เหตุการณ์สร้างองค์กรนวัตกรรม ตอน 1


กราฟของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นตัวเอส (S Curve)

ช่วงหลังมานี้สังเกตไหมครับว่าหลายองค์กร จะเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับคำว่า นวัตกรรม หรือ Innovation กันมากขึ้น ไม่เชื่อลองไปสังเกตค่านิยมองค์กร (Core values) ดูจะพบว่ายิ่งเป็นองค์กรที่มีการแข่งขันสูง และอยู่ในธุรกิจที่มีวงจรของผลิตภัณฑ์และบริการ (Life cycle of products) ที่สั้น นั่นคือโตเร็วตายเร็ว ยิ่งต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะกราฟของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นตัวเอส (S Curve) นั่นคือจะใช้เวลาออกตัวในช่วงแรกช้านิดหน่อย เหมือนเครื่องบินกำลังเตรียมจะขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากว่าสินค้าและบริการจะเป็นที่รู้จัก หรือได้รับการยอมรับว่าดี ก็ต้องทำการตลาดกันเหนื่อยพอดู โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเป้าหมายรู้จักและหันมาทดลองใช้ บางทีต้องถึงขนาดทำมาเพื่อแจกให้ทดลองใช้กัน และเมื่อสินค้าเริ่มเป็นที่ชื่นชอบยอดขายก็จะพุ่งขึ้นสูงในเวลาสั้น และเมื่อไปถึงระดับหนึ่งก็จะเริ่มอิ่มตัว ช่วงนี้ยอดขายสินค้าก็จะทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่พร้อมที่จะตกลงมาในทันทีที่มีเทคโนโลยีใหม่ สินค้าตัวใหม่ รุ่นใหม่ ที่เรามักเรียกกันว่า ตกรุ่น นั่นเอง

 

เหมือนระบบปฏิบัติการ Windows XP ในปัจจุบันที่กำลังจะถูกแทนที่ด้วย Windows Vista ในที่สุด แล้วสำหรับองค์กรโดยทั่วไปที่ต้องการส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงรณรงค์เพื่อเปลี่ยนมุมมองวิธีคิดของพนักงานในปัจจุบันให้มองอะไรที่แตกต่าง แหวกแนวไปจากเดิมจะทำอย่างไร ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับกับการเปลี่ยนความคิดคน แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถทำได้โดยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อ และยอมทำใจที่จะเห็นอะไรที่ขัดหูขัดตาไปบ้าง และคนกลุ่มแรกที่จะต้องเปลี่ยนก็คือ ผู้บริหารนั่นเอง (ตกเป็นจำเลยประจำ) เพราะถ้าผู้บริหารที่ยังทำตัวเป็นผู้เฒ่าเต่าล้านปี แต่มาพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงดูมันขัดเขินยังไงไม่รู้

ตอนหน้ามาดูรายละเอียดกันครับ

หมายเลขบันทึก: 90183เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท