ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันภูมิ ( 2 )


การจัดการความรู้แบบธรรมชาติคือการเอาความรู้ไปหาความรู้ เป็นการจัดการที่ถูกจริตของผู้คน และการจัดการฝึกอบรมด้วยแนวคิดเช่นนี้ ดูเหมือนว่าจะมีพลังและมีคุณค่าอย่างมหาศาล
     การกล่าวถึงตามหัวข้อบันทึกนี้  ถือว่าได้รับแรงเสริมจากการร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้  หลายกิจกรรมในช่วงนี้  ทำให้เห็นภาพและพลังของการจัดการความรู้แบบธรรมชาติที่ผสมผสานกับฐานคิดการทำงานแบบอิงระบบ   รวมทั้งได้ภาพการใช้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนพร้อมๆกับการรับเอาความรู้เข้าไปอยู่ในตัวของแต่ละคน   ซึ่งผมมีความชัดเจนมากขึ้นในคำอธิบายของท่านครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์   ที่บอกว่า  การจัดการความรู้ในท้องถิ่นคือการเอาความรู้ไปหาความรู้ แล้วได้ความรู้อะไร                                                         การจัดกิจกรรมให้ผู้รู้ในท้องถิ่นได้มีโอกาสรับรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่นอกชุมชนของตนเอง  เป็นการตั้งโจทย์ร่วมกันว่าคนในท้องถิ่นนั้นๆจะเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวเองออกไปเชื่อมโยงกับความรู้อื่นได้อย่างไร  แล้วจะเกิดเป็นชุดความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร                                                         เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้นำชุมชนเม็กดำ ไปเข้าค่ายการเรียนรู้ที่สวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน   ได้เห็นภาพชัดว่า  การจัดการความรู้ในแบบธรรมชาติเป็นอย่างไร  ด้วยชุมชนเม็กดำ มีป่าใหญ่โคกจิก  ที่ถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ  คนในชุมชนมีชุดความรู้เรื่องป่าใหญ่โคกจิก  ตามสิ่งที่ตนเองได้สั่งสมบ่มเพาะมา  เช่น  ทุกคนมีชุดความรู้เรื่องเห็ดป่า  แต่วิทยากร ( คุณอุทัย  อันพิมพ์ และคณะ  )   มีชุดความรู้เรื่องเห็ดแบบวิทยาศาสตร์  เมื่อคนที่มีความรู้สองชุดมาพบกัน  การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นอย่างสนุกสนาน  มีชีวิตชีวา   สุดท้ายเกิดชุดความรู้ใหม่ว่า เราสามารถเอาเห็ดป่ามาเพาะและปลูกในหมู่บ้านได้  เพียงแค่ชาวบ้านรู้ว่าสปอร์คืออะไร                                                     ดังที่กล่าวมา เป็นการยืนยันว่า การจัดการความรู้แบบธรรมชาติคือการเอาความรู้ไปหาความรู้  เป็นการจัดการที่ถูกจริตของผู้คน  และการจัดการฝึกอบรมด้วยแนวคิดเช่นนี้ ดูเหมือนว่าจะมีพลังและมีคุณค่าอย่างมหาศาล   มันคงไม่ใช่การฝึกอบรมที่มีคนไม่กี่คนมานั่งออกแบบแล้วทึกทักเอาว่านั่นคือความต้องการของทุกคน  แต่เป็นดังเช่น     ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก  ร้อยสำนักประชันภูมิ          
หมายเลขบันทึก: 89024เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2007 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยคะอาจารยว่า  การจัดการความรู้คือการเอาความรู้ไปหาความรู้  แล้วเกิดเป็นความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และท้องถิ่น ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ ขออนุญาติเอาเข้าแพลนเน็ตนะคะ

อาจารย์ค่ะเห็ดป่าก้บเห็ดวิทยาศาสตร์ต่างกันตรงไหน แล้วเห็ดป่ากินได้ไหม เพราะเคยได้ยินว่าเห็ดมีพิษก็มี แล้วเห็ดวิทยาศาสตร์เป็นเห็ดเลี้ยงใช่ไหม
  • ตามาอ่าน
  • รอลุ้น ผอ จะสอบตอนสิ้นเดือน
  • ขอให้ ผอ โชคดีครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท