ความตายที่มาจากจำนวนอตรรกยะ


วันนี้วันเสาร์ เรามาคุยกันเรื่องเลขกันต่อดีกว่านะครับ

ในตอนเฉลยเรื่องThe Golden Ratio (ถ้ายังไม่ได้อ่านเชิญ ตอนแรก) ได้ทิ้งท้ายไปว่า The Golden Ratio เนี่ยเป็นจำนวนอตรรกยะ หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือจำนวนที่เราไม่สามารถทำให้เป็นรูปเศษส่วนได้โดยจำนวนนับใดๆ

วันนี้เรามาพิสูจน์กันดีกว่าครับว่า ทำไมจำนวนอตรรกยะนั้นไม่สามารถแทนด้วยรูปเศษส่วนโดยจำนวนนับใดๆได้

วิธีการพิสูจน์เรื่องนี้นั้น จะใช้วิธีพิสูจน์ที่เรียกว่า Contradiction และก็ใช้ความรู้แค่เรื่องจำนวนเลขคู่กับการยกกำลังสองครับ

มาเริ่มกันเลยดีกว่า

สมมติว่า จำนวนอตรรกยะนั้นสามารถทำให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ ดังนั้นเราสามารถเขียนจำนวนอตรรกยะในรูป a/b ได้ โดยที่ a และ b เป็นจำนวนนับ

สมมติต่อกันครับ a/b= √2 แล้ว a กับ b ก็ไม่มีตัวประกอบที่เหมือนกันด้วย (ตรงนี้ดูดีๆนะครับ เพราะนี่แหละหัวใจของการพิสูจน์เลยครับ)

คราวนี้เราต้องการกำจัดรากที่สอง เราก็ยกกำลังสองทั้งสองข้าง แล้วก็จัดรูปนิดหน่อย เราก็จะได้ว่า

a2=2b2 ถูกไหมครับ

งั้นก็แสดงว่า a2 เป็นเลขคู่ถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นในเมื่อ a2 เป็นเลขคู่ a ก็ต้องเป็นเลขคู่ด้วยถูกไหมครับ (ไม่เชื่อลองไปหาดูก็ได้ว่า มีเลขคู่ยกกำลังสอง ตัวไหนบ้างแล้วได้เป็นเลขคี่ จ้างให้ก็หาไม่ได้หรอก :P)

ในเมื่อ a เป็นเลขคู่ เราสามารถเขียนแทนด้วย a=2c ได้ถูกไหมครับ

แทนค่า a=2c ลงไปใน  a2=2b2

เราก็จะได้ว่า (2c)2=2b2

เราก็จะได้อีกว่า b2= 2c2 นั่นก็แสดงว่า b ก็เป็นเลขคู่เหมือนกับ a ถูกไหมครับ

เพราะฉะนั้นนี่ก็ผิดจากที่เราสมมติไว้ตอนแรก หมดเลยใช่ไหมครับ ก็ในเมื่อเราสมมติว่า a กับ b นั้นไม่มีตัวประกอบที่เหมือนกัน

แต่ถ้า a กับ b เป็นเลขคู่ทั้งคู่ ทั้ง a กับ b ก็มีตัวประกอบที่เหมือนกันคือ 2 ไงครับ

อ้าว นี่มันผิดไปจากที่เราสมมตินี่หว่า ก็เราบอกว่า มันไม่มีตัวประกอบที่เหมือนกัน แต่นี่เราสามารถหาได้ว่า a กับ b มีตัวประกอบที่มันเหมือนกัน ดังนั้นนั่นก็หมายความว่า มันต้องไม่มี จำนวนนับ a กับ b ที่ทำให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้

วิธีการนี้แหละครับที่เรียกว่า contradiction

หรือสรุปง่ายๆก็คือ ถ้าเราสมมติกลับกันกับ ทฤษฏี หรือข้อความที่เราต้องการพิสูจน์ (นั่นก็คือเราสมมติว่าข้อความที่เราต้องการพิสูจน์นั้นมันผิด) แต่พอพิสูจน์แล้ว พบว่า ไอ้ที่เราสมมตินั้นนะเป็นไปไม่ได้ หรือพบว่าที่เราสมมติไว้ตอนแรกเนี่ยผิด ถ้าทำได้แบบนี้แล้ว การพิสูจน์ก็สมบูรณ์ครับ

คราวนี้มาดูประวัติกันบ้าง

เรื่องจำนวนอตรรกยะนั้นเป็นที่ถกเถียงกันตั้งแต่สมัยกรีกแล้วครับ สมัยก่อนคนกรีกเนี่ย เน้นด้านเรขาคณิตครับ เรื่องเรขาคณิตนั้นก็รู้จักแต่ ความยาวของด้าน พื้นที่ ปริมาตร ดังนั้นก็สนใจแต่พวกอัตราส่วน (ratio) หรือพูดง่ายๆ อัตราส่วนของจำนวนนับ

เพราะฉะนั้นอยู่ๆจะมีจำนวนอตรรกยะ (irrational) นั้น เป็นเรื่องน่าตกใจ เรียกว่าสั่นคลอนไปถึงปรัชญาเบื้องต้นของความเป็นคนกรีกเลยทีเดียว

มันก็ดูเหมือนไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้นใช่ไหมครับ เพราะว่าถ้าเราสนใจแค่พื้นที่ มันก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรมากกับจำนวนอตรรกยะ เรื่องมันก็น่าจะผ่านไป ก็มันไม่น่าจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับจำนวนอตรรกยะได้

แล้วอยู่ดีๆจะมีคนกรีกรู้จักจำนวนอตรรกยะได้ยังไง ก็รู้จักมาจากปิธากอรัสนี่แหละครับ

เรายังจำทฤษฏีปิธากอรัสได้ไหมครับ ที่บอกว่า

c2=a2+b2 หรือพูดง่ายๆ ด้านตรงข้ามมุมฉากกำลังสอง เท่ากับผลบวกของด้านประชิดมุมฉากกำลังสอง

ลองแทนค่า a=b=1 สิครับ ค่าด้านตรงข้ามมุมฉาก มันต้องเท่ากับ √2 ใช่ไหมครับ

นี่ไงครับจำนวนอตรรกยะมาโผล่ตรงนี้เอง ในสมัยกรีก

แล้วก็มีลูกศิษย์ของปิธากอรัสคนนึงครับที่ชื่อว่า ฮิปโปโปเตมัส เอ้ยไม่ใช่ชื่อ Hippasus ที่ดั้น ไปพิสูจน์ออกมาว่า √2 เป็นจำนวนอตรรกยะ ทั้งๆที่ทุก ratio ของด้านประกอบมุมฉากของสามเหลี่ยม ก็ออกจะเป็นเลขสวยงาม คือ 1:1

ลูกศิษย์ร่วมชั้น รู้เห็นก็ตกใจครับ กลัวคนกรีกจะช็อกไปด้วยเหมือนกับที่เพื่อนร่วมชั้นของHippasus รู้ แหมก็ข่าวนี้มันข่าวร้ายสุดๆ อยู่ๆจะให้คนมารู้ได้ไงว่าในโลกนี้มีเรื่องประหลาดๆแบบนี้ด้วย เพื่อป้องกันข่าวร้ายแพร่กระจายไปช็อกโลก เพื่อนร่วมห้องก็เลยจัดการโยน Hippasus ลงน้ำแล้วก็ปล่อยให้จมตายไปพร้อมกับจำนวนเลขอตรรกยะครับ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ตัวเด่นจะเป็นภัยนะครับ เพื่อนๆร่วมชั้นเหม็นขี้หน้า อาจจะซี้ม่องเท่งได้ง่ายๆ ฮ่าๆๆๆ (แต่เรื่องนี้เป็นตำนาน เล่าขานกันเฉยๆครับ ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจริงหรือไม่จริงครับ)

ที่มา Devlin, K. J. The language of mathematics, W. H. Freeman and Company, NY. 1998


ไม่ทราบมีใครคิดออกบ้างหรือยังครับว่า ถ้าโลกเราไม่มีเลขศูนย์จะเป็นยังไงบ้าง

เสาร์หน้ามาดูกันครับว่า เลขศูนย์นี่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน

ปล มีใครเคยลองเขียนโดยใช้ source code ของ html ไหมครับ ทำไมผมลองเขียน รากที่สอง กับเลขยกกำลัง แล้วมันแสดงผลมาแปลกๆก็ไม่รู้อ่ะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ดร. กมลวัลย์ มากครับที่ได้กรุณาบอก source code เลขยกกำลังมาให้ครับ :D

หมายเลขบันทึก: 90417เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 04:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะคุณต้น

แวะมาอ่านค่ะ ยัง no comment เรื่องคณิตศาสตร์อยู่ดีค่ะ ; )

ทดลองเขียนจาก ms word นะคะ ถ้าเขียน source code ข้างล่างจะได้สมการ  

c2 = a2 + b2

------------------------------------------------------ 

<p><span style="font-size: 12pt; font-family: Arial">c<sup>2</sup> = a<sup>2</sup> + b<sup>2</sup></span></p>

------------------------------------------------------ 

ไม่รู้จะ work หรือเปล่าหลังจากกดบันทึก ลองดูแล้วกันค่ะ

 

สวัสดีครับอาจารย์ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ

ขอบพระคุณอาจารย์มากนะครับ ตอนนี้ต้นกลับไปแก้ตัวเลขยกกำลังแล้ว ส่วนรากที่สองนั้น ก็ยังดูประหลาดต่อไปครับ :D

ต้น

 

เรื่อง root 2 นี้เขียนเป็นสัญลักษณ์โดยใช้ source code ไม่เป็นเหมือนกันค่ะ ที่ใช้อยู่ก็พอมองออกนะคะ (√2 ) ไม่งั้นต้องเขียนเป็น (2)1/2 คนอ่านจะงงไปไหมเนี่ย ; )

อ่อ เรื่อง ของ สมการทางคณิตศาสตร์ ปวดหัวอยู่เหมือนกัน ครับในโปรเจคผม ก็ มีก็เลยลองค้นคว้าเพิ่ม เกี่ยวกับการเขียนสมการบนเวป ว่างๆ เดี๋ยวจะเขียนเป็น บทความเผื่อใครได้มาอ่าน ตอนนี้เอาคร่าวไว้ก่อน ใช้ ชุดคำสั่ง Latex แล้วก็ส่งคำสั่งไปที่ server อ่ะครับ แล้วมันจะออกมาเป็นรูปเลย แบบนี้

โค้ดก็เป้นตัวนี้ครับ http://staff1.kmutt.ac.th/~sudchai.boo/cgi-bin/mimetex.cgi?\int^\infty_{-\infty}x^2dt 

 คำสั่งคือตัวที่ เป็นไฮไลทสีเหลือง ไว้ครับ ถ้าเป็น เลขยกกำลังก็ทำได้เหมือนกัน

http://staff1.kmutt.ac.th/~sudchai.boo/cgi-bin/mimetex.cgi?c=\sqrt{a^2+b^2}

ส่วนที่ไฮโลท์ สีเขียวเป็นที่อยู่ของ server นั่นเอง ถ้า จะใช้ก็ พิมพ์คำสั่ง Latex ต่อจากเครื่องหมาย ? ครับผมแค่นี้เองง่ายม่ะ

 แงๆๆๆ พี่ต้น ยิ่งอ่านยิ่งงงๆ

  แต่ประวัติตอนท้ายนี่น่าสนใจดีครับ เหมือนเรื่องๆอื่นๆคนสมัยก่อนอธิบายไม่ได้ ก็ว่าเป็นพ่อมดแม่มดบ้าง จับไปเผาซะก็มี แปลกดีจริงๆครับ ยอมรับสิ่งใหม่ๆไม่ได้

สวัสดีครับคุณบู้บี้จัง

ขอบคุณมากครับสำหรับทิป ผมลองแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ออกมาตามที่ต้องการครับ เอาเป็นว่าผมจะรอ่านบล็อกของคุณบู้บี้จังล่ะกันนะครับ :D

จะได้ทำให้บล็อกออกมาสวยงามขึ้นในครั้งหน้าครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณน้องเดอ

อ่านพิสูจน์แล้วงง ใช่ไหมครับ แต่ถ้าคุณน้องเดอยังงง แล้วจะมีกี่คนที่เข้าใจล่ะเนี่ย :(

แต่จริงๆแล้ววิธีพิสูจน์แบบ contradiction นั้นเป็นที่แพร่หลายนะครับ เอาไว้คราวหน้าค่อยมาเล่าให้ฟังก็ล่ะกันครับ

ไม่แน่ใจว่าคุณน้องเดอได้เข้าไปอ่านเจงกีสข่านหรือเปล่าครับ จำได้ไหมครับว่า Dr. Weatherford บอกว่าอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ มองโกล (รวมไปถึงอเมริกาด้วย) เจริญและปกครองได้เกือบทั้งโลกนั้น ก็เพราะว่าตัวเองนั้นไม่มีความเชื่อแบบดั้งเดิมหรือหัวปักหัวปำนี่แหละครับ ทำให้หยิบความรู้ ความเชื่อของคนอื่นมาประยุกต์กันทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และก็เจริญขึ้น

ไว้คุณน้องเดอ รออ่านตอนหน้าเรื่องเลขศูนย์นะครับ อ่านแล้วก็ช็อกพอๆกับจำนวนอตรรกยะเลยครับ

ต้น

 

ถ้าไม่มีเลขศูนย์หรอครับ

อย่างเเรกคือ จะไม่มีจุดกำเนิด origin ของ guassian plane 

อย่างสองคือ พหุนามจะไม่มีราก ซึ่งพหุนามเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในคณิตศาสตร์ 

ดูไปเเล้วเลขศูนย์นี่สำคัญมากๆเหมือนกัน

 อยากให้เขียนเรื่อง paradox in mathematics อ่ะคับ ผมชอบอ่านเเนวนี้มาก

อยากให้ดูอันนี้ด้วย เป็น paradox ที่ผมชอบมาก ทำให้ได้ว่า 4=2

x^x^x^x^... = 4  --> จะได้ว่า x= \sqrt{2} [มาจาก x^x^x^...=x^(x^x^x^...)=x^4=4 --> x= 4^1/4 = sqrt(2)]

x^x^x^x^... = 2 --> จะได้ว่า x= \sqrt{2} ทำเหมือนกัน

ดังนั้นจะเห็นว่า 4=2 

 

สวัสดีครับคุณ kuness

ขอบคุณมากนะครับสำหรับคำตอบ เริ่มเห็นคนรู้สึกว่าเลขศูนย์สำคัญแล้วนะเนี่ย

เรื่อง paradox in math ไว้เดี๋ยวค่อยหามาเล่านะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ wwibul

ขอบพระคุณมากครับที่ได้กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและทักทายครับ :D

ไม่เข้าใจเรื่อง จำนวนจริงอ่าคะ

งงงงงง อย่างแรงคะ

ตอนนี้อยู่มอ 2 น๊า

ม่ายเข้าใจเลยจ้า

ช่วยอธิบายหน่อยนะค่ะ

บทนิยามที่สามรถเข้าใจง่ายๆ ของจำนวน

อตรรกยะ

งง ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท