ศาสนาในรัฐธรรมนูญ


ศาสนาประจำชาติ

สวัสดีครับ

พักนี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ กำลังติดตามรายงานข่าวเหตุบ้านการเมืองกันอย่างขะมักเขม้น ประเด็นหนึ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันมากก็คือ การระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ

แปลกแต่จริง เรื่องนี้ไม่น่าที่จะเป็นประเด็นแต่ก็เป็นไปแล้ว ทั้งยังมีความละเอียดอ่อนมากๆ แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้ว เราไม่น่าที่จะยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นด้วยซ้ำ

สาเหตุก็คือ ถ้าเราได้ลองย้อนกลับไปคิดดูว่า คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตกันอย่างไร ค่านิยม ความเชื่อ จารีตประเพณี วิถีชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปโดยธรรมชาติของสังคมไทยอยู่แล้ว แสดงให้เห็นโดยชัดเจนอยู่แล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นยิ่งกว่าศาสนาประจำชาติ ถึงขนาดที่ชาวไทยคริสต์ ฮินดู อิสลาม หรือคนต่างชาติต่างศาสนา ล้วนแต่ยอมรับวิถีแบบพุทธของชาวไทยอยู่แล้ว ความขัดแย้งทางศาสนาแทบจะไม่ปรากฏให้เห็นเลย

ศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนามีความเป็นธรรม เป็นสัจจะแห่งธรรมชาติ ศาสนาไม่มีวันเสื่อม จิตใจหรือการกระทำของคนต่างหากที่เสื่อมไป

โดยหลักการแห่งพระพุทธศาสนานั้น เหตุผล ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้มากว่า 2,500 ปี

พระพุทธศาสนาไม่เคยบังคับให้ใครเชื่อโดยไม่มีเหตุผล

พระพุทธศาสนาไม่เคยใช้กำลังบังคับให้ใครนับถือ

พระพุทธศาสนาไม่เคยบังคับให้ใครศรัทธา

ทุกอย่างล้วนแต่อยู่ที่ตัวผู้ศรัทธาและพุทธศาสนานิกชนทั้งสิ้น

ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย ข้อบังคับในมาตราใดๆ

มองในแง่หนึ่งก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เราใช้กำลังบังคับใคร ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด รวมถึงการบังคับให้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยแล้ว

นั่นก็เท่ากับว่า ตัวเราได้ละเมิดหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้ละเมิดหลักการศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้ละเมิดหลักความเป็นเหตุเป็นผลในพระพุทธศาสนา

และเมื่อนั้นเอง เราก็ขาดความชอบธรรมที่จะอ้างว่าเป็นพุทธศาสนิกชนไปแล้วโดยสิ้นเชิง

หมายเลขบันทึก: 88175เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
น่ากลัวจริงๆครับ หินที่ขว้างมาถามทาง มันเจ็บเหลือเกิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท