog ยังครับ ไม่งั้นผมจะได้อ่านเรื่องที่ครูจะเล่าได้อย่างไร?

เปิดแล้วค่ะ  แต่ลองทำเป็น blog ส่วนตัวก่อนค่ะ  ขณะนี้กำลังรอการติดต่อกลับจากคุณไกรทองอยู่ค่ะ  ตั้งใจจะไปช่วงหยุดยาวปีใหม่นี้กับเพื่อนๆค่ะ  และอยากติดต่อคุณรุ่งวิชิต คำงาม ที่เป็นผู้ทำโครงการวิจัยที่กุดขาคีมด้วย  แต่ยังหาทางติดต่อไม่ได้เลยค่ะ

ชื่อ blog นะคะ

gotoknow.org.orange ค่ะ

พิราวรรณ ศรีสะเทือน

ภูมิใจค่ะที่ได้เกิดมาเป็นลูกหลานกุดขาคีม เรารักในถิ่นฐานบ้านเกิดของเราค่ะ เราจะช่วยกันพัฒนา ดูแลกุดขาคีมของเราไว้ให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท