ไขก๊อกประสบการณ์ KM Research 4


ผู้เขียนมีนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งที่รับเป็นที่ปรึกษาให้อยู่ เธอเป็นคนที่ตั้งใจหาความรู้และต้องการให้งานวิจัยมีประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ลูกศิษย์คนนี้เคยกล่าวกับผู้เขียนว่าอยากให้งานเขียนวิทยานิพนธ์ของระดับปริญญาโท-เอก สามารถใช้ศิลปะในการเขียนได้มากกว่าที่เป็นอยู่

มองลงลึกในด้านรูปแบบและวิธีการ...(กระบวนการเขียนและสอบวิทยานิพนธ์)

ประการที่1.

ของตนเอง

ไม่อยู่ในกรอบFormat ที่ใช้ในการเขียนเล่มวิทยานิพนธ์ทั่วไป

พยายามใช้ศิลปะในการสื่อสารโดยการเขียน สร้างความเข้าใจให้ผู้อ่านเป็นลำดับขั้น ให้เกิดการลื่นไหลทางความคิด     ผู้เขียนเคยเริ่มต้นด้วยการมีกรอบการเขียนวิทยานิพนธ์อย่างที่มีตัวอย่างให้ทำตามๆกันมา เขียนเท่าไรก็เขียนไม่ออก ความคิดตีบตัน แตกเป็นท่อนๆ คิดว่าหากเขียนตามกรอบตัวเองก็คงจะอ่านไม่รู้เรื่อง หรือถึงรู้เรื่องก็แข็งทื่อ ไร้ชีวิตชีวา โชคดีที่อาจารย์ของผู้เขียนยอมรับในรูปแบบการเขียนอันไร้กรอบ และแถมยังให้กำลังใจอีกด้วยว่าทำได้ดี

นักศึกษาที่พบ

มีกรอบที่ยึดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจำเป็นต้องทำตาม

เริ่มต้นที่ต้องมีบทที่1 ว่าด้วยความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา บทที่2 เป็นการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 เป็นเรื่องของระเบียบวิธีวิจัย บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และ บทที่ 5 สรุปการวิจัยและอภิปรายผล ที่จริงการมีกรอบเป็นเรื่องที่น่าจะดี เพราะทำให้ไม่หลงทาง แต่กลับกลายเป็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไปติดกับความแข็งของกรอบ ทำให้การเขียนแข็งทื่อ นอกจากจะไม่มีความสละสลวยในการเขียนแล้วยังอ่านไม่รู้เรื่องอีกต่างหาก ผู้เขียนมีนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งที่รับเป็นที่ปรึกษาให้อยู่ เธอเป็นคนที่ตั้งใจหาความรู้และต้องการให้งานวิจัยมีประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ลูกศิษย์คนนี้เคยกล่าวกับผู้เขียนว่าอยากให้งานเขียนวิทยานิพนธ์ของระดับปริญญาโท-เอก สามารถใช้ศิลปะในการเขียนได้มากกว่าที่เป็นอยู่ การมีกรอบที่ตายตัวเช่นนี้ทำให้ยากที่ความคิดระหว่างการเขียนจะลื่นไหล และนี่ก็คงเป็นเหตุหนึ่งที่นักศึกษามักเขียนแบบจับแพะชนแกะ ไม่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลให้ออกมาเป็นความรู้ที่ผ่านการย่อย(digest) ที่เป็นของตนเองแท้ๆได้ 

ประการที่2.

ของตนเอง

 มองว่า KM นั้น contextual และต้องใช้ KM ในกระบวนการทำงานวิจัยด้วย

ผู้เขียนรู้สึกว่าการจัดการความรู้/การสร้างความรู้นั้นขึ้นกับบริบทอย่างมาก งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเป็นเพียงการทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆ ในบริบทที่มันเกิดขึ้น ไม่ได้แปลว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นคำตอบให้เรื่องที่คล้ายๆกันที่เกิดในที่อื่นๆ ต้องมีการประยุกต์ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง การทำงานวิจัยยังต้องใช้กระบวนการKM ตลอดเวลาจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น AAR, Peer Assists การจดบันทึกข้อมูลอย่างมีระบบ และที่สำคัญ ใจ ที่เบิกบานมีความสุขที่เกิดจากการเรียนรู้ การได้พบกัลยาณมิตรที่ขยายวงกว้างออกไปอย่างไม่สิ้นสุด   

นักศึกษาที่พบ

การให้ความสำคัญจำกัดที่วิทยานิพนธ์โดย การเน้นการได้/การทดสอบ/การรับรองโมเดล และการทำวิจัยเชิงปริมาณ มักทำให้เกิดคำถามแปลกๆ เช่นliterature review ต้องทำขนาดไหนจึงจะพอ, run model หาที่ฟิต หากฟิตหลายอันก็ยังมีข้อกังขาอีก(ขนาดจบการศึกษาออกมาแล้ว)ว่าอันไหนใช่ หรือดีที่สุด อาจารย์ที่ปรึกษาคงต้องทำงานหนักมากที่จะช่วยแนะแนวทางที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในงานวิจัยชิ้นหนึ่งๆ

 ประการที่3.

ของตนเอง

ความสำคัญของทักษะการในการเสนองานและการเขียนในการสอบVivaกับเล่มผลงานวิทยานิพนธ์ผู้เขียนมี Board of Jury 5 ท่าน คือPr. Baudouin JURDANT, Université de Paris VII – Président du JuryDr. Suzanne de CHEVEIGNE, UPR 36, Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS)Pr. Pierre FAYARD, Université de PoitiersPr. Vicharn PANICH, Knowledge Management Institute, Bangkok – ThaïlandeDr. Leila MATHIEU BENAMOR, Université de Poitiersจะเห็นว่ามีเพียงสองท่านที่เข้าใจเรื่องของ KM/Knowledge Creation ดังนั้นงานเขียนจึงถูกวิพากษ์อย่างหนักถึงขนาดว่าเรื่องที่ทำเกี่ยวกับวิชาการด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างไร เพราะผู้เขียนไม่ได้พรรณนามากนักถึงเรื่องของการสื่อสารวิทยาศาสตร์โดยตรง แต่ข้อโต้แย้งก็คือ ศาสตร์ใหม่นี้จะเป็นประโยชน์กับสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชุมชนชนบทได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าความรู้ที่แตกต่างกันสองระบบนี้ทำงานร่วมกันอย่างไรจึงเกิดความสำเร็จ ทั้งสองฝั่งต้องมีทางเดินของความคิดอย่างไรจึงจะไปสู่การคิดวางแผนและปฏิบัติด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การสอบปากเปล่า(Viva) มีความเข้มข้นแต่ไม่เคร่งเครียด ผู้เขียนรู้สึกว่าอาจารย์ทุกท่านมีความตั้งใจฟังและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา มากกว่าการจะมาสับให้ละเอียด ผู้เขียนเชื่อว่านักศึกษาควรมีทักษะทั้งการเขียนและการพูด อีกทั้งมีความรู้ ความมั่นใจในจุดยืนของตนจะช่วยได้มาก

นักศึกษาที่พบ

มักขาดทักษะในการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นงานเขียนและการนำเสนอผลงานข้อนี้คงสืบเนื่องมาจากทุกข้อข้างต้น ข้อนี้อาจารย์อาจช่วยได้โดยการให้โอกาสฝึกปรือและหยิบยกจุดดีแม้ว่าเล็กน้อยขึ้นมาชมให้เกิดกำลังใจและความมั่นใจทีละเล็กทีละน้อย 

โปรดติดตามตอนหน้าในเรื่องของโจทย์วิจัย

คำสำคัญ (Tags): #km research#kmr
หมายเลขบันทึก: 87257เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ได้ประโยชน์มาก .. ขอบพระคุณครับ

ประเด็นการเขียนวิทยานิพนธ์นั้นช่างเป็นยาขมจริงๆ ค่ะอาจารย์ เรื่องกรอบนั้นก็เป็นเรื่องใหญ่มาก จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้จินตนาการเราหดหาย สิ่งที่จะทำควบคู่กันไปได้คือการหาช่องทางในการเขียนที่เอื้อให้เกิดความลื่นไหลในจินตนาการ อย่างไม่มีกรอบ อันนี้ก็มีหลายช่องทาง และใน gotoknow นี้แหละก็ช่วยได้ดีอย่างมาก ถึงแม้จะนำไปรวมเล่มปกแข็งเสนอสอบจบไม่ได้ แต่ได้ความรู้สึกกว่าไปไหนๆ ใช่ไหมคะ

สำหรับตัวเองแล้วสิ่งที่โชคดีกว่าสิ่งใดคือความเข้าใจที่อาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านมีให้ถึงแม้จะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับกรอบการเขียนวิทยานิพนธ์ไม่ได้ แต่อาจารย์ทุกท่านเปิดใจแบบไม่มีกรอบ เท่านี้ก็สู้ตายแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆ นะคะอาจารย์ จะพยายามต่อไปค่ะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท