บันทึกนกแอ่นกินรัง หน้าที่ 21


มาดูกันว่าคู่ใครจะhappy

บันทึกนกแอ่นกินรังหน้าที่ 21

ประโยคเด่นนั้นพูดถึง "คู่" ของนก ก็ต้องหมายถึงคุณพ่อกะคุณแม่นก เรื่องของคุณลูกนกพักไว้ก่อน ไม่ใช่จะรายงานข่าวว่าใครใช้โทรศัพท์มือถือระบบอะไรนะ

ที่จริงเรื่องนกอีแอ่นเนี่ยมีเรื่องเม้าท์ตลอดแหละ ไม่ว่าจะหยิบมาพูดถึงแง่มุมใด  ต้องรีบเขียนบันทึกไว้ ก่อนที่ครูเล็กจะเป็น อัลไซเมอร์ลืมมันไปเสียหมด

ข้อมูลนี้ได้มาจากแอบดูพฤติกรรมของนกสามคู่ สามเผ่าพันธุ์ 

ที่จริงทั้งสามพันธุ์ เคยเห็นแบบทั่วไปหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ไม่ได้เห็นมันแสดงพฤติกรรมอย่างที่จะเขียนถึง

พฤติกรรมนี้ สองคู่แรกเห็นเพียงครั้งเดียว แต่นานหลายนาที กับคู่สุดท้ายคือนกอีแอ่น สังเกตนานเป็นปี ! เลยมั่นใจว่าข้อความต่อไปนี้ ไม่ได้โม้..

คู่ที่หนึ่ง พันธุ์ Speckled Piculet เจ้าหัวขวานจิ๋วท้องลาย เห็นที่ป่าดิบเขา ช่องเย็น อช.แม่วงค์ กำแพง เมื่อ 28 มีนา 50

คู่ที่สอง พันธุ์ Common Moorhen นกอีล้ำ เห็นที่บ่อพักน้ำบำบัดแล้ว ก่อนปล่อยสู่คลองธรรมชาติของโรงแรม ใกล้สนามบิน Narita ญี่ปุ่น เมื่อ 14 เมษา 50 ที่ผ่านมา

คู่เปรียบเทียบคือนกอีแอ่น จากงานวิจัย ที่วัดช่องลม สมุทรสาคร เมื่อปี 45

ทั้งสามคู่ มีความน่ารักต่างกันไป 

เจ้าหัวขวานจิ๋วท้องลาย พวกเขาและเธอเหมือนกันอย่างกับแกะมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ตัวอ้วน สั้น กะปุ๊กรุก บินเร็ว กระโดดเร็ว และเคาะเร็ว เขาและเธอเกิดมาเพื่อเคาะโดยเฉพาะ  born to be เคาะ ป๊อก ป๊อก ป๊อก! ตามแบบฉบับของเผ่าพันธุ์

มันออกหากินเป็นคู่ ตัวแรกบินมาก่อน  

มันเกาะด้านข้างของลำต้น ใช้หัวแคะไม้ป๊อก ป๊อก ป๊อก ทำให้ตัวหนอนที่นอนอยู่ใต้เปลือกสะดุ้งตัวโยน และกระดอนกระเด็นหลุดออกมาจากที่หลบซ่อน

กระเด็นผึงออกมาขณะที่ยังไม่ลืมตาดี มันถูกฉกด้วยลิ้นอันฉับไวของเจ้าตัวที่เคาะ แม่นยำมากกก

มันปฎิบัติการค้นหารวดเร็ว ความเร็วสัมพันธ์กันระหว่างปากที่จิ้มเคาะ+หัวที่เป็นเสมือนฆ้อน โขกลงไป+ ลิ้นที่ฉก+หนอนที่หลุดกระเด็น + และ นางตัวเมียที่บินถลาตามมารับหนอนจากปาก..ฉะแวบบ

....................แหม๋ยังไม่ได้ลิ้มลองเนื้อหวานมันของหนอนนุ่มสัก 1 วิ เลย ต้องถ่ายโอนสิทธิให้เธอชะแล้ว

ใช่ละ ที่เล่ามา คือพฤติกรรม การหากินของนกหัวขวานจิ๋วท้องลาย กับการป้อนอาหารที่หามาได้จากแรงโขกและปลายลิ้น ของเจ้าหนุ่ม ให้กับสาวเจ้า 

ในเวลาประมาณ 10 นาที มันป้อนให้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง (ตัวเดียวกันเคาะ  ตัวเดียวกันเป็นฝ่ายป้อน และที่แน่นอน... ตัวเดียวกันเป็นฝ่ายฉกเอามาอย่างเอร็ดอร่อย) 

 เราก็เดาว่า  ตัวที่เคาะหา และป้อนอาหารให้ เพื่อเอาใจคือตัวผู้ และตัวที่ได้รับการพะเน้าพะนอคือตัวเมีย  อย่างคนไง 

แต่นี่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้พิจารณญานในการชม  ซึ่งงานวิจัยแบบติด tag อีกแหละ จึงจะรู้ว่าใครตัวผู้  ใครเป็นตัวเมีย)

แต่ที่อ้างได้คือ นกหัวขวานจิ๋วท้องลาย มีพฤติกรรมป้อนอาหารให้กัน  มีตัวหนึ่งหาและป้อนให้ ตัวหนึ่งรับไป  มันหากินเป็นคู่ และมีแค่ 2 ตัว (หรืออาจกล่าวว่า ไปเป็นคู่ แต่มีตัวหนึ่งเป็นฝ่ายหา และอีกตัวหนึ่งเป็นฝ่ายกิน happy ทั้งคู่   เอ้...ใช่หรือเปล่า หรือว่าอีกตัวพยายามหนี แต่อีกตัวก็เร็วมาก ตามติด หนีกันไม่รอด  ไม่ใช่หรอกน่า

ยืนดูอยู่หลายนาที  ต้นไม้ต้นนั้นถูกเคาะเสียสั่นคอน หนอนและแมลงใต้เปลือกไม้ถูกเจาะเอาไปหลายตัว  มันทำพฤติกรรม ที่เราตัดสินได้ว่า"happyทั้งสองฝ่าย"

มีตัวที่เคาะหาแล้วยื่นปากส่งอาหารให้ ไม่ใช่หลีกหนี

(เอาความรู้สึกของคนเป็นไม้วัดนะ การแย่งอาหารไม่ได้แสดงพฤติกรรมและท่าทางแบบนี้) 

สรุปว่าคู่ที่หนึ่ง นกหัวขวานจิ๋วท้องลาย happy กันไป

ตอนที่ 2 เป็นตาของนกอีล้ำ

หลังโฆษณา แป็บบบบเดียว

 

หลังโฆษณานี้ เป็นตาของคู่นกอีล้ำ Common Moorhen ที่ Hotel MARROAD international, Narita ญี่ปุ่น เมื่อ 14 เมษา 50

หลังฝนตกชุ่มฉ่ำยามค่ำคืน เช้านี้ สดชื่นมาก และฟ้าใส เรายืนสูดอากาศเย็นฉ่ำ ข้างหน้าเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ได้กลิ่นน้ำชนบทบ้านเรา ดูอีกที น้ำในบ่อปกติ สีน้ำตาลใส ๆ ไม่เน่าเหม็น แต่ก็รู้สึกว่าไม่ใช่น้ำธรรมชาติ  อ้าว เรายืนสดชื่นอยู่หน้าบ่อพักน้ำเสีย**  (เนี่ยนะ ...! ...) แว่นตาขาวหลังเขียวแห่งเมืองญี่ปุ่น (japanese white-eye) เข้ามาเกาะที่ไม้พุ่มเล็ก

บนขอบบ่อคือเป็ดเทา spot-billed duck สองตัวผู้เมีย ไซร้ขนอยู่เงียบๆ

ในผืนน้ำว่าง ๆ ข้างสนุ่นหญ้าหย่อมเล็กๆ มีนกอีล้ำหนึ่งตัวไซ้หาอะไรกิน สักพักมันก็ทำเสียงร้องเรียก ไม่เกินให้เรียกซ้ำสามครั้ง ก็มีอีลำอีกตัวว่ายผ่าออกมาจากกอสนุน แล้วก็มารับอะไรจากปากเจ้าตัวแรก ...โห ซ่อนตัวได้ดีมาก นี่ถ้าไม่เห็นแก่กิน เราก็คงไม่เห็นว่ามันอยู่ในนั้น

พอมันกินแล้วก็เข้าไปแอบในสนุ่นอีก เจ้าตัวหาก็ส่ายสายตาหาไป เข้าไปป้อนอย่างนั้น 2-3 ครั้ง sweet กันน่าดู

เราดูได้สักพัก ก็เลิกดู อิจฉาน่ะ ....อ้าวแล้วกัน

 บอกได้แล้วมั้งว่า นกอีล้ำก็มีการป้อนอาหารให้กัน ในช่วงจีบกัน จะเกี่ยวก้อยกันสร้างรังในที่สุด 

ไม่รู้เลยว่าใครเป็นผู้หา ใคร เป็นผู้รับ ผู้หรือเมีย ก็หน้าพิมพ์เดียวกันอีกน่ะ 

แต่ที่แน่นนอนคือ เมื่อตกลงจะสร้างรังด้วยกัน ทั้งคู่มีโอกาสได้ถ่ายทอดยีนไปสู่ลูกหลาน

แม้ว่าระหว่างนั้น จะมีใครทำงานหนักกว่าใครบ้างก็ช่างเถอะ

happy ending กันอีกคู่หนึ่ง

หลังโฆษณา มาพบกับคู่ของอีแอ่นเจ้าเก่า

มีsweet กันหรือเปล่า ป้อนอาหารกันไหม ยามเจ็บไข้จะดูแลกันหรือเปล่า อ้าว อ้าว นี่มันคนแล้วนะ

แล้วเจอกันค่ะ

ครูเล็ก

**  บ่อบำบัดน้ำเสียของโรงแรมนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าโรงแรมเลยนะ ไม่ทำลายทัศนียภาพด้วย กลิ่นไม่มี 

มีท่อระบายออกไปที่ลำคลองธรรมชาติ เราตามไปดู ก็พบว่าน้ำใสสะอาด (กลิ่นแบบน้ำคลองเมืองไทย ที่เราบอกว่า "ยังไม่เสีย"น่ะ)

มิน่าล่ะ คลองธรรมชาติที่บ้านเขา น้ำจึงไม่เน่า ดูทัศนียภาพแล้ว ก็ไม่เห็นสายใดน้ำเน่าเลย อาจมีน้ำเสียบ้างมั้ง แต่เราไม่ได้ผ่านไปเจอ

ต้องขอบคุณโรงแรมและสถานประกอบการทุกแห่งทั้งในเมืองไทยและทั่วโลก ที่ทำการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ซาบซึ้งได้ว่า ที่เขาทำอย่างนั้น

เพราะเขารักชีวิต และรักผืนแผ่นดิน ที่เขาได้อาศัยทำมาหากิน

ขอคารวะ

   

 

 

  

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นกแอ่นกินรัง
หมายเลขบันทึก: 90620เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาแล๊ว...มาแล้ว...

เปิดฉากได้แจ๋วครับ ครูเล็ก 

ติดตามทุกวันคร๊าบ...........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท