โครงการฝ่าวิกฤติพิชิตพุง เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่1


ปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยออกกำลังกายและอาหาร แล้วอย่าลืมปรับใจด้วยความพอเพียง เชื่อในกฎแห่กรรม ครอบครัวเป็นสุข ไม่มีกิเลส รวมทั้งดินฟ้าอากาศไม่เป็นพิษ

เรื่องของสุขภาพ กับการดูแลสุขภาพทีมสุขภาพด้วยกัน  ตอนที่1  โครงการใหญ่อีกครั้งที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช. จำนวน 600,000 บาทจำนวนกลุ่มจนท.ที่มีความผิดปกติ150คน) นำมาใช้กับการส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่1 ในปี2550 โดยมีระยะเวลา 6 เดือน เริ่มมี.ค-ก.ค 50 โดยมีคระกรรมการร่วมกันหลายฝ่าย ฝ่ายที่ต้องประสานเรื่องงบและรายละเอียดของโครงการที่ต้องส่งหลักฐานประกอบโครงการ ก็คือพี่เตือนใจ ภาคภูมิ ในส่วนกิจกรรมที่ต้องจัดใส่ในแต่ละช่วง เราและทีมงานที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานก็มาร่วมกันวางแผนต่ออีกเพื่อให้ผลที่ออกมาเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และผลลัพย์ต้องดียั่งยืน  เพราะเราเองมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่มาหลายปี มีข้อผิดพลาดที่ทำไปแล้วอาจจะไม่ส่งผลดีหรือต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าใดนัก เราก็ได้พูดคุยเล่าให้ทีมงานฟังว่าอะไรบ้างที่เรามองเห็นว่าเป็นจุดอ่อน อย่างเช่น การติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นหัวใจของการกระตุ้นให้เกิดผลได้มาก คนดูแล ต้องลงได้ลึกทั่วถึง จากเมื่อ 3 ปีที่ทำมา เราได้กลุ่มเสี่ยงนี้มาทำโครงการเรียนรู้ร่วมกันลดไขมันและน้ำตาล จำนวน 50 คน(ดูแลติดตามได้ไม่ทั่วถึงเพราะใช้ทีมงานที่เป็นเจ้าหน้าที่ในคลินิกสุขภาพที่มีเพียง5คนและต้องทำงานบริการกับคนไข้อื่นๆด้วย) ผลสรุปของปีนั้นที่วัด 3 ด้าน คือด้านความรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นและด้านการปรับพฤติกรรมการกินกับการออกกำลังกาย อยู่ในระดับดีกว่าก่อนเข้าโครงการ แต่ผลลัพธ์อีกด้านคือการตรวจวัดทางห้องปฏิบัติการพบว่าอยู่ในระดับต่ำลงเมื่อสิ้นสุดโครงการ จึงเป็นข้อเสนอแนะในการจัดครั้งต่อไปว่า การวัดความรู้และการตอบตำถามด้านพฤติกรรมสุขภาพจากแบบประเมินก่อนและหลังนั้นอาจจะเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นเอง และผลทางห้องปฏิบัติการที่ออกมานั้น ถ้าในระยะสั้นๆเพียง4-6เดือน ผลจะออกมาดีขึ้นย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะการสะสมของไขมันในเลือดที่มีมานาน (อายุเฉลี่ยที่เข้าโครงการก็40ปีขึ้นทั้งนั้นเลย) แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขามีการตระหนักรู้ในเรื่องกินกับออกกำลังกาย เพิ่มขึ้น ก็น่าจะต้องเริ่มใช้การบันทึกอาหารที่รับประทานเข้าไป ในแต่ละวันและมีการสอนคำนวนพลังงานที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวันให้เป็นด้วยตัวเอง และในทีมควรแบ่งเป็นทีมย่อยๆสัก10คน ให้เขาได้ช่วยคิดกับเองในกลุ่มว่ากลุ่มเขาจะดูแลกันอย่างไรด้วย โดยมีทีมงานคอยช่วยเหลือสนับสนุน และใช้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง มาช่วยเสริมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ลองติดตามดูคราวหน้าว่าเราจะก่อ AIR WAR ได้ออกมาเป็นแบบไหน

    ประชุมวางแผนการทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #ประชุม
หมายเลขบันทึก: 87746เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2007 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท