beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เก็บมาเล่า : โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโรงเรียนสิ่นหมินและโรงเรียนชิงหลาน เพื่อเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ด้านการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ


หลักการวัตถุประสงค์...เพื่อใหครูได้รับประสบการณ์ด้านการเรียนการสอน และนักเรียนได้รบการพัฒนาตนเอง ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการอบรมดูแลบุตรหลาน พร้อมกันนี้ เพื่อเป็น การเพิ่มระดับความสามารถและทักษะภาษาให้กับนักเรียนทั้งสองฝ่าย ปลูกฝังการช่วยเหลือตนเอง และให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศ.

      กลับมาแล้วครับ... สำหรับคณะนักเรียนโรงเรียนสิ่นหมินที่ไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับโรงเรียนชิงหลาน..

      กลับมาเมื่อคืนวานนี้ โดยสายการบินไทยจากเซี่ยงไฮ้ ถึงสุวรรณภูมิเวลา ๓ ทุ่มห้านาที กว่าจะผ่านขั้นตอนและพบผู้มารับก็ประมาณ ๔ ทุ่ม ครับ นักเรียน ๑๖ ชีวิต กับผู้ดูแลนักเรียน ๒ ท่าน เดินทางกลับมาอย่างปลอดภัยทุกคน

       นักเรียนก็ดูมีความสุข ที่ได้กลับมาพบกับผู้ปกครอง (ตัวจริงของเขา) คราวนี้มาดูหลักการหรือวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ กันนะครับว่า หลังจากนักเรียนกลับมาแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยแค่ไหน (หลักการนี้เขียนเป็นภาษาจีนและได้รับการแปลเป็นไทย)

หลักการวัตถุประสงค์...เพื่อใหครูได้รับประสบการณ์ด้านการเรียนการสอน และนักเรียนได้รบการพัฒนาตนเอง ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการอบรมดูแลบุตรหลาน พร้อมกันนี้ เพื่อเป็น การเพิ่มระดับความสามารถและทักษะภาษาให้กับนักเรียนทั้งสองฝ่าย ปลูกฝังการช่วยเหลือตนเอง และให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศ..

      ผมได้มีโอกาสพบกับคุณวานิช.. ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนสิ่นหมิน (ซึ่งเป็นห่วงนักเรียนอย่างมาก โทรศัพท์คุยกับครูผู้ดูแลนักเรียนที่เมืองจีนทุกวัน อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง) ท่านได้มีโอกาสโทรศัพท์พูดคุยกับ ระดับปลัดกระทรวงของเมืองจีน เรื่องการดูแลบุตรหลาน ครับ

  • เขา (คนจีน) เข้าใจว่า เด็กนักเรียนจีน ซึ่งเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ เวลาอยากได้อะไร ถ้าขอพ่อแม่ไม่ได้ ก็ขอ ปู่ย่า หรือ ตายาย ก็ย่อมจะได้ ดังนั้นเด็กน่าจะปรับตัวได้ยาก ในขณะที่ครอบครัวคนไทย มีลูกได้ไม่มีข้อจำกัด (แล้วแต่ความต้องการของครอบครัว) ดังนั้นส่วนใหญ่มีลูกมากกว่า ๑ คน การตามใจน่าจะน้อยกว่าที่เมืองจีน...แต่เขาเข้าใจผิด เพราะว่าที่เมืองไทย ครอบครัวที่พอมีกิน..เขาเลี้ยงลูกแบบตามใจประคบประหงมกันมาก..ไปที่นั่น เลยปรับตัวยาก.. โดยเฉพาะเรื่องอุปนิสัยการกิน การอยู่

      นอกจากนั้น ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ โจวเหล่าซือ ซึ่งดูแลเด็กนักเรียนชุดนี้ พอเก็บประเด็นมาเล่าดังต่อไปนี้ครับ

  • พอนักเรียนไปถึงเมืองจีน โรงเรียนชิงหลานก็จะมารับ
  • พอไปถึงโรงเรียน ผ่านขั้นตอนการต้อนรับแล้ว นักเรียนก็จะรู้จักกับ Family ที่เป็น Host และตัวเชื่อมที่สำคัญคือเพื่อนที่เป็นบัดดี้ครับ..เด็กนักเรียนฝ่ายไทยก็จะไปอยู่ที่บ้านนี้..แล้วเขาก็ดูแลเรื่องอาหารการกิน การเป็นอยู่หลับนอน ดูแลเรื่องเสื้อผ้า..เหมือนมีลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑ คน..และดูแลเรื่องการไปโรงเรียน และเป็นที่ปรึกษาอื่นๆ ด้วย
  • พอผ่านไปประมาณ ๑๐ วัน ทาง Family ที่หนึ่ง ก็เอากระเป๋าของนักเรียนและตัวนักเรียนมาส่งไว้ที่โรงเรียน  จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของ Family ที่สองต้องมารับนักเรียน
  • ที่ต้องมี ๒ Family นี้เพราะมีผู้ที่ยื่นความประสงค์ขอเป็น Family มากกว่าจำนวนนักเรียนที่ไป และทางโรงเรียนชิงหลานต้องการให้เด็กไทยได้เรียนรู้เรื่องการปรับตัว..และการช่วยเหลือตัวเองให้มาก
  • ในวันเรียนหนังสือ นักเรียนไทยต้องไปโรงเรียนพร้อมกับบัดดี้โดยอยู่ห้องเดียวกัน..แต่จะถูกลดชั้นไป ๑-๒ ชั้น เช่น อยู่ป. ๓ ของไทย อาจจะไปเรียนกับชั้น ป.๒ ของเขา หรือ อยู่ป.๖ ของไทย อาจจะไปเรียนอยู่ชั้น ป.๔ ของเขาเป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ เพราะภาษาจีนเราอ่อนกว่าเขา ถ้าเรียนชั้นที่เท่ากันจะฟังไม่รู้เรื่อง นักเรียนของเราที่ไป ๑๖ คน จะได้ไปอยู่ ๑๕ ห้อง ส่วนใหญ่นักเรียนไทยไปแทรกในห้องนักเรียนจีน ห้องละ ๑ คน โดยตามบัดดี้ไป และเรียนทุกอย่างที่เขาสอน ตั้งแต่ ๘.๑๕ ถึง ๔ โมงเย็น และพอถึงสี่โมงเย็นผู้ปกครองก็จะมารอที่ประตูโรงเรียน บัดดี้ก็จะพานักเรียนไทยมาพบผู้ปกครองและก็กลับบ้าน...ภายใน ๕ นาที นักเรียนก็กลับบ้านเกือบหมด (นักเรียนชั้นประถมมีประมาณ ๗๐๐ คน) ยกเว้นผู้ที่เรียนพิเศษ..อันนี้ต่างกับวัฒนธรรมบ้านเรา..กว่าผู้ปกครองจะมารับ..ครูเวรต้องดูแลนักเรียนจนเกือบค่ำๆ ผู้ปกครองจึงมารับนักเรียนกลับหมด
  • วันหยุด ก็เป็นหน้าที่ของ Family ที่จะพานักเรียนไปสถานที่ท่องเที่ยว ไปทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงการไป shopping ด้วย (มีการเปลี่ยนแผนเรื่อง Shopping หน่อย คือ ครั้งแรกโรงเรียนจะพานักเรียนไปเอง แต่มาปรึกษากันแล้ว กลัวว่าจะดูแลไม่ทั่วถึง หากนักเรียน (ไทย) ไปทำอะไรที่ผิดกฎหมายแล้วก็จะยุ่ง จึงให้อยู่ในการดูแลของ Family
  • นอกจากการเรียนในห้อง ซึ่งเน้นความมีระเบียบวินัย ใครจะเข้าๆ ออกๆ แบบสบายๆ ตามใจไทยแท้ไม่ได้แล้ว ทางโรงเรียนก็พาออกนอกสถานที่ ไปชม กรมทหาร, กรมตำรวจ และโรงงานโค้กด้วย
  • นอกจากนี้ นักเรียนได้มีโอกาสไปร่วมเทศกาล "เชงเม้ง" กับครอบครัว และ ไปร่วมคารวะสุสานของผู้นำสำคัญที่โรงเรียนพาไปด้วย (คนละวันกัน)
  • สิ่งที่นักเรียนได้ประสบการณ์อีกหย่างหนึ่ง คือการใช้พู่กันจีน หรือที่เรียกว่า "เหมาปี่" ได้มีประสบการณ์การใช้พู่กันเขียนหนังสือกับวาดภาพ..กับครูผู้มีประสบการณ์ และ พู่กันที่ผลิตในเมืองจีน..มีคุณภาพดีแตกต่างจากที่ผลิตในเมืองไทยมาก

       วกกลับมาพูดถึงปัญหา..ของโครงการแลกเปลี่ยนฯ ครั้งแรก ซึ่งจะต้องนำมาปรับปรุงโครงการในปีถัดไป...

  • ปัญหาแรกคือ โครงการนี้ต้องการให้นักเรียนปรับตัว..กับ family แต่ผู้ปกครองไทย โดยเฉพาะคุณแม่ คิดถึงลูก ก็โทรไปหาลูกๆ ที่ Family บางคนโทรเป็นครึ่งชั่วโมง ซึ่งทางฝ่ายเขา (จีน) ต้องเสียค่าโทรร่วมกับฝ่ายไทยด้วย...เด็กบางคนต้องถามผู้ปกครองเมืองไทยด้วยว่า พรุ่งนี้จะแต่ตัวชุดไหนดี..อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างของปัญหาครับ
  • อีกเรื่องหนึ่งเกิดกับนักเรียนหญิง ที่คิดถึงบ้านมาก..จนครูผู้ดูแลต้องไปนอนเป็นเพื่อนที่ Family อยู่ตั้งสองสามวันครับ
  • มีอยู่ครอบครัวหนึ่ง ไม่ยอมให้นักเรียนนำ "บะหมี่สำเร็จรูป" ติดตัวไปด้วย บอกว่าจะต้องปรับตัวทานอาหารกับเขาให้ได้..อย่างนี้นับเป็นเรื่องดีๆ ในการสอนลูกๆ ของตัวเองครับ
  • นักเรียนไทยยังทำอะไรที่ไม่ค่อยมีระเบียบวินัย เช่น ไม่รับผิดชอบในการเก็บของ ที่วางทิ้งไว้ที่ห้องเรียน หรือ เวลานำบะหมี่หรืออาหารสำเร็จรูปมาทานแล้วก็ไม่เก็บชิ้นส่วนให้เรียบร้อย
  • นักเรียนบางคนเข้าใจโครงการผิด..คิดว่าให้มาเที่ยว Summer จึงบ่นว่า เสียเงินตั้งมากแต่ไม่ได้เที่ยว

     ก่อนจบ..ลองตั้งคำถามดูว่า นักเรียนคนหนึ่งพกเงินไปมากที่สุดคิดเป็นเงินไทยเท่ากับเท่าไร คำตอบคือ ประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาทครับ คำถามถัดมา ขณะที่ผู้ปกครองให้เงินเด็กติดตัวมาตั้งมากมาย นักเรียนคนหนึ่งใช้เงิน (ของตัวเอง) ในเมืองจีนน้อยที่สุดเท่ากับเท่าใด คำตอบก็คือ มีนักเรียนคนหนึ่งใช้เงินไปแค่ ๓ หยวนเท่านั้น ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 89707เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท