อีกหนึ่ง Key Failure Factors ... ที่น่าจะเป็นเหตุให้การขับเคลื่อนKMในองค์กรไม่สำเร็จ (ตอน4)


  
        เล่ามาแล้ว 3 ตอน .... ซึ่งเป็นการวิเคราะห์KM ที่ตัวเรา และต่อจากนี้ก็จะเล่า ถึงKM ที่มาจากตัวเขา... อันมีที่มาจากตัวเรา... ด้วยเหมือนกัน  
        เมื่อเราต้องมาขับเคลื่อน KM ในองค์กร กับบางส่วนของบทบาท...คุณอำนวย...ในการทำหน้าที่เป็นเครือข่าย “ร่วมด้วยช่วยกัน ... ขับเคลื่อนKMประเทศไทย “ นั่นคือ บางทีมีใครมาเชิญไปเล่าประสบการณ์KM ในองค์กร หรือเชิญทีมงานกรมอนามัยไปเป็นวิทยากรอบรมปฏิบัติการ train Fa /Note Taker...แต่พอเสร็จสิ้นการอบรม กลับรับทราบว่า KM ในหน่วยงานต่างๆเหล่านั้น ... เขยื้อนแตกต่างกันไป มากบ้าง น้อย จนถึงน้อยที่สุดก็มี
... เอ! เลยอยากหาตำตอบ ดังที่เล่ามาแล้ว
 

      เมื่อวิเคราะห์เพื่อตอบสมมติฐาน... โดยใช้การสังเกต ร่วมกับการสนทนาผู้ประสานงาน ... พบข้อสังเกตว่า ... เป้าหมาย KM ที่เริ่มต้นนั้นต่างกัน


        ขอเรียนว่า ...นี่เป็นข้อสังเกตเล็กๆที่ติดตามคำตอบจากหลายหน่วยงาน ... ซึ่งไม่ขอระบุชื่อหน่วยงาน)

      กล่าวคือ หลายหน่วยงานทำKM โดยวิธี ... เชิญวิทยากรไปบรรยาย/อบรม/และอื่นๆ
        ... สรุปบทเรียน ...สัมฤทธิผลจึงตอบได้เพียง ...

  •        จัดประชุม KM … ครั้ง  จำนวนผู้เข้าประชุม ... คน  
  •       แต่การนำKM ไปใช้ในคน ในงานและในองค์กร ... จึงเป็นคำตอบที่ยังพบข้อกังขา …   ที่ต้องเรียนรู้ต่อๆไป


       และมาถึงครั้งล่าสุดที่ ... ที่หน่วยงาน...กองทัพอากาศ นำทีมโดย นอญ.สุชาดา แสงเกร็ด และ นอ.ศศกันต์ มานพ มาประสานเพื่อเชิญ KM Team กรมอนามัยไปเป็นวิทยากร Train fa /Note taker ซึ่งจะเป็นการอบรม 2 รุ่น  รุ่นที่1 เป็นKM ของโรงเรียนนายทหารอากาศชั้นผู้บังคับฝูง ตามที่คุณหมอนนทลีได้เล่าเรื่องไปแล้วอ่านดูได้ที่http://gotoknow.org/blog/kmanamai-nonta/86908


         รุ่นที่2 เป็นการอบรมให้กับสถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง... ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับเทียบเท่ากรม (กำหนดจัดอบรมประมาณ พ.ค.50)ทีมเราจึงตั้งเงื่อนไขว่าจะอบรมให้กับรุ่น1 โดยขอให้ทีมผู้ประสานของหน่วยกลางมาร่วมสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในการอบรมปฏิบัติการรุ่น1   เพื่อให้มีประสบการณ์ตรงและสามารถทำหน้าที่เป็นวิทยากรได้ ซึ่งในรุ่นที่ 2 ทีมกรมอนามัยจะขอทำหน้าที่เป็นทีมพี่เลี้ยง และขอให้ท่านทำหน้าเป็นวิทยากรกันเอง ... ทั้งนี้ถือเป็นการประเมินทีมผู้สอน และเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะ/ประสบการณ์ให้กับทีมงานของท่าน... ซึ่ง นอญ.สุชาดา แสงเกร็ด อาจารย์หัวหน้าทีมผู้ประสานงานกลับชอบมาก อาจารย์พูดว่า ดีมากเลยค่ะ เราได้เรียนรู้ และยังได้ลองปฏิบัติเองด้วยค่ะ ดีค่ะ  

ประเด็นนี้จากการสังเกตเห็น อาการถูกอกถูกใจของอาจารย์สุชาดา แสงเกร็ด ... ทำให้ดิฉันปิ้งขึ้นมาในบัดดล... ว่าปัจจัยความสำเร็จ ... ในการขับเคลื่อนKMขององค์กร คือใช้KM เพื่อ KM Applications


และเมื่อถึงวันจัดอบรมปฏิบัติการ ...

หลายคนเตรียมตนเอง เพราะสนใจKM จึงแสวงหาเรื่องราวKM จากเอกสารหลายช่องทาง บางท่าน ... นอ.วันชัย ... เล่าว่า... ตามอ่านจากเอกสารตำรา รวมถึงในwebblog ซึ่งรวมKM ของกรมอนามัย และอีกหลายท่านอ่านเอกสารที่คณะผู้จัดอบรมจัดเตรียมไว้ให้


 ... แม้ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย  ว่านี่คือ ส่วนหนึ่งของความต่างอันเกิดจากการเป้าหมายที่เริ่มต้นKM ต่างกัน หรือไม่
... และเพราะเหตุผลอื่นๆอีกประการใด ... ที่ทำให้การขับเคลื่อนKM ในองค์กร จึงเขยื้อน...แบบขย่อนได้แตกต่างกัน
... สำหรับดิฉัน... นี่ก็ได้บางส่วน เพื่อตอบสมมติฐานให้กับตัวเองบ้างแล้วค่ะ
... ท่านหล่ะค่ะ คิดและเห็นจากประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากดิฉัน...รึปล่าวววว ... ร่วมกันหาคำตอบ เพื่อขจัดช่องว่างของการเดินทัพขับเคลื่อนKM กันเถอะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 88901เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท