อ่านหนังสือ: เงินตราแห่งอนาคต วิถีใหม่สู่การรังสรค์ความมั่งคั่ง งาน และโลกอันชาญฉลาด


ผู้แต่ง: เบอร์นาร์ด ลีตาร์/ผู้แปล: จินตลา วิเศษกุล

หนังสือเล่มนี้ พยายามอธิบายถึงสิ่งที่อธิบายยากมาก ๆ สิ่งหนึ่งในโลก ก็คือ เรื่องของเงินตรา

ุผู้แต่ง เป็นนักวิชาการ และนักปฎิบัติ ที่เคยอยู่ในคณะทำงานที่ผลักดันเงินยูโร ให้เป็นรูปเป็นร่าง ในยุคสมัยของเรานี้เอง

สิ่งที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือการมองเงินตราในมุมมองใหม่ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหลัก 4 ประการที่กำลังรุมเร้าสังคมโลกโดยรวม ที่เพียงเรื่องเดียว ก็ใหญ่พอจะทำให้อารยธรรมโลกถอยหลังหลายสิบปี หรือหลายร้อยปีได้ไม่ยาก

เรื่องแรก  ความผันผวนของระบบการเงินโลก

เมื่อเงินเคลื่อนไหวในวันเดียว เร็วกว่าธุรกรรมจริงหลายสิบ หรือหลายร้อยเท่า จะเกิดอะไรขึ้น หากเกิดการ "สะดุด"?

เรื่องที่สอง ระเบิดประชากรศาสตร์ (ประชากรโลกเข้าสู่สังคมสูงอายุในสัดส่วนที่มากอย่างไม่เคยมีมาก่อน) ซึ่งประเทศไทยเอง ณ วันนี้ ก้าวเข้าสู่โซนสังคมผู้สูงอายุแล้ว แม้จะยังไม่เต็มตัวก็ตาม ซึ่งดูเหมือนสังคมเองยัง 'หลับเพลิน'ไปหน่อย)

เรื่องที่สาม ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน (หลังสือเล่มนี้ พูดถึงเรื่องนี้มาตั้งหลายปี ก่อนนักวิทยาศาสตร์จะกล้าฟันธงว่าโลกร้อนเสียอีก) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากวัฒนธรรมทุนนิยม

เรื่องที่สี่ การปฎิวัติสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้การว่างงานเกิดขึ้นมากทั่วโลก

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้เขียนมองว่า ทางออกของปัญหาเหล่านี้ มีอยู่ และเป็นไปได้ หากเรากล้าเปลี่ยนแปลงระบบคิดพื้นฐานเรื่องเงิน โดยเขียนอย่างเป็นระบบ ใช้ภาษาเรียบง่าย น่าอ่าน นำไปสู่ข้อสรุปดังกล่าว โดยยกตัวอย่างมากมาย

เล่มนี้ ต้องอ่าน เพราะแม้จะพูดถึงเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง แต่ถึงที่สุด จะฉายให้เราเห็นชีวิตในอีกมุมมองหนึ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 90593เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับอาจารย์

ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนซะนาน อาจารย์สบายดีนะครับ ตัวหนังสือผมยังไม่ได้อ่านครับ

แต่ที่ผมสนใจคือเรื่องประชากรศาสตร์ครับ ผมเห็นด้วยกับที่อาจารย์บอกว่าเรายังหลับเพลินไปหน่อย

เรื่องประชากรศาสตร์นั้นสำคัญมาก เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานหนึ่งของการเจริญของประเทศก็ได้ น่าเสียดายที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญของคำว่าประชากรศาสตร์อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา ตลาดแรงงาน รวมไปถึงผู้สูงอายุ

สิ่งเหล่านี้นั้นต้องอาศัยการวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเจริญเติบโตของประเทศ 

เท่าที่ผมทราบตอนนี้เรายังไม่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุมากนี่ครับ แต่อีกสามสิบปี นี่แน่นอนครับ เมื่อคนวัยทำงานยุคเบบี้บูม ช่วงปี 2520s เริ่มโรยราไป คงต้องหาทางแก้ปัญหากันตั้งแต่เนิ่นๆ

ต่อไปเราอาจจะเห็น pension funds ออกมาเร่ขายก็ได้นะครับอาจารย์ อีกไม่นาเกินรอ :D

สวัสดีครับ

สวัสดีครับ

  • ผมเคยเขียนถึง สังคมชราภาพ
  • แม้จะยังไม่ได้ประกาศว่าเราใช่เต็มตัว แต่สำหรับผมเอง ผมถือว่าเริ่มใช่แล้วครับ
  • ตัวปิรามิดประชากรของไทย เดี๋ยวนี้กำลังเห็นเป็นรูปดอกบัวชัดเจน ค่อย ๆ โผล่ทะลุพื้นขึ้นมา
  • เห็นก้านดอกเมื่อไหร่ จะยิ่งกว่าสังคมชราภาพอีก
  • เห็นเร็ว เตรียมตัวก่อน จะได้ทัน อย่างน้อยก็เตรียมเรื่องสุขภาพ อย่าให้แก่หลังโกงกระดูกพรุนและขี้โรค จะได้ไม่ช่วยตัวเองได้ตอนแก่

 

อ่านเล่มนี้ไม่ละเอียดค่ะ ทั้งที่มีอยู่ให้เห็นในบ้าน..(เสียของ..อีกแล้ว)แต่เคยพูดคุยกับลูก(ในฐานะ-เพื่อนซี้)  ชี้ให้เขาเห็นว่า  รายได้ ไม่ได้เป็นตัววัดว่าใครรุ่มรวย โดยแท้จริง...ที่คุยเพราะเขามาถามเราก่อนสิคะ  ว่า

1.เรา จัดเป็นคนที่อยู่ในชนชั้น..ต่ำ,กลาง,หรือสูง
บ้านเราเล็กจังนะแม่  น้องว่าน่าจะ...ชนชั้นต่ำ..เอาเข้าน่าน...

2.แม่ใช้จ่ายน้อยกว่าแม่ของ...

3.เงินเดือนแม่น้อยกว่าพ่อ น้อยกว่า Bill Gates น้อยกว่า...

4.อาชีพอะไรที่มีรายได้มากสุด???

5.ทำไมแม่ไม่ไปทำงานในประเทศที่ค่าเงินเขา..แพงกว่าไทย

....เขาถามตั้งแต่เจ็ด-แปดขวบ แก่แดดแก่ลม จัง? ลูกใครก็ไม่รู้

จึงคุยประสาแม่-ลูก  แม่ก็งัดเอาความรู้ง่าย ๆ จากยาย(อาม่า)ว่า

ถ้าเราได้น้อยใช้น้อย..เหลือเงิน..เก็บ..อีกหน่อยเงินเก็บก็มากขึ้น
ถ้าได้มากใช้หมด อาจไม่มีเก็บเลย..

จนบัดนี้เขาเริ่มเข้าใจขึ้นมาบ้าง  ตัวอย่างเรื่องหุ้นที่ร่วงเอา ๆ ของญาต(คนใหญ่ไม่ใช่-อนุ-ญาต)เป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ

ที่จริงก็บอกเขา(ตามความเข้าใจแบบเรา)ว่า  มันก็ผันผวนไปมาได้อีกหลายแบบหลายรอบ มีปัจจัยอื่นอีกที่มันเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ

จึงสรุป(แบบคนเป็นแม่ที่บางทีก็ตัดบท..เพราะอธิบายยังไม่ออก โธ่ตัวเองยังไม่เข้าใจถ่องแท้เลยสิคะ) ว่า เอาน่า เรียนวิชาหลัก ๆ ให้เข้าใจ โตอีกหน่อยค่อยมานั่งคิดเรื่องอาชีพ

เอ เกี่ยวไม่เกี่ยวกับบันทึกนี้ หนอ

โพสต์นะคะ...แล้วรออาจารย์อธิบายเพิ่มอีกที ขอบคุณค่ะ;P

  • แหะ แหะ ด้วย ^ ^
  • ถ้าเป็นผม ผมจะอธิบายว่า เงิน เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสิ่งที่คนยอมแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จำเป็นมาก ในส่วนนี้ ไม่มีเลย ก็จะอยู่ยาก จึงต้องฉลาด คือ ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ คิดไปข้างหน้าให้ยาวมาก ๆ
  • ชีวิตจริง มีหลายอย่าง ที่เงินแลกเปลี่ยนไม่ได้ (แม้จะใช้เงิน ซื้อ หรือ ทำลาย สิ่งนั้นได้ แต่ก็ไม่ใช่การ แลกเปลี่ยน เป็นการใช้เงิน แทนอาวุธ เช่น ทำลายป่า)
  • เงินเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นของชีวิต แต่ชีวิตจริง มีมากกว่านั้นเยอะ ที่เงินไม่อาจแทนได้
  • ลองดูง่าย ๆ แลกคนที่เรารัก ด้วยเงิน เราจะยอมไหม ?

 

 

  • แหะ แหะ อีกที ^ ^
  • ลืมบอกไป ว่าหนังสือเล่มนี้ ต้องอ่าน ครับ ไม่ใช่ ควรอ่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท