โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข (5)


          จุดเปลี่ยนทางความคิดที่ทำให้ผมเห็นหนทางในการใช้ด้านบวกขับเคลื่อน  เกิดขึ้นเมื่อผมได้เข้าร่วมสัมมนาคณะกรรมการกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อปลายตุลาคม 49 ครับ

          การสัมมนาครั้งนี้เป็นลักษณะของ KM workshop ในหัวข้อ"ความสำเร็จในการทำงานกิจการนิสิตที่ผ่านมา" (ผู้เข้าร่วมมีรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตของแต่ละคณะและเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตของมหาวิทยาลัย) ซึ่งผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธรและทีมงานของอาจารย์มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งนี้

          ผมรู้จัก KM, storytelling, deep listening, dialogue และกระบวนการต่างๆที่อ.วิบูลย์ใช้ครั้งแรกก็จากการสัมมนาครั้งนี้ล่ะครับ

          ผมปิ๊งแว้บขึ้นมาระหว่างที่อยู่ใน workshop ว่านี่ล่ะวิธีการที่จะเอาไปใช้ในการสัมมนาโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขได้  ขับเคลื่อนด้านบวกทำได้จริงและน่าจะได้ผลอย่างที่คาดหวังไว้ด้วย

          เมื่อได้ไอเดียแล้วผมก็ลงมือจดรายละเอียดทั้งหมดของ workshop ครับ วิทยากรทำอะไรบ้าง  facilitator แต่ละคนมีบทบาทอย่างไร ขั้นตอนวิธีการต่างๆที่อาจารย์วิบูลย์ทำทั้งหมด รวมถึงจดไอเดียของผมที่ผุดออกมาเรื่อยๆเอาไว้ เอกสารทั้งหมดที่อ.วิบูลย์แจก หนึ่งในนั้นคือ KM วันละคำของอ.วิจารณ์ ที่อ.วิบูลย์ print ออกมาแล้วถ่ายเอกสารแจกในการสัมมนาวันนั้น ต้องบอกว่าเป็นคัมภีร์หลักของผมในการคิดโครงการเลยครับ

          เมื่อกลับจากสัมมนากิจการนิสิต ผมทบทวนเอกสารทั้งหมดรวมทั้งโน้ตที่ผมจดเอาไว้อีกครั้ง ก็มั่นใจว่าวิธีการเหล่านี้น่าจะใช้ได้ดี จึงนัดคุยกับทีมงานเล่ารายละเอียดของ KM workshop ให้ฟัง นำเสนอว่าน่าจะเอามาใช้ในการสัมมนาโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

          ทีมงานทุกคนเห็นด้วยแต่ไม่แน่ใจว่าจะมีเรื่องราวดีดีเล่าออกมาได้ เกรงว่าเรื่องที่ได้จะแกนๆหรือมีไม่กี่คนที่จะมีเรื่องเล่า อีกอย่างคือเราไปสัมมนากันตั้ง 170 คน ถ้าพวกเรา (ซึ่งรู้จักกระบวนการเหล่านี้กันเป็นครั้งแรก) ต้องทำกันเองจะ work หรือเปล่า

          แต่ถอยไม่ได้แล้วครับต้องเดินหน้าทำโครงการแล้วหล่ะ พวกเราทีมงานเลยทดลองทำสุนทรียสนทนาดูครับ กำหนดหัวข้อคือ เรื่องราวที่มีความสุข รู้สึกดี ประทับใจสมัยที่เป็นนิสิต

          ปรากฏว่า work ครับ มีเรื่องราวดีดีหลายเรื่อง ที่สะกดใจผู้ฟัง และก็ทำให้ผู้เล่ารู้สึกดีด้วย ทำให้ทุกคนมั่นใจมากขึ้นว่าน่าจะใช้กระบวนการเหล่านี้ได้

          แต่ถ้าอาจารย์กับนิสิตต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันล่ะ นิสิตจะเล่าเรื่องราวดีดีออกมาได้มั้ย นิสิตกลัวอาจารย์ออก ยิ่งถ้าเป็นอาจารย์ดุดุล่ะ นี่เป็นคำถามที่เกิดขึ้นจากทีมงานหลังทดลองทำสุนทรียสนทนาครับ

          พวกเราเลยคิดว่าน่าจะทดลองอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้มีทั้งนิสิตและอาจารย์ที่ไม่ใช่ทีมงานมาทดลองด้วยน่าจะใกล้เคียงกับที่จะไปทำจริงๆในวันสัมมนา

          ติดตามต่อบันทึกหน้านะครับ

หมายเลขบันทึก: 90533เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เชื่อว่า จะได้รับฟังเรื่องราวดีดี ต่อไปค่ะ
  • ไชโยประเทศไทย เลย
  • ติดตามอ่านทุกตอนเลยครับ
  • วิธีการเล่าชวนให้น่าติดตามอ่านครับ
  • เป็นกำลังใจให้เขียนตอนต่อๆ ไปอีกครับ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์พิชิต ที่ติด Tag มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยครับ

รู้สึกโชคดีมากที่ได้ร่วมกิจกรรมโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขค่ะ ประทับใจมากๆ เป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกท่านนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท