อีกหนึ่ง Key Failure Factors ... ที่น่าจะเป็นเหตุให้การขับเคลื่อนKMในองค์กรไม่สำเร็จ (ตอน3)


        ทันทีที่ลงจากเครื่องบิน และที่สนามบินพิษณุโลก ... ดิฉันเริ่มรู้ตัวแล้วว่า ... ในรถที่ดิฉันจะเดินทางไปบ้านตากมีอาจารย์หมอวิจารณ์
อาจารย์ประพนธ์ด้วย เห็นทีมโรงพยาบาลพิจิตรที่มาต้อนรับอาจารย์เริ่มทักทายกัน (ซึ่งทางรพ.พิจิตร ทราบจากคุณเกศราภรณ์ว่า ... ให้รับทีมกรมอนามัยไปด้วย)


      ดิฉันรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมตรงสนามบินนั้นว่า ... คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ... คือ ผู้จัดการKM ในกลุ่มรพ.ภาคเหนือตอนล่าง  ทำให้ดิฉันต้องขยายความสงสัยให้กว้างขวางขึ้นอีก คือ ในการทำKMของรพ.บ้านตาก คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ เข้ามาอยู่ในจุดไหน ... และทำหน้าอะไร... อย่างไร ...แล้ว อาจารย์หมอวิจารณ์ อาจารย์ประพนธ์ เข้ามาเสียบต่อกันอย่างไร

         ดิฉันก็ตั้งคำถามไปเรื่อยๆ ... แล้วก็เริ่มลงมือหาคำตอบ....ไปเรื่อยๆ ให้ได้ข้อคำตอบตามที่เราตั้งไว้และเพื่อคลายความกังขา
(อาจารย์หมอนันทา ... ท่านไม่ได้ assign นะค่ะ ... แต่ด้วยความที่เราควรรู้ว่า ... อาจารย์ส่งมาเนี่ย ... มันเงินราชการทั้งนั้น .. กลับไปก็ต้องได้บทเรียนไปเล่าสู่กันฟัง ... หรือสูงกว่าเป้า...ของการเรียนรู้... อาจารย์อาจจะมีงาน... หรืออะไร...เพื่อรอคำตอบนี้จากเรา .... อันนี้คิดเอง (เหมือนต้องมีจิตสำนึกเอง ... ไม่ควรรอให้ท่านสั่งค่ะ )


       พอถึงบ้านตากหรือพิษณุโลก จำไม่ได้แล้ว ... คุณเกศราภรณ์พร้อมทีมงาน ก็มารอต้อนรับและพาไปทานข้าวที่ร้านอาหาร  ...
 

      ดิฉันก็เริ่ม... และเล็มหาคำตอบโดยคุย ถามคนโน้นที ถามคนนี้ที คุยกับคุณเกศราภรณ์บ้าง แอบฟังเขาคุยกันบ้าง... จนเริ่มเคลียร์คำตอบในใจได้ชัดว่า

... ที่รพ.บ้านตากทำKMสำเร็จ ... เพราะ

1). ทีมงานดีมากๆค่ะ   ... บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวอายุอานามค่าเฉลี่ย ณ ขณะนั้น น่าจะไม่เกิน 34 ปี (ดูจากใบหน้า) แต่มีใจมุ่งมั่น...ที่จะช่วยกันพัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลคุณภาพให้ได้    อีกทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนในพื้นที่  ไม่คิดจะโยกย้ายไปไหน เพราะรักถิ่นฐานบ้านเกิด ประชาชนในพื้นที่รวมทั้งผู้มารับบริการโรงพยาบาลก็ศรัทธาในตัวหมอและพยาบาล ... อันนี้ได้จากการพูดคุยกับน้องๆที่เป็นทีมงานของรพ.บ้านตาก ค่ะ

2) ด้วยความสามารถของคุณหมอพิเชษฐ์ ผู้นำ ..โรงพยาบาล ... ซึ่งคงมีเทคนิคในการผูกใจลูกน้องไว้ได้เช่นกัน บวกกับความสามารถเฉพาะตัวในการทำเรื่องยากๆ ให้แปลเปลี่ยนเป็นแนวคิดเชิงรูปธรรมง่ายๆ และการให้เกียรติลูกน้องโดยการมอบงานสำคัญให้ทำ ... จึงทำให้ ฝีมือการจัดงานในวันนั้นเด่นชัดบนความสำเร็จที่เห็นลูกน้องชูธงเป็นแถวหน้าในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนKM


3). มีปัจจัยเสริม คือ ... มี คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ผู้จัดการKM ในกลุ่มรพ.ภาคเหนือตอนล่าง เป็น Back up ที่ดี...ดิฉันแทบไม่ได้คุยกับคุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ เลย เท่าที่จำความได้ แต่จับประเด็น ได้ตอนที่นั่งรถตู้เดินทางกลับจากรพ.บ้านตากไปสนามบินพิษณุโลก เธอเล่าให้อาจารย์หมอวิจารณ์และอาจารณ์ประพนธ์ฟังว่า เธอทำอะไรบ้างถึงการประสานงานร่วมกับคุณเกศราภรณ์  และฟังเธอคุยกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง
เพื่อเตรียมการ Train Fa และ Note Taker 


      ... ที่รพ.บ้านตาก มีห้อง ลปรร.อยู่หลายห้อง ซึ่งคุณเกศราภรณ์เลือกให้ดิฉันเข้าห้องที่อาจารย์ประพนธ์เป็น Moderator ...
           ณ ห้องนั้น ดิฉันได้เห็นบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงปลาย เพราะช่วงแรกๆ ดูเหมือนคนลปรร.น้อย ... มีการเล่ามาแล้วประมาณ 2 เรื่อง แต่ตอนนั้นฟังแล้วยังไม่ปิ้งนะเพราะดูคล้ายๆเล่าการทำงานประจำ  พอถึงเรื่องที่3 เล่าโดยคุณหมอ .... (จำชื่อไม่ได้ ขออภัยด้วยค่ะ) จากรพ.พิจิตร ... พบว่า ... คุณหมอและทีม .... เล่าได้อย่างเป็นธรรมชาติ   เล่าถึงวิธีapproarch  เล่าออกจากความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจ ...มันไม่ใช่ lecture …  บวกกับพอมาฟังในอีกห้องที่น้องพยาบาลเล่าถึงการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย...


          โอ้! … ดิฉันได้คำตอบชัดที่สุดจาก 2 เรื่องสุดท้าย ณ เวลานั้นเลยว่า ... เรื่องเล่าที่ดีต้องเล่าแบบนี้ ... Tacit knowledge … มันอยู่ในนี้ ...ดิฉันเห็นคนสรุปและเห็นคนในKM Team ทำหน้าที่ทั้งหมด


4) ดิฉันเห็นอาจารย์หมอวิจารณ์และอาจารย์ประพนธ์ กูรู2 ท่าน ทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่เสริม KM ให้กระจ่างชัดเป็นรูปธรรม


 .. 4 ข้อทั้งหมด ... จึงเป็นคำตอบของสองคำถามหลัก ... ที่ส่งผลแบบตัวคูณร่วมให้การขับเคลื่อนKM ของรพ.บ้านตากสำเร็จด้วยดี ...
และเพราะการตั้งเป้าหมายของการไปเรียนรู้ KM ครั้งนี้   ... เพื่อควานหาคำตอบว่า ... KM application มีกระบวนการอย่างไร และดำเนินการโดยใครในองค์กรที่เป็นหัวใจสำคัญ ... ดิฉันจึงมีเรื่องเล่าทั้งหมดนี้มาฝากคุณ... คุณ...

หมายเลขบันทึก: 88897เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท