โครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ


ไบโอดีเซล เอทานอล

ช่วงนี้ใกล้สงกรานต์ครับ บางครั้งการตั้งสติสักนิด ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาแล้วหายใจให้ลึก มองไปข้างหน้า อาจจะทำให้เรามีกำลังที่จะเดินต่อได้ดีขึ้น

ปีที่ผ่านมามีความสนใจเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพเช่นเอทานอลและไบโอดีเซลกันทั่วโลก มีการขับเคลื่อนกันอย่างเต็มที่ เริ่มแรกก็ทำเพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและความมั่นคงเชิงพลังงาน ถัดมาก็เพื่อสร้างตลาดให้กับผลผลิตส่วนเกิน และล่าสุดก็มีการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมทั้งระดับโลกและท้องถิ่น

ประเทศไทยมีการประกาศนโยบายผ่านมติ ครม. ครั้งแรกเมื่อ ๑๙ ก.ย.๔๓ อนุมัติในหลักการให้มีการพัฒนาโครงการเอทานอล ซึ่งเป็นการน้อมนำเอาโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจุบันมีโรงงานเดินเครื่องแล้ว ๙ แห่ง กำลังการผลิตโดยรวมประมาณ ๑ ล้านลิตรต่อวัน นับว่าเป็นโครงการที่ปักธงให้กับประเทศไทยได้แล้วว่าเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ผลักดันโครงการนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ถึงแม้การดำเนินการจะช้าไปบ้าง แต่ก็เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว

โครงการไบโอดีเซลก็เช่นกัน วันนี้มีกำลังการผลิตรวมกว่า ๑ ล้านลิตร/วันแล้วและมีการจำหน่ายผ่านสถานีทั่วประเทศ ที่ดีคือมีการจัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อผลิตไบโอดีเซลกว่า ๘๐ แห่งทั่วประเทศแล้ว นี่แหละครับเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเองที่แท้จริง

หมายเลขบันทึก: 89356เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนี้ผมเข้าไปอ่านบทความใน www.prachatai.com ว่าด้วยเรื่องโครงการเอทานอลของสหรัฐและบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับที่ ๑-๒ ของโลกตามลำดับ ข้อมูลของผู้เขียนนั้นอ้างอิงมาจากแหล่งของต่างประเทศ ในกลุ่มของผู้ต่อต้านโครงการทั้งนั้น มุมมองที่สรุปออกมาจึงติดลบมาก

ในฐานะที่ติดตามข้อมูล และประสานงานกับบราซิล-สหรัฐมาตลอด ๗-๘ ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าข้อดีของการแปรรูปผลผลิตการเกษตรส่วนเกินมาเป็นสินค้าพลังงานนั้นมีมากกว่าข้อเสียในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเทศไทยที่เราเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรปฐมภูมิ (ข้าว มันสำปะหลังตากแห้ง ฯ) การยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่เป็นฐานใหญ่ของประเทศ (จ้างงานเกือบ ๕๐% แต่สร้างมูลค่าเพิ่มต่อผลผลิตประชาชาติต่ำกว่า ๑๐%) เพียงเหตุผลเดียวนี้เราก็ต้องทำแล้ว

แต่ก็ต้องเตรียมรับสถานการณ์ครับ ต้องทำอีกหลายเรื่อง การคอยตอบ Negative Press ก็เป็นภาระกิจหนึ่งที่ต้องกระทำครับ

 (จาก นสพ.มติชน) เตือนพึ่งเอทานอลเสี่ยงต่อสุขภาพ

กรณีศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 17 เมษายน ระบุเตือนว่า การลดการพึ่งพาน้ำมันเบนซินโดยหันไปใช้เชื้อเพลิงเอทานอลแทน อาจก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่า

โดยผลการศึกษาชิ้นนี้ได้มาจากการที่ทีมวิจัยได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์สภาพชั้นบรรยากาศในประเทศสหรัฐ ในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่คาดว่ายานพาหนะส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล โดยมุ่งศึกษาไปที่เมืองใหญ่อย่างนครลอสแองเจลิส เพราะเป็นเมืองที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุด จากนั้นได้ป้อนโปรแกรมจำลองสภาพอากาศเป็น 2 แบบ โดยแบบแรกเป็นภาวะที่ยานพาหนะทุกคันใช้น้ำมันเบนซิน ส่วนอีกแบบเป็นภาวะที่พาหนะทั้งหมดใช้เชื้อเพลิง "อี 85" หรือเป็นการผสมเชื้อเพลิงเอทานอล 85 เปอร์เซ็นต์ และเบนซิน 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลศึกษาทำให้พบว่า ในบางพื้นที่ของประเทศ อี 85 ได้ทำให้ก๊าซโอโซน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกลุ่มหมอกควันพิษ ได้เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศอย่างมาก

ขณะที่การเพิ่มขึ้นของโอโซนในชั้นบรรยากาศเพียงน้อยนิดมีผลต่อการก่อเกิดโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคอื่นๆ ด้านองค์การอนามัยโลกประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตตกปีละ 800,000 คน จากก๊าซโอโซนและสารเคมีอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มหมอกควัน (เอเอฟพี)

หน้า 21

The debate has created lots of negative press for as long as ethanol has beeen touted as alternative fuels. This is just another one and the ripples will also reach our shores and negative press means big news here. I very much doubt the scientific findings of Mr.Jacobson which is based entirely on computer modelling, just to quote his failure in the inclusion of  MTBE on page 2 as one of the harmful chemicals adopted widely in the industry and then found to have negative impacts : his implication is that ethanol can be catagorized in the same basket as tetraethyl lead, chlorofluorocarbon, DDT and DIOXINs ,but he did not mention MTBE. This is a serious omission of the fact. He also failed to cite the works conducted by Szwarc et al in Sao Pualo, Brazil where real emissions were used with computer model and explicitly showed reduction in smog.
He expressed his gratitude to Patzek, the very co-worker of the 'Pimentel' paper whice has created negative ripples previously : that reveals pretty much his school of thougth.
Regards,
Samai
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท