ทดสอบรูปแบบการพยากรณ์อนุกรมเวลาของจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช


Pilot study PHd. computational science Walailak University

ทดสอบรูปแบบการพยากรณ์อนุกรมเวลาของจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
TESTING TIMESERIES FORCASTING MODELS ON INFLUENZA CASES IN NAKHON SI THAMMARAT
แสงเทียน  อยู่เถา *, มัลลิกา  เจริญสุธาสินี, กฤษณะเดช  เจริญสุธาสินี                 

Sangtien  Youthao *, Mullica  Jaroensutasinee , Krisanadej  Jaroensutasinee

CX-KURUE & Computational Sience Graduate Program, Institute of  Science,  Walailak University,  222 Thasala District,  Nakhon Si Thammarat, 80160, Thailand.

บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้ทำการทดสอบค่าการพยากรณ์ จากรูปแบบของการพยากรณ์จากอนุกรมเวลาของจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นรายเดือนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537-2546 เป็นจำนวน 120 เดือน  โดยใช้แบบการคำนวณค่าพยากรณ์จากรูปแบบจำนวน 7 แบบ โดยใช้โปรแกรม Mathermatica ในการคำนวณหาค่าพยากรณ์จากแต่ละแบบ  และเปรียบเทียบค่าความผิดพลาด โดยการทดสอบวิเคราะห์การแปรปรวน เพื่อทดสอบว่าแต่ละแบบให้ค่าความผิดพลาดต่างกันหรือไม่  และทดสอบหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน ว่าแบบใดน้อยที่สุดและต่างหรือไม่ต่างกับรูปแบบแบบใด ปรากฏว่า รูปแบบการพยากรณ์โดยใช้วิธีทำให้เรียบแบบชั้นเดียวแบบเอกโปเนนเชี่ยลโดยกำหนดเพียงค่าคงที่อย่างเดียวที่ระดับ 0.8 โดยไม่ได้กำหนดจุดเริ่มต้น เป็นแบบพยากรณ์ที่ให้ความผิดพลาดของค่าพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้น้อยที่สุด  แต่ก็ให้ค่าได้ไม่แตกต่างกับแบบที่กำหนดจุดเริ่มต้นที่  0.2 และแตกต่างจากแบบอื่นอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ โดยตัวแบบแนวโน้มเชิงเส้นระยะยาว ให้ค่าความผิดพลาดของการพยากรณ์สูงสุด
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8751เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2005 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท