8 KM models (Ms. Kim Sbarcea)


        สวัสดีค่ะ เหล่ากัลยาณมิตรทั้งหลาย ที่ช่วยกันเป็นหน้าม้า Comment ให้กับ Blog ของ 3 ซ่า PO_kmi (กล้าดียังไงเปิด Blog?) ของเรา ทีมเราจึงมีความพยายามอย่างสูงที่จะเล่าสิ่งที่มีสารประโยชน์ให้กับท่านๆ ทั้งหลาย (แม้จะดูมีอยู่น้อยในพวกเรา)

                

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 48 ที่ผ่านมานี้ ด้วยได้ทำกรรมดีมาบ้าง หนึ่งในพวกเราได้รับการส่งตัวให้เป็นตัวแทนเข้าฟัง Ms. Kim  Sbarcea นักวิชาการ ที่ปรึกษาอิสระด้าน KM มีประสบการณ์กว่า 10 ปี จากประเทศ Australia มาพูดเรื่อง “KM Models” อำนวยการจัดโดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  และพอจะสรุปออกมาได้ว่า

 

KM Models ที่เสนอ 8 โมเดล

1. SECI model : Knowledge creation   ของ Nonaka & Takeuchi ที่เราคุ้นเคยกันดี เป็นวงจรอธิบายการเปลี่ยนจาก Tacit Knowledge เป็น  Explicit  Knowledge  โดยอาศัยการ Socialisation, Externalisation, Combination และ Internalisation

                                                   

 seci

2. CICM model: Value creation ของ Niemen Al-Ali พิจารณา Human Capital, Customer Capital และ Sturctural Capital ใน 3 stage คือ KM stage, IM stage และ IC stage

                                       cicm

 

3. Ecology model : decision support ของ David Snowden เป็นโมเดลที่สร้างจาก Complexity & Cognitive science

                                                         snowden 

 

4. Network model  เน้น connection, acquisition, sharing, และการส่งผ่านในแนวราบ ของหน่วยงาน/ องค์กร  เน้นการใช้ทุนทางสังคม (multi directional information flows & feedback, adaptable)

                                                     network

 

5. Cognitive model ของ Dr. Gary Klein – CTA  มอง Knowledge เป็นกระบวนการเรียนรู้   ทำอย่างไรจะทำให้เกิดการ Think, learn, decide and behave

 

6. Community model ของ Wenger ซึ่งเชื่อมันในการใช้ “CoPs” หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ เป็นสำคัญ โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจาก story telling  (อันนี้ในไทยคงเป็น คุณพูนลาภ ที่ใช้ model นี้ค่ะ)

 

7. Knowledge ecosystem model ซึ่งใช้กับ Australian KM Standard AS 5037

                                                          ecosystem

           

8. Newer System model (Australian Standard) โดยแบ่งเป็น 3 phase คือ 

                 - Map phase        เป็นการหา Knowledge gap, หาสถานะความรู้ของหน่วยงาน เช่นการทำ Existing strategy, SWOT, gap analysis, scenario knowledge audit, knowledge mapping, SNA, etc.  (ฟังแล้วคล้ายแนวคิด Self Assessment ของ สคส. อยู่เหมือนกัน)

                -  Build phase    เป็นการหา Goal, การสร้าง Pilot project, Coaching,……………….

                - Operationalising  phase   เป็นขั้นเดินเครื่องทำ, การ Implements, Training, monitoring, lessons learn, CoPs, etc.

 

 จากโมเดลทั้งหลายที่ได้ฟัง คนนำไปใช้คงต้องเอามา mix & match กันอีกที (ภาษาหรูๆ  เรียกว่า บูรณาการ) ให้ได้ออกมาเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละที่ (เลือกแทนกันไม่ได้) และสุดท้ายยังสงสัยอยู่ว่าตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่มาฟังวันนั้นเป็นร้อยคน จะเลือกใช้ถูกไหมเนี้ยะ ????????

ปล.  1. บางคำเป็นภาษาอังกฤษนะคะ  ถ้าแปลเป็นไทย อาจผิดเพี้ยนได้  (เป็นเรามีศักยภาพทางภาษาน้อย)

         2. อยากให้ พี่ธวัช  ผู้ร่วมฟังด้วย หรือท่านอื่นๆ ที่ไปฟัง ต่อเติมให้ค่ะ (อันนี้เป็นยุทธวิธีหา comment!)

 

  

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 90เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2005 04:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สนใจทุกอย่างที่เกี่ยวกับKM  ถ้ามีเนื้อหาอื่นๆช่วยส่ง Fileมาให้อ่านจะด้วยได้ไหมค่ะ  (สามสาวสุดสวย)จะเป็นพระคุณยิ่ง  ขอบคุณค่ะ

                        Moleudee

น่าจะมี ปลาทูโมเดล และ ปลาตะเพียนของ อ.ประพนธ์ ด้วยครับ

พิพัฒน์

พอดีอาจทำบุญร่วมกับ 3 ซ่า มาบ้าง จึงได้ไปฟังสัมมนาดังกล่าวกับเขาด้วยค่ะ

ขอเพิ่มเติมข้อมูล ตามที่จับประเด็นได้ดังนี้ค่ะ

1. CICM Model  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เป็นการย้ายจาก raw resource --> resource that protected by law สังเกตจากตารางได้ค่ะ

2. กระบวนการหนึ่งที่น่าสนใจที่ได้ฟังวันนั้น คือ AAR (After-Action Review) ซึ่งมาจาก US ARMY เป็นการการเรียนรู้จากความผิดพลาด องค์กรต้องเปิดใจรับฟังเพื่อที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น บุคลากรในองค์กรจะเข้ามาร่วมกันอภิผรายข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และ ทบทวนดูว่า ในสถานการณ์เช่นนั้น มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับใช้ในอนาคต

3. สำหรับผู้สนใจเรื่อง CoPs  คิดว่าที่เว็บไซต์ ศิริราช KM มีข้อมูลอยู่มากพอควรค่ะ http://www.si.mahidol.ac.th/km/

ผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้านะคะ

 

พอดีอาจทำบุญร่วมกับ 3 ซ่า มาบ้าง จึงได้ไปฟังสัมมนาดังกล่าวกับเขาด้วยค่ะ

ขอเพิ่มเติมข้อมูล ตามที่จับประเด็นได้ดังนี้ค่ะ

1. CICM Model  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เป็นการย้ายจาก raw resource --> resource that protected by law สังเกตจากตารางได้ค่ะ

2. กระบวนการหนึ่งที่น่าสนใจที่ได้ฟังวันนั้น คือ AAR (After-Action Review) ซึ่งมาจาก US ARMY เป็นการการเรียนรู้จากความผิดพลาด องค์กรต้องเปิดใจรับฟังเพื่อที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น บุคลากรในองค์กรจะเข้ามาร่วมกันอภิผรายข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และ ทบทวนดูว่า ในสถานการณ์เช่นนั้น มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับใช้ในอนาคต

3. สำหรับผู้สนใจเรื่อง CoPs  คิดว่าที่เว็บไซต์ ศิริราช KM มีข้อมูลอยู่มากพอควรค่ะ http://www.si.mahidol.ac.th/km/

ผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้านะคะ

 

ขอบคุณมากค่ะ คุณ KK 

เข้ามาอ่านแล้ว ดีมากครับ สรุปประเด็นสำคัญๆให้เห็นเด่นชัด ก็เลยคัดลอกไปไว้ในwww.bantakhospital.com ด้วย

สำหรับผู้ปฏิบัติก็แค่ดูๆไว้ก็พอมั๊งครับ อ่านเสร็จปิดตำรา หลับตาพักหนึ่งแล้วเริ่มทำตามที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมกับองค์กรเรา พอทำแล้วก็มาทบทวนดูว่ามันเป็นงานประจำของเราหรือไม่ ทบทวนดูว่าทำแล้วดีหรือไม่ อย่างนี้ก็ไม่ต้องไปงงกับทฤษฎีมากนัก อย่าลืมว่าKMนั้นทฤษฎี 1 ส่วน แต่ปฏิบัติ 9 ส่วน ไม่ลองไม่รู้ครับ

ฝากน้องอ้อลองแวะไปดูที่ practicallykm.gotoknow.org บ้างนะ เดี๋ยวblogจะเหงา

ภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์

ไม่ทราบว่าพอรู้เกี่ยวกับ knowledge mapping บ้างไหมครับ

จะขอคำปรึกษาหน่อยครับ(กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้อยู่ครับ)

จากภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์

[email protected]

ภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์

ไม่ทราบว่าพอรู้เกี่ยวกับ knowledge mapping บ้างไหมครับ

จะขอคำปรึกษาหน่อยครับ(กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้อยู่ครับ)

จากภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท