งงละสิ! Visual design, Interface design, Information design, interaction design, information design


Designer ทำงานทางด้าน usability และ HCI

ผู้เริ่มรู้จักศาสตร์ทาง Human-Computer Interaction หรือ Usability ใหม่ๆ ในทาง HCI practitioners จะแบ่งสายโดยกลายๆ ว่าแต่ละตำแหน่งจะเน้นงานด้านใหนระหว่าง Research, Design และ Evaluation ครับ เช่น User Researcher, Usability Specialist,Usability Engineer, User Experience Architect, และ Human Factors Engineer ก็จะเน้นหนักไปทางด้าน Research และ Evaluation เสียมากกว่า

ส่วน HCI practitioners ที่เป็น designer ทั้งหลายก็จะทำทางด้านดีไซด์เป็นหลักครับ

ด้าน design จะรู้สึกงงกับการเรียกขานตำแหน่งคนทำงานทางด้านนี้บางครั้งจะได้ยินบางคนบอกว่าฉันเป็น IA (Information Architecture)   ฉันเป็น ID (Information Designer)  หรือฉันเป็น IID ( Interaction Designer) บ้าง 

Jesse James Garrett ได้ทำให้เห็นภาพอย่างดีทีเดียวในหนังสือเรื่อง The Elements of User Experience ว่าอะไรอยู่ตรงใหน ลองมาดูภาพประกอบนะครับ

 

 

พอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่าการดีไซด์แต่ละชนิดอยู่ระดับใหน และแบบใหน ในปัจจุบันการดีไซด์ ที่เป็น web as hypertext system คือประเภทดูข้อมูลได้อย่างเดียวแบบ เวปไซด์เดิมๆ เริ่มน้อยลงครับ ตอนนี้ผู้ใช้สามารถ manipulate data ต่างๆได้มากขึ้น ตัว IA และ Navigation design จึงถูกกลายๆ เป็นส่วนหนี่งของ UI/Interaction  Design ไปครับ ตอนนี้ถ้ามองตำแหน่งตามตลาดงานส่วนมากจะเรียกคนทำงานด้านนี้ว่า Interaction Designer ครับ 

แต่ตอนนี้เป็นกันเยอะครับที่เอาคนเดียวแต่ให้ทำทั้งสามด้านนี้เลย ตำแหน่งก็เรียกกันเป็น User Experience Designer, User Experience Specialist, User Experience Engineering และ Usability Engineer/Interaction Designer (เช่นผู้เขียนเป็นต้น :-) ครับ) 

หมายเลขบันทึก: 87670เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2007 04:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
อ่าน blog ของพี่ณรินทร์ แล้วอยากทำแบบฝึกหัด ตรวจสอบความเข้าใจ ...
  • ขอบคุณมากค่ะ พี่ณรินทร์
  • ภาพทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
  • ว่าแต่การทำงานจริง ๆ ของพี่ณรินทร์แบ่งเป็นระดับการออกแบบดังภาพ รึเปล่าค่ะ

น้องวีร์ครับ

พี่คิดว่าวีร์คงจะเริ่มเห็นภาพละครับแต่การที่เพราะ HCI เป็นศาสตร์ที่เรียกว่า multi-disciplines บางครั้งตรงนี้มันทำให้สับสน ว่าอะไรเป็น sub set ของอะไรและสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะ HCI จะไปยืมศัพท์ของแต่ละ discipline มาใช้   พี่จะพยายามช่วยตรงนี้ เพื่อเวลาไปอ่าน article อื่นๆ ทาง HCI หรือ Usability จะได้สับสนน้อยลง คำพวกนี้คนที่ทำงานในสายนี้เองบางที่ก็อธิบายไม่ได้ครับว่ามันต่างกันอย่างไร  แรกๆพี่ก็งง อยู่หลายปีทีเดียว

น้องมะปรางเปรี้ยวครับ

การ apply ใช้มันก็จะต่างกันไปครับแล้วแต่สิ่งที่เราพัฒนา มีหลากหลายครับเราต้องเอาไปปรับใช้อีกทีตรงนี้ต้องเอาประสบการณ์เข้ามาใช้เยาะครับถ้าเป็น juniors ทำงานใหม่ ก็จะมีพวก seniors หรือ principles เป็น lead หรือคอย guide ให้ 

แต่ในการทำงานเราจะต้องอิง methodical approach  เข้าไว้ครับ และต้องตอบเขาได้ว่า why you do, what you do และให้ตรงนี้เป็นศาสตร์ที่ทำให้เกิด fact-based decision จริงๆ เวลาที่ทำงานจริงๆ มันมีเรื่องของการเมืองภายในองค์กรเข้ามาเกี่ยวเยาะเหมือนกันครับ เราต้องยอมรับว่าเราจะต้อง deal กับตรงนี้ เราต้องใช้การอ้างอิงตรงนี้เป็น Neutralizer ครับ

มีบล็อกแนะนำครับ

เหมือนเขาจะทำเกี่ยวกับ interaction design, interface design อยู่ที่สวีเดน

 suriyapat.com

จำได้ว่าเขาเคยทำแผนภูมิ infovis infoarch infodesign interactive interaction hci อะไรพวกนี้ไว้ด้วย แต่ค้นไม่เจอแฮะ

เอาอันนี้ไปก่อนละกันครับ 

http://www.suriyapat.com/blog/?p=20

ขอบคุณนะครับ คุณอาทิตย์ มีอะไรดีๆแวะมาเพิ่มเติมด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท