การระดมความคิดอย่างอิสระ


ฟังแบบ Deep Listening เพื่อรับฟังคนอื่น

                 หลายครั้งที่เข้าร่วมสังเกตุกระบวนการที่ทาง สคส.จัดขึ้นให้กับองค์กรต่างๆ เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ คือ การเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อถอดความรู้ที่มีอยู่ในตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบ ซึ่งมักจะได้ประเด็นสำคัญๆออกมาเสมอ รวมทั้งเรื่องเล่าก็มักจะเร้าพลังผู้ฟังเสมอเห็นได้จากแววตาที่เป็นประกาย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้สมองซีกขวา ค่อนข้างเยอะ

                 หลังจากการเล่าเรื่องเสร็จก็จะเป็นการนำประเด็นสำคัญของเรื่องเล่าต่างๆ มาหาปัจจัยแห่งความสำเร็จบ้าง วิธีการทำงานที่ดีที่สุดบ้าง เพื่อนำมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ ทำคู่มือการปฏิบัติงาน ทำ Road Map ก็แล้วแต่ความต้องการของทางผู้จัด ซึ่งเป็นเหมือนจุดวิกฤติของกระบวนการ เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนจากสมองซีกขวามาเป็นสมองซีกซ้าย ทำให้กระบวนการเริ่มชะงัก เนื่องจากหลายท่านมักจะนำหลักการ ทฤษฎีมาตกลง กว่าจะตกลงหลักการ วิธีการต่างๆ ก็กินเวลาเกินครึ่งของช่วงเวลาที่กำหนดไว้ บ่อยครั้งก็สรุปประเด็นไม่ได้ แผนไม่ออกมาบ้าง

 วิธีการที่น่าจะเป็นผลสำเร็จในการใช้สมองซีกซ้ายเพื่อระดมสมอง ระดมความเห็น ที่ผมเคยลองใช้คือ.....

1) พยายามทำความเข้าใจว่า โจทย์ หรือ คำถาม นั้นคืออะไร หัวข้อะไรบ้างที่ต้องพูดคุยกัน คือน่าจะทำความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ต้นก่อนที่จะประชุมแยกกลุ่มย่อยกัน

2) ในการระดมความคิดสิ่งสำคัญคือการฟังแบบ Deep Listening ประกอบ คือไม่ตัดสินใจผิดถูก ไม่แย้งก่อนฟังจบ แต่ให้จดแนวคิด ลงกระดาษ เริ่มจากบอกแนวคิดของแต่ละท่าน เมื่อครบแล้วก็ค่อยสรุปทีเดียว คือต้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีการตกผลึกความคิดระหว่างการระดมความคิด

วิธีการนี้น่าจะช่วยให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ไม่ถูกชี้นำหรือสรุป โดยความเห็นของผู้อาวุโสในกลุ่ม บ้างครั้งไม่น่าเชื่อว่าจะได้ความคิดดีดีออกมา..มากมาย...

หมายเลขบันทึก: 88640เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท