กศน. เพื่อนเรียนรู้


ภายใต้ Logo กศน. เพื่อนเรียนรู้

  นอกเหนือจากการจัดการความรู้โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ชาว กศน.กำลังดำเนินการ ตามภาระกิจของ กศน.เพื่อนเรียนรู้   ศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และขยายแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในตำบลนำร่องมาประยุกต์ใช้ในการทำงานศูนย์การเรียนชุมชนของตนเอง และนำแนวคิดการดำเนินงานครูกศน. แนวใหม่มาใช้ ภายใต้ Logo กศน. เพื่อนเรียนรู้

  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้กระบวนการทำงานดังนี้
    • การยกระดับประชากรวัยแรงงาน ครู จะดำเนินการตามยุทธศาตร์ที่ 1 ลุยถึงที่ทุกหมู่บ้าน โดยนำแบบสำรวจที่ได้ดำเนินการสำรวจปีที่ผ่านมามาสำรวจใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้วิธีเคาะประตูบ้าน, พบผู้นำ แกนนำในหมู่บ้าน ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยแนะแนวในเรื่องการศึกษาต่อพร้อมทั้งด้านการพัฒนาอาชีพควบคู่กันไป การศึกษาต่อมีทางเลือกหลากหลาย 7 แบบได้แก่

      1.เทียบโอนประสบการณ์ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ผ่านการอบรมด้านต่างๆ รวมทั้งการศึกษาดูงาน แล้วนำมาสะสมไว้ในสมุดสะสมความรู้ เพื่อทำการเทียบโอนในหมวดวิชาที่สามารถเทียบโอนได้ หมวดวิชาที่เหลือที่ไม่สามารถเทียบโอนได้ให้จัดลงทะเบียนเรียนต่อไป

      2.การเรียนรู้รายบุคคล สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาว่าง ไม่สามารถมาพบกลุ่มได้ วิธีการเรียนเหมือนกับการพบกลุ่มตามปกติ แต่มาพบครูเป็นรายตัวต่อตัว ในช่วงเวลาที่ครูกับผู้เรียนว่างตรงกัน โดยวางแผนการเรียนรู้ด้วยกันไว้ตลอดทั้งภาคเรียน และครูจัดทำแฟ้มสะสมงานรายบุคคลไว้

      3.การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือผู้เรียนมาสอบสะสมในสาระที่ตนเองมีความพร้อมได้โดยไม่ต้องมีการเรียนการสอน แต่ครูกับผู้เรียนมีการวางแผนร่วมกันในการสอบเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน และมีการติดต่อสิ่อสารกันทั้ง 2 ทาง โดยทางศบอ.จะเป็นผู้จัดทำเครื่องมือในการสอบเทียบสะสมความรู้

      4.การเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิต โดยใช้ชุมชนเป็น ฐาน โดยใช้รูปแบบจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ ตามความต้องการของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายนี้เน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านอาชีพ พัฒนาชุมชนสังคม สุขภาพอนามัย นำเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การเรียนการสอนวิธีนี้ก็จะนำไปบูรณาการในการจัดกิจกรรม ทักษะชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม พัฒนาอาชีพ แก้ปัญหาความยากจนรายบุคคล พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

      5.การพบกลุ่มตามปกติ คือมาพบสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตแบบหมวดวิชา ซึ่งนำไปสู่การบูรณาการในการจัดกิจกรรม ทักษะชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม พัฒนาอาชีพ แก้ปัญหาความยากจนรายบุคคล พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ด้วยเช่นเดียวกันกับวิธีการเรียนการสอบแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิต โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

      6.การเทียบระดับการศึกษา สมัครได้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราฃ และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุกอำเภอ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์ จัดทำแฟ้มสะสมงาน ทำโครงงานและสอบในสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ และสอบวัดความรู้

    • 7.วิธีเรียนทางไกล สมัครได้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุกอำเภอทุกอำเภอ ไม่ต้องมีการเรียนการสอน สอบปลายภาคครั้งเดียว
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 7 วิธี ภายใต้Logo กศน. เพื่อนเรียนรู้ ก็จะนำไปสู่ตำบลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นเป้าหมายที่พวกเราชาวกศน.นครศรีธรรมราช  กำลังดำเนินการในปีงบประมาณ 2550

    คำสำคัญ (Tags): #เพื่อนเรียนรู้
    หมายเลขบันทึก: 88512เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)
    อยากทราบว่าวิธิการเรียนแบบทางไกลนั้นครูที่มาดูแลเป็นลักษณะใหนบ้าง  พนักงานเป็นครูผู้สอนได้หรือไม่  หรือว่าจำกัดเฉพาะกลุ่มคนค่ะ

         เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ทางกลุ่มผมสนใจอยู่มากทีเดียวครับ โดยเฉพาะประเด็นที่ 4 แล้วจะหาโอกาสขอคุยเพื่อขอความรู้เพื่อมนะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท