ปรับฮวงจุ้ย...เบาหวาน (ตอน2)


คนที่จะดูแลเบาหวานได้ดีไม่ใช่ แพทย์หรือทีมดูแลเบาหวานแต่เป็นตัวคุูณส้มคนเดียวเท่านั้นที่จะเป็นผู้ทำให้เกิดผลสำเร็จ พวกเราเป็นแค่ตัวช่วยให้รู้ปัญหาและรู้ทางแก้ไข


ใน ตอน1 พวกเราได้รู้จักฮวงจุ้ยพื้นฐานหลักที่เป็นกุญแจสำคัญให้ทุกคนมีสุขภาพดี   คราวนี้ก็เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้เป็นเบาหวานหญิงรายหนึ่งชื่อคุณส้ม& nbsp; เป็นDM มา15 ปี ทานยาไม่สม่ำเสมอ มีHMBGเจาะแต่FBSก็ไม่บ่อย ปัจจุบันอ้วนขึ้นเริ่มมีอ่อนเพลีย Hba1cตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเท่าเดิมตลอด 8-9  แพทย์ส่งมาพบเพื่อต้องการให้สอนฉีดLantusและอยากให้ทำ HMBG มากขึ้น  เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงBSของตนเองจะได้อยากแก้ไข

คุณ ส้มบอกว่าไม่รู้จะจัดการอย่างไรดีเธอยอมฉีดยาทั้งที่ไม่อยากได้  ดิฉันพยายามสอบถามถึงความเข้าใจเรื่องเบาหวาน คุณส้มบอกว่าเคยรู้แล้วแต่จำได้เลือนลาง  เราจึงมาทบทวนกันใหม่และกลับมาเน้นว่าเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา โดยเป้าหมายครั้งนี้เพื่อดูแลหลอดเลือดให้มีระดับน้ำตาลและไขมันลดลงจากที่ สูงอยู่    ซึ่งจะไปทำลายผนังหลอดเลือด      ดิฉันบอกคุณส้มว่าเสียดาย 10 ปีที่ผ่านมาถ้าดูแลอย่างจริงจังก็จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ที่ต้องเสียเวลา เสียเงินมากมายน้ำตาลก็ไม่ลดสุขภาพแย่ลงซ้ำต้องเติมยาฉีดอีกต่างหาก 

การดูแลเบาหวานต้องไม่ค้ากำไร BS เกินในแต่ละวัน   เราต้องการแค่เท่าทุนหรือพอเพียง โดยใช้ HMBGวัดค่า FBS - BSหลังอาหาร - BS ก่อนนอน ควรจะต้องเจาะ 2-3 ครั้งจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการกินคุณส้มพูดแบบยอมรับว่าทานพวกjung food และจุบจิบบ่อยเนื่องจากมีหลานมากหลานๆชอบกิน   ดิฉันก็เลยเทียบเป็นตัวเลขให้เห็นชัดๆดังนี้

 การเจาะ 1 ครั้ง แบบ FBS

 ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดวันรู้ค่า่BSเริ่มต้นว่าดีหรือไม่เท่านั้น

การเจาะ 2 ครั้ง แบบ FBS(10)กับ BS ก่อนนอน (20)

เห็นูการเปลี่ยนแปลงตลอดวันรู้ค่า BS เริ่มต้นและปลายทางว่าดีหรือไม่แต่ไม่รู้ว่าทานเกินมื้อไหน คิดจากเอา 20 ลบ 10 = วันนี้กำไร10

การเจาะ 2 ครั้ง แบบ FBS กับ BS หลังอาหาร

เห็น การเปลี่ยนแปลงช่วงหลังอาหารทำให้รู้ทั้งค่าBSเริ่มต้นว่าดีหรือไม่และรู้ ว่าทานเกินมื้อไหนด้วยทำให้ปรับถูกมื้อ  วันไหนถ้าต้นทุนตอนเช้าสูงหลังทานจะยิ่งสูงมากขึ้น 

การเจาะ 3 ครั้ง แบบ FBS, BS หลังอาหารกับ BS ก่อนนอน

เห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงหลังอาหารทำให้รู้ทั้งค่าBSเริ่มต้นและปลายทางว่าดีหรือไม่และรู้ว่าทานเกินมื้อไหนด้วยทำให้ปรับถูกมื้อ

ดิฉัน บอกคุณส้มว่าทานเกิน BS สูงทานพอดี BS ที่เคยสูงก็ลด ปรับข้าวให้ได้ BS ดีจะไม่มีโรคแทรกยาก็กินน้อยลงมีเงินเหลือเก็บไปเที่ยวให้ สบายใจ

ตอน ท้ายก็เลยอธิบายเป็นแผนภาพให้คุูณส้มเห็นว่า   คนที่จะดูแลเบาหวานได้ดีไม่ใช่ แพทย์หรือทีมดูแลเบาหวานแต่เป็นตัวคุูณส้มคนเดียวเท่านั้นที่จะเป็นผู้ทำให้เกิดผลสำเร็จ พวกเราเป็นแค่ตัวช่วยให้รู้ปัญหาและรู้ทางแก้ไข

ถึง ตรงนี้อยากให้พวกเราที่ดูแลเบาหวานต้องพยายามหากลยุทธใหม่ๆเพื่อพัฒนาบทบาท ตนเองให้เป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพเคลื่อนไหวไปตามสถานะการณ์ต่างๆได้ดี

ยุวดี   มหาชัยราชัน 

หมายเลขบันทึก: 88539เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท