cybrarian
รุ่งเรือง ป้อม สิทธิจันทร์

ผลการประชุมคณะทำงาน Cat 2/2550 (2)


คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

ต่อเลยนะคะ

     2. สืบเนื่องจาก โปรแกรมฐานข้อมูลหัวเรื่อง  RedDemo ที่คณะทำงานจัดทำขึ้น และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีนั้น  คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ ในคณะทำงานระบบฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม (Union Catalog) มีแนวความคิดว่าน่าจะนำฐานข้อมูลนี้มาเข้ากับฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม เพื่อเป็น Authority Module สำหรับการตรวจสอบรายการหัวเรื่องที่ถูกต้องของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ใช้สหบรรณานุกรม ตลอดจนให้สามารถดาวน์โหลดมาเข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดของตนเองเพื่อทำ Authority Control Module ได้

       มติที่ประชุม ทำให้คณะทำงาน ต้องพิจารณา เป็นการใหญ่ โดยได้ตั้งคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย ขึ้นมาคณะหนึ่ง มีกรรมการ 8 คน เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดที่จะเปิดให้บริการออนไลน์ต่อไป โดยรายชื่อกรรมการประกอบด้วย

        1. คุณจรินทร์ ประธานคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ (มศก. ท่าพระ)

        2. คุณชนิดา  (จุฬา)

        3. คุณรุ้งฟ้า  (จุฬา)

        4. คุณกมลรัตน์ (สจล.)

        5.  คุณวีระวรรณ  (มร.)

        6.  คุณสุธรรม (มจ.)

        7. คุณสุภาพ (มจธ.)

        8. คุณจันทร์เพ็ญ (มศก.สนามจันทร์)

        หรับผู้ที่รอใช้ฐานข้อมูลนี้อยู่ ก็อดใจรอสักระยะนะคะ...

 

หมายเลขบันทึก: 87872เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

7 June 2550

    ขอสอบถามควาคิดเรื่อง หัวเรื่อง ที่กำลังดำเนินการอยู่ ในส่วนของการสืบค้น

ด้วย Keyword จะแตกต่างกับ หัวเรื่องอย่างไร จะเลือกใช้กันอย่างไร

เพราะในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ และงานด้าน IT มักจะสืบค้นด้วย Keyword 

กันเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งสะดวกรวดเร็วมากๆ และที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหามากๆ สำหรับเรื่องนี้

คือ คำที่ใช้ เป็นคำทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อเรียกใช้คำ

ซึ่งการจะสืบค้นเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์จะ

ทำการสืบค้นให้ได้ ทั้งสองแบบพร้อมกันได้แล้ว แต่ในการสืบค้น

ของ หัวเรื่องในกระบวนการของห้องสมุด ยังไปไม่ถึงเรื่องนี้ ยังต้อง

แยกเป็น 2 ไฟล์ ภาษาไทย หนึ่ง, ภาษาอังกฤษอีกหนึ่ง 

    ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า จาวา, กับ JAVA หรือ คำว่า ภาษา โอ-โอ  กับ O-O Language  or Oreintal Objects Language นอกจากนี้ ยังมีคำอ่านภาษา ที่สะกด การันต์ ที่แตกต่างกัน แต่ถ้ามาจากภาษาอังกฤษ จะเป็นเรื่องเดียวกัน

ในลักษณะทำนองนี้ จะเกิดขึ้น ในกลุ่มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี มากมายหลายคำ จึงฝากถามคณะกรรมการจัดทำ

ว่า ถ้าจะพัฒนางานด้าน หัวเรื่องนี้ น่าจะคำนึงถึง เรื่องข้างต้นนี้ กับ

การนำเอา ทฤษฎี เรื่อง KWIC, KWOC,KWAC,KWUC, มาวิเคราะห์ร่วมกับ การสืบค้นด้วย OPAC ที่ใช้ 2ภาษาร่วมกัน จะทำได้ไหม? สืบค้นทีเดียวได้เอกสารความรู้ ทั้ง

2 ภาษา มาแสดงผลพร้อมกันเลย 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท