จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ประสบการณ์ในการพาลูกไปร้านหนังสือ


เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพาลูก (2 คน) กับภรรยา(1 คน) เข้าร้านนายอินทร์ ที่หาดใหญ่ ซึ่งผมไม่เคยพาลูกเข้าร้านหนังสือมาก่อนเลยครับ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่ทำอยู่คือซื้อมาให้อ่าน (อันนี้ก็ไม่บ่อยครับ) แต่ที่บ่อยคือ พี่สาวจะเป็นคนซื้อมาฝาก (บางทีเพราะพ่อคนนี้ขี้เหนียวหรือเปล่าก็ไม่รู้ ป้าเลยอาสาซื้อมาให้ดีกว่า)

พอพาลูกเดินไปถึงมุมหนังสือเด็ก ผมต้องอึ้งครับ เพราะลูกผมวิ่งไปหยิบหนังสือ เปิดดูแล้วก็ถาม อันนี้อะไรอาบี? หรือพยายามจะชี้ให้ผมดูด้วย พอเบื่อแล้วก็ไปหยิบเล่มอื่นอีก ทำอย่างนี้อยู่นานครับ เขาดีใจมากทีเดียวที่ได้อยู่ท่ามกลางกองหนังสือ อันนี้ต่างจากพ่อของเขาตอนเป็นเด็กครับ เพราะผมขี้เกียจอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กครับ

และจากความขี้เกียจอ่านหนังสือของผม ผมจึงไม่อยากให้ลูกเป็นอย่างที่ผมเคยเป็นครับ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำอยู่ในปัจจุบันคือเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น เขาจะเห็นผมอยู่กับหนังสือเป็นประจำครับ เวลาที่ผมอ่านหนังสือ ลูกผมก็จะวิ่งไปหยิบหนังสือของเขามาอ่านข้างๆ ผมด้วย และนั่นแหละครับ ทำให้ผมรู้สึกว่า เขาน่าจะไม่ขี้เกียจอ่านหนังสือเหมือนอดีตของผม (อินชาอัลลอฮ์) ที่สำคัญผมหลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างที่ลูกอยู่กับผม เพราะผมกลัวลูกติดคอมพิวเตอร์หรือติดเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมคิดว่า อาการนี้แก้ยากครับ

แบบอย่างเป็นเรื่องสำคัญครับ และแบบอย่างที่ดีก็คือจากพ่อแม่นี้แหละครับ ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าพ่อแม่ไม่เคยละหมาด ลูกก็ไม่ละหมาดครับ เพราะไม่เคยเห็นแบบอย่าง แต่ก็มีนะครับที่ได้แบบอย่างจากโรงเรียนในภายหลัง

จริงๆ ตอนลูกคนแรกยังอยู่ในท้อง ผมตั้งใจจะเขียนหนังสือเล่มแรกสำหรับลูกครับ โดยวางแผนว่ามีประมาณ 20 หน้ากระดาษ เขียนตั้งแต่เขาอยู่ในท้องประมาณ 4 เดือน จนตอนนี้ 2 ปีกับสี่เดือน และคนเล็กอีก 4 เดือน หนังสือ 20 หน้าเล่มนั้นยังไม่เสร็จสักทีครับ (อายลูกเหมือนกัน เพราะหนังสือของผมเล่มหนึ่งมีจำนวน  200 กว่าหน้า ผมเขียนใช้เวลาเพียง 2 เดือนเอง)

ออ... อีกประการหนึ่งที่สำคัญภายหลังจากซื้อหนังสือให้ลูกแล้ว คือ ต้องอ่านกับลูกด้วยนะครับ ถ้าซื้อมาตั้งให้ลูกหยิบอ่านเอง คงไม่มีประโยชน์เท่าไรครับ ต้องมีกระบวนการในการกระตุ้นให้ลูกสนใจที่จะหยิบมาดูหยิบมาอ่าน เช่นเดียวกันกับของเล่นนะครับ ของเล่นบางอย่างลูกไม่เล่นเลย จนกว่าเรากระตุ้นให้เล่น

 

 

หมายเลขบันทึก: 89337เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กระบี่อยู่ที่ใจ ใจอยู่ที่กระบี่

ใช้กระบี่โดยไร้ใจ เท่ากับสังหารตนเอง

ดีใจด้วยที่มีพ่อเป็นตัวอย่างที่ดีเเก่ลูก เเละมีครอบครัวที่มีความสุขตลอด  เเละหวังว่าตัวอย่างที่ดีเเบบนี้จะดำรงซึ่งไว้กับอาจารย์ตลอดไป

"แบบอย่างเป็นเรื่องสำคัญครับ และแบบอย่างที่ดีก็คือจากพ่อแม่นี้แหละครับ ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าพ่อแม่ไม่เคยละหมาด ลูกก็ไม่ละหมาดครับ เพราะไม่เคยเห็นแบบอย่าง แต่ก็มีนะครับที่ได้แบบอย่างจากโรงเรียนในภายหลัง" เป็นข้อความที่ถูกใจมากเลยค่ะ สงสารเด็กเนอะที่เกิดมาในช่วงที่พ่อแม่ไม่รู้จักอิสลามดีพอ

ที่น่าเสียดายอีกประการหนึ่งคือ คนที่น่าจะเลี้ยงลูกได้ดี กลับไม่ยอมมีลูก คนที่ไม่พึงประสงค์จะมีลูก กลับมี แล้วเอาไปทิ้งขว้าง ครับ ขอบคุณที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท